Social :



ทำความรู้จักกับข้อดี ข้อเสีย และวิธีขยายพันธุ์ ของสัปปะรดแต่ละพันธุ์

11 ธ.ค. 61 11:12
ทำความรู้จักกับข้อดี ข้อเสีย และวิธีขยายพันธุ์ ของสัปปะรดแต่ละพันธุ์

ทำความรู้จักกับข้อดี ข้อเสีย และวิธีขยายพันธุ์ ของสัปปะรดแต่ละพันธุ์

ทำความรู้จักกับข้อดี  ข้อเสีย และวิธีขยายพันธุ์
ของสับปะรดแต่ละพันธุ์

สับปะรด   แบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้  3  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน  หรือ  เรียกว่าไม้ดิน  พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่  ได้แก่  ไม้อากาศต่าง ๆ  ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่  พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน  ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน  แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้  คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ  ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการ ปลูกสับปะรด  :
สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง  23.9-29.4  องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง  1,000-1,500  มิลลิเมตรต่อปี  แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง  และสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด  ที่ระบายน้ำดี  แต่ชอบดินร่วน  ดินร่วนปนทราย  ดินปนลูกรัง  ดินทรายชายทะเล  และชอบที่ลาดเท  เช่น  ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย  คือ ตั้งแต่  4.5-5.5  แต่ไม่เกิน  6.0 

แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญ :
แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล  ได้แก่  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ชลบุรี  ระยอง  ฉะเชิงเทรา  จันทบุรี  ตราด  และจังหวัดต่าง ๆ  ในภาคใต้  เช่น  ภูเก็ต พังงา  ชุมพร  ซึ่งนิยมปลูกในสวนยาง  ปัจจุบันมีการปลูกสับปะรดในจังหวัดต่าง ๆ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  บริเวณริมแม่น้ำโขง และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ สำหรับการปลูกสับปะรดในพื้นที่ที่อยู่ไกลทะเลนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความชื้นในอากาศเป็นสำคัญ  เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต  ดังนั้น ควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง  เช่น  ที่ราบระหว่างภูเขา ที่ลาดเชิงเขา บริเวณใกล้ป่าหรือแหล่งน้ำ  จึงจะเหมาะสมต่อคุณภาพของผลผลิตที่จะได้รับ 

พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกมากในประเทศไทย :
พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น  5  พันธุ์  โดยถือตามลักษณะของต้นที่ได้ขนาดโตเต็มที่  และแข็งแรงสมบูรณ์เป็นบรรทัดฐานดังนี้  คือ 
1. สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย พันธุ์นี้รู้จักแพร่หลายในนามสับปะรดศรีราชาและชื่ออื่น ๆ  เช่น  ปราณบุรี,  สามร้อยยอด  นิยมปลูกกันมาก  ในแหล่งปลูกที่สำคัญคือ  ประจวบคีรีขันธ์  ชลบุรี  เพชรบุรี  ลำปาง เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม  และการเพื่อขายผลสด เพราะมีรสหวานฉ่ำมีน้ำมาก 

ลักษณะประจำพันธุ์ของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย  คือ  มีใบสีเขียวเข้ม และเป็นร่องตรงกลางผิวใบด้านบนเป็นมันเงา  ส่วนใต้ใบจะมีสีออกเทาเงิน ตรงบริเวณกลางใบมักมีสีแดงอมน้ำตาล ขอบใบเรียบมีหนามเล็กน้อยบริเวณปลายใบ กลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน ผลมีขนาดและรูปทรงต่างกันไป  มีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง  2-6  กิโลกรัม แต่โดยปกติทั่วไปประมาณ  2.5  กิโลกรัม เปลือกผลเมื่อดิบสีเขียวคล้ำ  เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทางด้านล่างของผลประมาณครึ่งผล  ก้านผลสั้นมีไส้ใหญ่เนื้อเหลืองอ่อนแต่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มในฤดูร้อน  รสชาติดี

2.สับปะรดพันธุ์อินทรชิต   เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ปลูกกันกระจัดกระจายทั่วไป  แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา 
ลักษณะประจำพันธุ์ของสับปะรดพันธุ์อินทรชิต  คือ ขอบใบจะมีหนามแหลมร่างโค้งงอสีน้ำตาลอมแดง ใบสีเขียวอ่อนไม่เป็นมัน ขอบใบทั้ง  2  ข้างมีแถบสีแดงอมน้ำตาลตามแนวยาวใต้ใบจะมีสีเขียวออกขาวและมีวาวออกสีน้ำเงินกลีบดอกสีม่วงเข้ม  ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย  รสหวานอ่อน มีตะเกียงติดอยู่  ที่ก้านผล เปลือกผลเหนียวแน่นทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคสด 

3. สับปะรดพันธุ์ขาวเป็นพันธุ์พื้นเมือง   เกษตรนิยมปลูกพันธุ์นี้ร่วมกับพันธุ์อินทรชิต  เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์อินทรชิต  แหล่งปลูกที่สำคัญคือ  ฉะเชิงเทรา 

