Social :



เทคนิคการปลูก และดูแล ต้นทานตะวัน

09 ม.ค. 62 11:01
เทคนิคการปลูก และดูแล ต้นทานตะวัน

เทคนิคการปลูก และดูแล ต้นทานตะวัน

เทคนิคการปลูก และดูแล  ต้นทานตะวัน

ทานตะวัน    เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศ  คำฝอย  ดาวเรือง  เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกันมากในเขตอบอุ่น  การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน"   เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์  คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า  และทิศตะวันตกในตอนเย็น  แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ   หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่  ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : 
พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง  มีความลาดเอียงไม่เกิน  5  เปอร์เซ็นต์
- ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน  500  เมตร 
- ดินร่วน ดินร่วนปนทราย  ดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว  มีการระบายน้ำ  และถ่ายเทอากาศดี
- ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  มีอินทรีย์วัตถุไม่ต่ำกว่า  1  เปอร์เซ็นต์ 
- ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง  6.0 - 7.5
- อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ  18 - 35  องศาเซลเซียส 
- ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ  800 - 1,200  มิลลิเมตรตลอดปี 

ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล  เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่างไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง  ในฤดูฝนจะมีน้ำขังแฉะเกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีน้ำชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี   2  ฤดูคือ
1. ปลายฤดูฝน  ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย  ควรปลูกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม  ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน
2. ฤดูแล้ง  ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้น้ำจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้ โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์  ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว


ทานตะวันมี  3  สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก  ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย  ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร  จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ  ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี  โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร  เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด  3-4  เท่า  จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด

การเตรียมดินปลูก : 
การเตรียมดินก่อนปลูก  ควรไถดินให้ลึกในระดับ  30  เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น  เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น  การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน  ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด  และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ  เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์

หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน  70-75  เซนติเมตร  และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน  25-30  เซนติเมตร  หยอดหลุมละ  2  เมล็ด  แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก  5-8  เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง  2-4  คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ  1  ต้น  และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง

***การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน  0.7  กิโลกรัมต่อไร่  และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น  6,400-8,500  ต้นต่อไร่

ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน  และแร่ธาตุสูง  จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร  15-15-15  หรือ  16-16-8  อัตรา  30-50  กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย  46-0-0  อัตรา  20-30  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อทานตะวันอายุได้  30  วัน  หรือมีใบจริง  6-7  คู่ 
MulticollaC
ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก  หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก  จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน  ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ  2  กิโลกรัมต่อไร่  จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น

น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่  1  หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ
ครั้งที่  2  ระยะมีใบจริง  2  คู่  หรือประมาณ  10-15  วัน  หลังงอก
ครั้งที่  3  ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ  30-35  วัน  หลังงอก
ครั้งที่  4   ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ  50-55  วัน  หลังงอก
ครั้งที่  5   ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ  60-70  วัน  หลังงอก  การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม  แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย  ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด


การกำจัดวัชพืช : 
ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย  2  ครั้ง  ครั้งแรกเมื่อทานตะวันมีใบจริง  2-4  คู่  ซึ่งการทำรุ่นครั้งแรกนี้  ทำพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ  1  ต้นต่อหลุม  เป็นการสะดวกสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ และครั้งที่สองทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง  เมื่อทานตะวันมีใบจริง  6-7  คู่  ทำรุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและพูนโคนต้นไปด้วย

***ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน  ควรทำการกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา  300-400  ซีซี  ผสมน้ำ  4  ปิ๊บ  สำหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก  1  ไร่  โดยฉีดให้สม่ำเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง  2  เดือน และควรใช้แรงงานคน  สัตว์  หรือเครื่องทุ่นแรง  ทำรุ่นได้ตามความจำเป็น

ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย  ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ  ได้แก่  พันธุ์ไฮซัน  33  และพันธุ์เอส  101  ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่  กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง
***สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัยสำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม


วิธีการเก็บเกี่ยวทานตะวัน   :   ใช้กรรไกรตัดจานดอก  โดยเลือกเฉพาะดอกที่สมบูรณ์ 

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว : 
- นำจานดอกที่เก็บเกี่ยวแล้วตากแดด  1-2  แดด  บนลานซีเม็นท์ หรือตากบนผืนผ้าใบ  และคลุมกองจานดอกทานตะวันด้วยผืนผ้าใบในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันน้ำค้าง
- กะเทาะเมล็ดจากจานดอก โดยนำจานดอกใส่ในถุงผ้า หรือกระสอบแล้วใช้ท่อนไม้ทุบ  หรือใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ดัดแปลงแล้ว ความเร็วรอบ 200 -350 รอบต่อนาที 
- นำเมล็ดที่กะเทาะแล้วไปตากแดด  1-2  แดด  เพื่อลดความชื้นในเมล็ดให้เหลือประมาณ 12-14เปอร์เซ็นต์ แล้วทำความสะอาดเมล็ด
- บรรจุเมล็ดที่ได้ในกระสอบป่าน   ที่ไม่ชำรุด  สะอาด  ปากกระสอบตัดแต่งให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
- ควรวางกระสอบที่บรรจุเมล็ดทานตะวันในที่ร่ม  บนพื้นที่มีแผ่นไม้รอง 


โพสต์โดย : POK@