Social :



เทคนิคการดูแลรักษา มะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

10 ธ.ค. 61 11:12
เทคนิคการดูแลรักษา มะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

เทคนิคการดูแลรักษา มะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

เทคนิคการดูแลรักษา มะม่วง
เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

หลัง ปลูกมะม่วง ควรรดน้ำในทันทีและหลังจากปลูกใหม่ๆ  ถ้าฝนไม่ตก ควรรดน้ำให้ทุกวัน  และค่อยๆ  ห่างขึ้นเป็น  3 - 4  วันต่อครั้ง  จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้  การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วง  เพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่  การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้องการ


หลังจากการปลูกใหม่ๆ  ถ้าฝนไม่ตก ควรรดน้ำให้ทุกวัน  และค่อยๆ  ห่างขึ้นเป็น  3 - 4  วันต่อครั้ง  จนกว่าต้นมะม่วงจะตั้งตัวได้  การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการปลูกมะม่วง  เพื่อให้ผลได้อย่างเต็มที่ การให้น้ำอย่างเพียงพอตามที่ต้นมะม่วงต้องการ จะช่วยให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ได้ผลเร็วขึ้น การปลูกมะม่วงในที่ที่น้ำไม่อุดมสมบูรณ์  ควรจะกะเวลาปลูกให้ดี ให้ต้นกล้ามะม่วงได้รับน้ำฝนนานที่สุดเพื่อต้นจะได้ตั้งตัว  ได้ก่อนที่จะถึงฤดูแล้ง  หรือการปลูกต้นกล้วยก่อน แล้วจึงจะปลูกมะม่วงตามลงไป  ดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดการให้น้ำได้มาก 


2. การกำจัดวัชพืช 
การกำจัดวัชพืชต้องทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่างๆ  จะคอยแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะม่วง  และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุงรัง จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ  ที่จะทำลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกำจัดวัชพืชทำได้หลายวิธี  เช่น  การถางด้วยจอบ  การปลูกพืชคลุมดิน  การปลูกพืชแซม  การใช้สารเคมี  และการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่างๆ  เป็นต้น  การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละราย  เช่น  ถ้ามีแรงงานเพียงพอควรปลูกพืชแซม แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อยๆ หรือใช้วิธีไถพรวนดินกำจัดหญ้าอยู่เสมอ  แต่ถ้ามีแรงงานพอ ควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้หลายปี 

** ควรดูแลรักษาความสะอาด และกำจัดวัชพืชพวกหญ้าไม่ให้ขึ้นในบริเวณทรงพุ่มและบริเวณใกล้เคียง  สำหรับในฤดูแล้งควรใช้หญ้าแห้ง  ฟาง  คลุมโคนต้นบริเวณรอบๆ  ทรงพุ่มเพื่อรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่ 


มะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี  จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น  พวกปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ให้เป็นประจำทุกๆ  ปี  เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย  เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้งคือ  ต้นฝน  และปลายฝน ปุ๋ยอินทรีย์นี้ แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก  แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่นๆ  นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น 

3.1 ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 
เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็ว และมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง จะทำให้ต้นโตเร็วสมบูรณ์ ให้ดอกให้ผลได้มากและสม่ำเสมอ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้า โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมชัลเฟต  2 - 4  ช้อนแกง ผสมน้ำ  1  ปี๊บรดที่ต้นกล้าเดือนละ  2  ครั้งจะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว  แข็งแรง  สามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็ว และเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง  การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตหรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุม  ก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตดี  ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว 

** ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้วแต่ยังไม่ให้ผล อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร  4-7-5  หรือ  4-9-3  ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน  สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว อาจใช้ปุ๋ยสูตร  15-5-15  หรือ  16-16-16  ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป อย่างไรก็ตาม  การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเสียก่อน  เพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่  ไม่เกิดการสูญเปล่า เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของแต่ละท้องที่ ย่อมไม่เหมือนกัน อีกประการหนึ่ง  ต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกลๆ 
Lif
ถ้าดินนั้นเป็นดินดี  อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้ว ก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้  การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อยู่เสมอก็เพียงพอ

