Social :



วิธีการปลูก และดูแล สาลี่

05 ก.พ. 62 12:02
วิธีการปลูก และดูแล สาลี่

วิธีการปลูก และดูแล สาลี่

วิธีการปลูก  และดูแล สาลี่

สาลี่    เป็นไม้ผลเขตหนาวประเภทรับประทานสด  ลักษณะต้นมีขนาดใหญ่อายุยาวนานหลายสิบปี  สาลี่ที่ปลูกในประเทศไทย  เป็นชนิดสาลี่เอเชีย  ซึ่งเนื่อผลจะกรอบและฉ่ำน้ำ  ต่างจากสาลี่ยุโรปที่เนื้อผลจะอ่อนนิ่ม  พันธุ์สาลี่ ที่นิยมปลูก  ได้แก่  พันธุ์  Yokoyama  Wase  , Xiang  Sui  และพันธุ์ใหม่  (SH-078  และ  SH-085)


รายละเอียดมาตรฐานคุณภาพ  :  สาลีพันธุ์  Yokoyama  Wase  และ  Xiang  Sui  แบ่งออกได้เป็น  3  เกรด
เกรดพิเศษ  :  ลักษณะผลตรงตามพันธุ์  ไม่มีตำหนิจากโรค  และแมลง มีน้ำหนักผลประมาณ  600-700  กรัมต่อผล
เกรด 1 : ลักษณะผลตรงตามพันธุ์  ไม่มีตำหนิจากโรค  และแมลง  มีน้ำหนักผลประมาณ  450-600  กรัมต่อผล
เกรด 2 : ลักษณะผลตรงตามพันธุ์  ไม่มีตำหนิจากโรค  และแมลง  มีน้ำหนักผลประมาณ  350-449  กรัมต่อผล
ช่วงการส่งผลผลิตออกสู่ตลาด  :   เดือนกรกฎาคม  -  เดือนกันยายน

การปลูก  :   โดยทั่วไปมักจะใช้ระยะ  6x6  เมตร  เนื่องจากทรงต้นสาลี่มีลักษณะสูง  การปลูกจึงนิยมโน้มกิ่งลงมาให้ขนานกับพื้นดิน  เพื่อให้มีสาขาแผ่กระจายออกไปและยังทำให้กิ่งมีการแตกแขนง และการเกิดกิ่งสเปอร์ได้เร็วและมากขึ้นด้วย  ถ้าปล่อยให้ทรงต้นสูงตามธรรมชาติกิ่งสเปอร์ซึ่งเป็นที่ออกดอกผลจะเกิดขึ้นช้า  ทำให้ผลไม่ดกวิธีการปฏิบัติกันอยู่มีการใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นคอกสี่เหลี่ยมรอบทรงพุ่ม  แล้วใช้เชือกผูกกิ่งที่โน้มลงมาติดคอกไม้ไผ่ซึ่งจะยึดกิ่งไว้ให้อยู่ในลักษณะแบนราบ  และจะเป็นที่เกิดดอกและผลเป็นจำนวนมาก  การทำคอกสาลี่นอกจากจะทำให้ทรงต้นไม่สูงการดูแลรักษาง่ายแล้ว  ยังช่วยป้องกันปัญหาการหักโค่นของต้นเนื่องจากลมพายุ  และการฉีกหักของกิ่ง  เนื่องจากการติดผลที่ดกได้อีกทางหนึ่งด้วย

**เนื่องจากสาลี่มีการออกดอกและติดผลค่อนข้างดก  จึงต้องมีการปลิดผลออกบ้างโดยเลือกปลิดให้เหลือแต่ผลที่มีคุณภาพดี  โดยเฉลี่ยแล้วจะให้เหลือเพียงผลเดียวต่อ  1  ช่อดอก

เมื่อปลิดผลเสร็จแล้วต้องห่อถุง  เพื่อป้องกันโรคและแมลง  และรักษาผิวของผลให้สวย  โดยเฉพาะสาลี่พันธุ์ที่มีสีเขียว  ถ้าใช้ถุงกระดาษ  2  ชั้นโดยมีชั้นในทึบแสง ผิวผลเวลาเก็บเกี่ยวจะมีสีขาวนวล  เป็นที่ต้องการของตลาด  ก่อนการห่อผลจำเป็นต้องมีการพ่นยากันราและแมลงก่อนแล้วจึงจะทำการห่อ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันแมลงที่อาจจะติดอยู่บริเวณผิวผลซึ่งจะทำลายผลให้เสียหายและมีเชื้อราเข้าทำลาย  ทำให้ผลเน่าได้ง่าย  เนื่องจากฤดูการเจริญเติบโตของผลสาลี่ในประเทศไทยจะตรงกับช่วงที่ฝนตกชุกมาก การพ่นยาก่อนห่อผลช่วยป้องกันการเน่าเสียหายได้มาก


