Social :



เทคนิคการเลี้ยงปลานิล เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

21 ม.ค. 62 11:01
เทคนิคการเลี้ยงปลานิล เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

เทคนิคการเลี้ยงปลานิล เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

เทคนิคการเลี้ยงปลานิล  เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

เกษตรกรทั้งที่มีพื้นฐานในการ เลี้ยงปลานิล อยู่แล้วหรือเป็นเกษตรกรใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยง ปลานิล เลยก็ตาม  ถ้าอยากจะเลี้ยงปลานิลขายควรศึกษาข้อมูลได้จากที่นี่  เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการขาดทุนในการทำการเกษตร


1.ควรใช้บ่อดินในการเลี้ยงปลาเพื่อที่จะทำให้ปลามีความใกล้เคียงกับปลานิลธรรมชาติมากที่สุด  และยังลงทุนน้อยอีกด้วย
2.สถานที่ที่จะใช้เลี้ยงปลา ควรมีแหล่งที่มาของน้ำ  เช่น  บ่อน้ำ  หรือ  ลำคลอง  หรืออาจจะเป็น  น้ำจากชลประทานก็ได้  เพื่อเอาไว้ใช้ในการปรับถ่ายน้ำในบ่อปลา
3.เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ  เช่น  เครื่องสูบน้ำ  แห  อวน  เพื่อใช้ในการจับปลา
4.แหล่งที่มาของอาหารหรือวัชพืช  เช่น  ผักบุ้ง  ผักตบชวา  แหน  สาหร่ายตามลำคลอง  เป็นต้น  วัชพืชเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นอาหารปลาแทนอาหารเม็ดเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงได้  สิ่งสำคัญๆ  ก็มีประมาณนี้


เรามาดูขั้นตอนในการเลี้ยงปลากันเลยดีกว่าครับ  อันดับแรกเราต้องคำนวณขนาดของบ่อปลาเพื่อที่จะใช้ในการเลี้ยงปลากันก่อนนะครับ  โดยที่  1  ไร่สามารถ เลี้ยงปลานิลได้  800-1000  ตัว  ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป  เพราะถ้าหากเราเลี้ยงปลานิลในจำนวนที่มากเกินไปก็จะทำให้ปลานิลในเวลาที่โตขึ้นมานั้นจะมีพื้นที่ที่ไม่พอ  และจะทำให้ปลานิลที่เราเลี้ยงไว้นั้นโตช้าหรือไม่โตเนื่องจากมีพื้นและอากาศไม่เพียงพอกับปลาที่อยู่ในบ่อ

การเลี้ยงปลานิลแรกๆ  นั้นควรเฝ้าระวังศัตรูทั้งหลาย  เช่น  กบ  เขียด  ปลาดุก  ปลาช้อน  ปลาชะโด  วรนัสฯลฯ  เพราะการเลี้ยงปลานิลในระยะแรกๆ  จะใช้ปลานิลตัวที่มีขนาดแค่  3-5  ซม.  เท่านั้น   วิธีกำจัดศัตรูของปลานิล  ได้แก่การสูบน้ำในบ่อเลี้ยงปลานิลออกให้หมดก่อนนำปลาลงไปเลี้ยงเพื่อเป็นการเคลียร์บ่อและพักบ่อ

MulticollaC
ควรใช้กระชังมุ้งไนล่อนสีฟ้าล้อมรอบบ่อเพื่อเป็นการกันสัตว์นักล่าต่างๆ  ลงมากินปลาในบ่อ เช่น ตะกวด  หรือ  ตัวเงินตัวทอง  เป็นต้น


วิธีการปล่อยปลาลงไปในบ่อ    เมื่อเราซื้อพันธุ์ปลามานั้นจะมาในรูปแบบถุงเราไม่ควรที่จะปล่อยปลาในถุงลงไปในบ่อเลี้ยงปลาทันที ให้นำถุงพันธุ์ปลาวางแช่ลงไปในบ่อน้ำสัก  1-2  ซม.  ก่อน เพื่อให้ปลาได้เตรียมตัวปรับตัวเข้ากับน้ำที่มีอุณหภูมิที่ต่างกัน  เมื่อครบตามเวลาที่เหมาะสมแล้วให้เปิดปากถุงโดยให้น้ำในบ่อปลาเข้ามาและให้ปลาที่อยู่ในถุงว่ายออกไปเอง  ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากๆเพราะการกระทำแบบนี้จะช่วยทำให้ปลาแข็งแรงแล้วยังช่วยลดความเสียงของตัวปลาที่จะตายได้อีกด้วย หลังจากนั้นเราก็เลี้ยงปลาโดยการใช้อาหารหลักสัก  30-50%  เพื่อที่จะใช้อาหารที่หาได้จากวัชพืช  50  หรือมากกว่า  50%  ก็ได้เพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยส่วนใหญ่ปลานิลจะเลี้ยงอยู่ประมาณ  12  เดือนขึ้นไป  หรือจะจับขายได้ตามขนานที่ตลาดต้องการ  ปลาที่มีอายุ  12  เดือนจะมีน้ำหนักอยู่ที่  2-3  ตัว/กก.

เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตไวและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากจึงทำให้เกษตรที่เลี้ยงปลานิลมักจะได้กำไรในจำนวนมาก และน้อยนักที่เกษตรกรเลี้ยงปลานิลตามวิธีข้างต้นนี้แล้วขาดทุน  เพราะราคาทางตลาดจะมีราคาไม่ขึ้นลงไม่ห่างมากนักและค่อนข้างจะคงที่


โพสต์โดย : POK@