3.2 จำนวนปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินโปร่ง 
เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จำนวนที่ใส่ไม่จำกัด ถ้าดินทรายจัดก็ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหน่อย สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์  สูตร  15-15-15  นั้น  จำนวนปุ๋ยที่ใส่ขึ้นอยู่กับว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด แต่มีหลักคิดอย่างคร่าวๆ  ได้ดังนี้คือ จำนวนกิโลกรัมของปุ๋ยที่ใส่ต่อต้นต่อปี เท่ากับครึ่งหนึ่งของอายุของต้นมะม่วง เช่น มะม่วงอายุ  2  ปีใส่  1  กิโลกรัม  อายุ  3  ปีใส่  1.5  กิโลกรัม อายุ  8  ปี ใส่  4  กิโลกรัม เรื่อยไป  จนถึงมะม่วงอายุ  10  ปีใส่  5  กิโลกรัม  หลังจากมะม่วงอายุ  10  ปีขึ้นไปแล้วไม่ยึดหลักดังกล่าวนี้  แต่ดูจากผลผลิตมะม่วงแต่ละปี ถ้าปีที่แล้วให้ผลมาก ก็จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นตามส่วน และยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินด้วย 

3.3 วิธีใส่ปุ๋ย 
เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ควรใช้วิธีขุดพรวนดินตื้น ๆ รอบๆ ต้น ในรัศมีทรงพุ่ม แบ่งจำนวนปุ๋ยที่จะใส่ออกเป็น 4 ส่วน ใส่ปุ๋ยบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มตรงบริเวณที่พรวน ประมาณ 3 ส่วน อีก 1 ส่วนโรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ควรระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกของลำต้นเน่า และจะทำให้มะม่วงตายได้ จากนั้นจึงรดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในต้นที่โตแล้ว อาจใช้วิธีขุดเป็นรางดินรอบต้นภายในรัศมีของทรงพุ่ม ขุดรางดินลึกประมาณ 6 นิ้ว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักลงไปในราง ตามด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนภายในบริเวณทรงพุ่มให้ขุดพรวนเพียงเล็กน้อย แล้วหว่านปุ๋ยเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ใส่ปุ๋ยรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม เพราะรากที่หาอาหารได้แก่รากฝอย จะอยู่มากในบริเวณรัศมีทรงพุ่ม หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตาม 

4. การตัดแต่งกิ่ง
ควรตัดกิ่งกระโดงที่ขึ้นแข่งกับลำต้นทิ้งให้หมด  และตัดกิ่งที่ไม่ได้ระเบียบ  หรือกิ่งที่มีโรคและแมลงทำลายออกทิ้งเสีย 

5. ระยะเวลาการตัดแต่งกิ่ง 
ควรตัดแต่งหลังจากเก็บผลแล้ว  รอยแผลที่ตัดแล้วควรใช้สารป้องกันเชื้อรา  หรือปูนขาว  หรือปูนกินกับหมากทา  เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา  การตัดอย่าตัดไว้ตอ  ควรตัดให้แผลเรียบสนิทไปกับลำต้นหรือกิ่งใหญ่ 


6. ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง
(1) เพื่อให้ต้นมะม่วงมีรูปทรงตามที่ต้องการ  และเป็นผลดีต่อการปฎิบัติดูแลอื่น ๆ 
(2) ทำให้ออกดอกติดผลดีขึ้น  และผลกระจายสม่ำเสมอ  เนื่องจากใบมะม่วงได้รับแสงแดดทั่วกัน  อันเป็นประโยชน์ในขบวนการปรุงอาหารของใบ
(3) ช่วยลดการระบาดของศัตรูพืช  เนื่องจากตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป 
(4) ช่วยทำให้มีการสะสมอาหารในลำต้นได้พอดีพอเหมาะ  กล่าวคือ  กิ่งที่ชาวสวนตัดแต่งออกส่วนใหญ่จะเป็นกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่ม  กิ่งเหล่านี้จะแย่งอาหาร  และไม่ค่อยออกดอกติดผล 
(5) ใบและกิ่งมะม่วงที่ตัดออก  นำมาคลุมไว้บริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุ  ซึ่งจะมีประโยชน์ในแง่บำรุงดินอีกด้วย  หากมีกิ่งที่ตัดออกมากพอ  ให้นำสุมกองไว้ระหว่างต้นมะม่วง  เมื่อแห้งดีแล้วจึงจุดไฟให้เกิดควัน ประโยชน์ของควันไฟที่สุมนี้คือจะช่วยในการทำให้มะม่วงเกิดช่อดอกขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย 
(6) ลดความเสียหายจากลมพายุ  พุ่มต้นแน่นทึบรับแรงปะทะมาก  ทำให้กิ่งฉีกขาด 

ข้อมูลอ้างอิง  :  http://rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@