การเก็บเกี่ยว  :  การใช้ถุงกระดาษทึบแสงห่อผลสาลี่ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นผลสาลี่ที่อยู่ในถุงได้  ดังนั้น  การเก็บเกี่ยวจึงต้องใช้วิธีการนับอายุของผล หลังจากดอกบานเต็มที่เป็นอันดับแรก สาลี่แต่ละพันธุ์ที่ปลูกอยู่มีช่วงความแก่สมบูรณ์ที่แตกต่างกันออกไป  ก่อนที่จะเก็บผลจะต้องเปิดถุงกระดาษที่ใช้ห่อผลอยู่ออกไปเสียก่อนแล้วจึงค่อยๆ  ใช้กรรไกรปลายแหลมขนาดเล็กตัดขั้วผลให้หลุดออกจากต้น  โดยตัดให้มีขั้วติดอยู่กับผลด้วย  จากนั้นจึงนำไปแยกและบรรจุ


โรคและแมลงศัตรู 
1. โรคใบจุด (Leaf spot) 

2. โรคราสนิม (Rust) 
สาเหตุ :  เชื้อรา Ochropsora ariae (Fuck.) p. et M. Sydow
ลักษณะอาการ  :   ใบล่างแสดงอาการจุดด่างเหลือง  มีขอบแผลสีม่วง  กระจายบนใบ  ด้านใต้ใบมีกลุ่มเชื้อราสีน้ำตาล  โรคนี้ระบาดมากจะลุกลามขึ้นด้านบนใบ  เมื่อเป็นโรคมาก  ต่อมาใบล่างจะร่วง   พบโรคนี้กับสาลี่พันธุ์ที่ใช้เป็นต้นตอและ  Yokoyama  Wase  มักพบในสภาพอากาศชื้นและเย็น
การป้องกันกำจัด  :  ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  เช่น  triadimefon

3. โรคราแป้ง (Powdery mildew) 
สาเหตุ :  เชื้อรา Phyllactinia  sp.  พบระยะสปอร์  imperfect  stage  รูปร่างแบบรองเท้าแตะ
ลักษณะอาการ
MulticollaC
:
  ใบสาลี่มีราขาวจับด้านใต้ใบเห็นชัดเจนบริเวณระหว่างเส้นใบ  ด้านบนใบแสดงอาการซีด เหลือง สปอร์ของราแป้งแพร่ระบาดได้ดีในสภาพอากาศแห้งและเย็น
การป้องกันกำจัด :  ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่ได้ผลกับราแป้ง  เช่น  กำมะถันผง  หรือสารดูดซึมป้องกันราแป้ง  เช่น  triadimefon

4. โรคผลเน่า  (Fruit rot) 
สาเหตุ :  เชื้อรา  Phomopsis sp.
ลักษณะอาการ :  ผลแก่สาลี่เน่าระยะก่อนเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว  แสดงอาการจุดเน่าสีน้ำตาลลุกลามอย่างรวดเร็ว  เชื้อราเข้าสู่ระยะดอกและผลอ่อนและพักตัวเมื่อผลแก่และสุกจึงแสดงอาการเน่า
การป้องกันกำจัด :  ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเป็นระยะๆ  ตั้งแต่ระยะติดช่อดอก  เช่น  carbendazim  และ  mancozeb  และควรมีสารเคมีการจุ่มผลสาลี่ในสาร  carbendazim  ผสมกับ iprocione

5. โรคผลเน่าก้นผล (Calyx end rot) 
สาเหตุ :  เชื้อรา  Alternaria  alternate (Fr.)  Keissl.
ลักษณะอาการ :  เกิดจุดเน่าสีน้ำตาลจากปลายก้นผลที่มีรอยย่น  การขยายตัวของจุดเน่าค่อนข้างจำกัด  และมักพบเส้นใยของเชื้อราสีเทาแกมเขียว  จำนวนเล็กน้อยเจริญคลุมผิวที่เน่าในบริเวณรอยย่นของก้นผล  พบอาการทั้งระยะก่อนและหลังเก็บเกี่ยว  เชื้อราแพร่ระบาดและตกค้างตั้งแต่ระยะติดผลอ่อน  เมื่อผลโตบริเวณก้นผลมีความชื้นเพียงพอทำให้เชื้อราเจริญได้ดี  จึงทำให้เน่าที่ก้นผล
การป้องกันกำจัด  :  ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเป็นระยะๆ ตั้งแต่ระยะติดช่อดอก  เช่น  iprocione  ซ่างให้ผลดีกว่าสาร  benomyl  กับโรคชนิดนี้