ลักษณะประจำพันธุ์ของสับปะรดพันธุ์ขาว   มีใบสีเขียวอมเหลืองหรือเขียวใบไม้  ทรงพุ่มเตี้ยใบแคบและสั้นกว่าพันธุ์อินทรชิต ขอบใบมีหนามโค้งงอเข้าสู่ปลายใบ  โคนกลีบดอกสีม่วงอ่อน  ปลายกลีบสีม่วงอมชมพู เนื้อผลสีเหลืองทอง รสหวานอ่อน ผลมักมีหลายจุก คุณภาพของเนื้อไม่ค่อยดีนัก  ผลมีขนาดปานกลาง  น้ำหนักเฉลี่ย  0.85  กิโลกรัม  มีลักษณะเป็นทรงกระบอก  มีตาลึกทำให้ผลฟ่ามง่าย 

4.สับปะรดพันธุ์ภูเก็ตหรือสวี   ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  และตราด  โดยปลูกระหว่างแถวยาวรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บผลขายก่อนกรีดยาง  มีชื่ออื่น ๆ  อีกเช่น พันธุ์ชุมพร  พันธุ์สวี  พันธุ์ตราดสีทอง 

ดงในตอนกลางและปลายในขอบใบมีหนามสีแดงแคบและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาวกลีบดอก  สีม่วงอ่อน ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมาตาลึกเปลือกหนา เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคใต้ 

5. สับปะรดพันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง ปลูกมากในจังหวัดเชียงราย ลักษณะประจำพันธุ์ของสับปะรดพันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง คล้ายคลึงกับพันธุ์ปัตตาเวีย แต่มีรูปร่างของผลทรงกลมกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย  ตานูน  เปลือกบางกว่าและรสหวานจัดกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย  ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม มีเยื่อใยน้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคเหนือ  ผลมีเปลือกบางมาก ขนส่งทางไกลไม่ดีนัก 

สรุปลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของพันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย : 
1. สับประรดพันธุ์ปัตตาเวีย
ลักษณะที่ดี
- คุณสมบัติในการบรรจุกระป๋อง  นับว่าดี 
- ทนทานต่อความแห้งแล้งและขาดน้ำได้ดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ 
- ขอบใบเรียบ  เนื้อในสีเหลือง 
- เนื้อฉ่ำ  รสหวาน ไม่พบตะเกียง 

ลักษณะที่ดีไม่ดี
- ไม่ทนต่อโรคมาและต้นเน่าไม่ทนต่อโรคผลแกน 
- รูปทรงของผลขนาดใหญ่ไม่ดี 


2. สับประรดพันธุ์ภูเก็ต 
ลักษณะที่ดี
- รูปร่างทรงกระบอกสม่ำเสมอดี 
- รสชาติดี เนื้อหวานกรอบ มีกลิ่นหอม 
- เนื้อสีเหลืองจัด ตอบสนองสารเร่งดอกได้ดี 

ลักษณะที่ดีไม่ดี
- การบรรจุกระป๋องไม่ค่อยดีนัก  ผลดีขนาดเล็ก  ตาลึก 
- เนื้อมีช่องว่างเป็นโพรง  ในมีหนามมาก 
- หน่อมากเกินไปจนเป็นกอ 
Lif


3. สับประรดพันธุ์นางแล
ลักษณะที่ดี
- ผลมีเปลือกบางมาก  รสหวานแหลม 
- เนื้อมีเยื่อใยน้อยสีเหลืองจัด 

ลักษณะที่ดีไม่ดี
- ขอบใบมักเรียบ  ผลมีขนาดเล็ก  ทรงกลม 
- ผลย่อยนูนพอง ขนส่งทางไกลไม่ค่อยดี 


4. สับประรดพันธุ์อินทรชิต 
ลักษณะที่ดี
- ทนต่อดินเหนียวและการระบายน้ำเลว 
- ทนต่อโรคเน่า เปลือกผลหนา 
- ทนต่อการขนส่ง เนื้อสีเหลือง 
- ตอบสนองต่อสารเร่งดอกได้ดี 

ลักษณะที่ดีไม่ดี
- ไม่ค่อยทนแล้ง ผลขนาดเล็ก  ตาเล็ก 
- ตาลึกใบหนามาก  เนื้อมีเยื่อใยมาก 
- มีหลายจุก 