6. โรคไส้ดำ (Flesh Spot Decay)
สาเหตุ :   ไม่พบเชื้อสาเหตุ เป็นผลจากความผิดปกติของสรีระ
ลักษณะอาการ :   เกิดจุดสีน้ำตาลหรือบางครั้งเป็นเส้นสีน้ำตาลในเนื้อของผล  ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณกลางผลหรือค่อนข้างไปทางส่วนของขั้วเซลล์ใกล้ๆ  กับท่อน้ำท่ออาหารจะแสดงอาการก่อน จากจุดเล็กๆ  ก็จะขยายขึ้นเป็นช่องว่างขนาดใหญ่  รูปร่างไม่แน่นอนและเกิดทั่วไปในเนื้อของผลโดยไร้ทิศทาง  ถ้าเป็นมากจะเกิดในแกนกลางของผลด้วย  ส่วนที่เป็นแผลอาจจะมีลักษณะแห้ง หรือฉ่ำน้ำก็ได้  โดยที่เซลล์โดยรอบยังคง  ปกติอยู่  ผลที่เป็นโรคจะมีรสขม

** ผลที่มีขนาดใหญ่และแก่เกินไปมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผลที่มีขนาดเล็กกว่าและไม่แก่จัด ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผล ถ้าอากาศเย็นและชื้นแฉะโรคจะเกิดทาก และสวนที่ให้น้ำมากก็เกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

การป้องกันกำจัด  :   ยังไม่ทราบวิธีที่แน่นอนแต่ลดความเสียหายโดยเก็บเกี่ยวผลในระยะที่ผลแก่พอดี  อย่าให้แก่เกินไป  เมื่อเก็บเกี่ยวผลแล้วให้ผึ่งไว้  36-48  ชั่วโมง  ก่อนที่จะทำการบรรจุหรือเก็บในห้องเย็น  ถ้ามีฝนตกในระยะเก็บเกี่ยว  ถ้ารอได้ก็ให้ทิ้งผลไว้บนต้นก่อนสัก  2-5  วัน  เพื่อให้น้ำในผลลดลงเสียก่อนจึงทำการเก็บเกี่ยว

แมลงศัตรูของสาลี่แมลงศัตรูของสาลี่ที่สำคัญ   ได้แก่  แมลงวันทอง  ซึ่งจะเจาะผลและวางไข่ในผลสาลี่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลใกล้สุก  และก่อนเก็บเกี่ยวทำให้ผลเน่าเสียหายมาก  ซึ่งในการปลูกสาลี่จำเป็นต้องมีการห่อผลเพื่อป้องกันการเข้าทำลาย

แมลงอื่นที่สำคัญ   คือ  เพลี้ยอ่อนของสาลี่  ซึ่งทำลายเฉพาะสาลี่เท่านั้น เพลี้ยอ่อนสาลี่มีขนาดเล็กมากลำตัวยาว  0.8-1.0  มม.  มีสีเหลืองใส  รูปร่างด้านหัวค่อนข้างกลมมนและค่อยๆเรียวยาวไปทางด้านปลายท้อง  พบแต่ชนิดที่ไม่มีปีก  หัว  กลมมน มีตารวมค่อนข้างใหญ่สีน้ำตาลปนแดง หนวดสั้นประมาณ  3  ปล้อง ปากยาว  เมื่อไม่ได้ใช้จะพับเก็บไว้ใต้ส่วนอก ปลายของปากยื่นไปจนถึงฐานของขาคู่หลัง  อกอยู่ชิดติดกับส่วนหัว มีขาค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลเกือบดำ  3  คู่  ยื่นออกมา  ไม่มีปีก  ท้องค่อนข้างยาวเรียวไปสู่ส่วนท้ายมีประมาณ  8-9  ปล้อง  ไม่มี  cornicle  และรูหายใจเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก  จึงทำให้ดูไม่เหมือนเพลี้ยอ่อนชนิดอื่นๆ  ที่พบในประเทศไทย  ซึ่งมักจะมี  cornicle  ยื่นออกมาจากทางด้านหลังทางปล้องท้อง  1  คู่

** เพลี้ยอ่อนสาลี่จะอาศัยรวมอยู่เป็นกระจุกซึ่งมีทั้งไข่ตัวอ่อนหลายวัยและตัวเต็มวัยไม่มีปีกแอบซุกซ่อนอยู่ตามร่องหรือรอยแตกของผล  ตา  ใต้เปลือกของกิ่ง  ก้าน  และโคนต้น  ซึ่งถ้าไม่สังเกตให้ดีแล้ว 


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@