พันธุ์สับปะรดที่ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ  :  สับปะรดที่ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับนี้  เป็นสับปะรดที่กลายพันธุ์มาจากสับปะรดที่ปลูกบริโภคผล  ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้ 
1. อินทรชิตแปลง  กลางใบสีส้มอ่อนเจือชมพู ขอบใบสีน้ำตาลเข้ม หนามสีน้ำตาลเข้ม 
2. แดงบางคล้า  กลางใบสีเขียวสลับแดง โคนใบสีส้ม ขอบใบสีเหลืองอมแดง หนามสีแดงปนส้ม 
3. เหลืองบางคล้า  กลางใบสีครีม-เหลือง ขอบใบสีเขียว หนามสีเขียว 
4. แดงปัตตาเวีย  กลางใบสีเขียวอมแดง ขอบใบสีแดง ผิวใบเรียบเป็นแถบสีขาว-ชมพู ขอบใบเรียบหรือมีหนามสีแดงที่ปลายใบและโคนใบ 
5. สับปะรดด่างสามสีและด่างธรรมดา กลางใบเขียว ขอบใบสีครีมและครีมแกมชมพู หนามสีเขียวและชมพูแดง ให้ผลสีแดงสวยงาม 
6. สับปะรดแคระ  ลักษณะคล้ายสับปะรดอินทรชิตย่อส่วนผลขนาดเล็กสูงเพียง 1.5-2 นิ้ว ผลสีขาวครีม กลิ่นหอม ติดผลนาน 6 เดือน ซึ่งใช้ตัดผล (ดอก) ขายได้ด้วย 


ส่วนขยายพันธุ์และการขยายพันธุ์  ส่วนต่าง ๆ  ที่ใช้ในการขยายพันธุ์สับปะรด  มีดังนี้
1. หน่อดิน เกิดจากตาที่อยู่ในบริเวณลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะเริ่มแทงขึ้นมาพ้นผิวดินหลังจากเกิดการสร้างด/อกแล้ว  มีจำนวนน้อย รูปทรงเล็กเรียว  ใบยาวกว่าหน่อข้าง 
2. หน่อข้าง เกิดจากตาที่พักตัวอยู่บนลำต้นในบริเวณโคนใบ  หน่อข้างเหล่านี้จะมีน้ำหนักต่างกันไปตั้งแต่  0.5-1  กิโลกรัม ให้ผลเมื่อมีอายุ  14-18  เดือน ใช้ขยายพันธุ์ได้ดี
3. ตะเกียง เกิดจากตาบนก้านผลที่อยู่ในบริเวณโคนผล  ตะเกียงมีน้ำหนักเฉลี่ยทั่วไปอยู่ระหว่าง  0.3-0.5  กิโลกรัม ให้ผลเมื่อมีอายุ  18-20  เดือน
4. จุก เติบโตขึ้นเหนือผลสับปะรดหลังจากดอกโรยไปแล้วจุกจะมีน้ำหนักทั่วไปตั้งแต่  0.075-0.2  กิโลกรัม ให้ผลตามธรรมชาติเมื่ออายุ  22-24  เดือน

** เมื่อเก็บผลสับปะรดก็จะปลิดจุกออกจากผล และหลังจากเก็บเกี่ยวผลไปแล้วประมาณ  6  สัปดาห์  ก็จะปลิดหน่อออกจากต้น หน่อที่มีขนาดเหมาะแก่การขยายพันธุ์คือ  มีความยาวประมาณ  50-75  เซนติเมตรหลังจากเก็บหน่อ,  ตะเกียงหรือจุกมาแล้ว  ให้นำมาผึ่งแดดโดยคว่ำยอดลงสู่พื้นดิน  ให้โคนแผลได้รับแสงแดดจนรอยแผลแห้งรัดตัวเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย แล้วนำมามัดรวมกันเป็นกองเพื่อรอการปลูกหรือนำไปขายต่อไป ก่อนปลูกต้องลอกกาบใบล่างออก  3-4  ชั้น เพื่อให้รากแทงออกมาได้สะดวกและเร็วขึ้น 

**การใช้ส่วนขยายพันธุ์หลายชนิดปลูกแยกเป็นแปลง ๆ เป็นการดีเพราะสามารถทยอยเก็บผลสับปะรดได้หลายรุ่นตลอดปี 

สรุปข้อดี ข้อเสีย ของการปลูกด้วยหน่อและปลูกด้วยจุก 
การปลูกด้วยหน่อ
- ปลูกได้ตลอดปี
- ค่อนข้างทนทานต่อโรคเน่า 
- มีการเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอหรือไม่พร้อมกัน 
- อายุเก็บเกี่ยวตามธรรมชาติ 14-18 เดือน
- การบังคับออกดอก  ทำได้ยากเพราะต้นไม่สม่ำเสมอกัน
- การเก็บเกี่ยวผล  เก็บได้ไม่พร้อมกัน 

การปลูกด้วยจุก
- ปลูกได้เฉพาะฤดูแล้งหรือฝนไม่ชุก 
- ไม่ทนทานต่อโรคเน่า 
- มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน 
- มีอายุเก็บเกี่ยวตามธรรมชาติ  22-24  เดือน 
- การบังคับออกดอก  ทำได้ง่ายเพราะต้นสม่ำเสมอกัน 
- เก็บผลได้พร้อมกัน 

** สามารถปรับลดหรือเพิ่มได้ตามแต่สภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ /ในแต่ละพื้นที่อาจใช้แล้วได้ผลดีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การจัดการ และ การประยุกต์ใช้ 


ข้อมูลอ้างอิง  :   http://rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@