Social :



เทคนิคการปลูกหวายป่า เพื่อให้ได้ผลผลิตเชิงการค้าที่ได้คุณภาพ

06 ก.พ. 62 12:02
เทคนิคการปลูกหวายป่า เพื่อให้ได้ผลผลิตเชิงการค้าที่ได้คุณภาพ

เทคนิคการปลูกหวายป่า เพื่อให้ได้ผลผลิตเชิงการค้าที่ได้คุณภาพ

เทคนิคการปลูกหวายป่า 
เพื่อให้ได้ผลผลิตเชิงการค้าที่ได้คุณภาพ

หวายป่า   เป็นพืชที่น่าสนใจในการปลูกเชิงการค้าอีกชนิดหนึ่ง  เนื่องจากมีอายุยืนหลายปี  ปลูกครั้งเดียวสามารถเก้บผลผลิตจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี  นับเป็นพืชสร้างรายได้ดีพืชหนึ่ง


การปลูกหวาย   หากปลูกด้วยเมล็ดจะมีการเจริญเติบโตที่ดี  และ สามารถเพาะเมล็ดได้เลยทันที  โดยไม่ต้องแกะเปลือกและเนื้อหุ้มเมล็ดออก  แต่ต้องเพาะให้เร็วที่สุดหลังจากเก็บเมล็ดได้  และเมล็ดนั้นจะต้องไม่เกิน  6  เดือน  เพราะยิ่งเก็บไว้นานอัตราการงอกของเมล็ดจะยิ่งลดลงจาก  40 %  เหลือเพียง  15 %  เท่านั้น

1.  วัสดุที่ใช้ในการเพาะประกอบด้วย  ดินร่วน+ทราย+แกลบเผา+ปุ๋ยคอก(มูลโค)  ที่สลายตัวดีแล้ว  ในอัตราส่วน  1:1:1:1  แปลงเพาะควรทำในบริเวณที่ได้รับแสงแดดประมาณ  70 %- 80 %  เมื่อเตรียมแปลงและวัสดุเพาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เกลี่ยผิวแปลงให้เรียบ

2.  ใช้ไม้ขีดเป็นร่องลึกประมาณ  1  นิ้ว  ห่างระว่างแถวละ  3-4  นิ้ว  แล้วโรยเมล็ดหวายที่เก็บได้มาใหม่  ไปตามแนวร่อง  โรยปิดทับหน้าอีกครั้งด้วยวัสดุเพาะดังกล่าว หนา  1  นิ้ว  รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดหวายจะเริ่มทยอยงอกภายใน  1.5-2  เดือน  และจะมีขนาดโตพอที่จะย้ายลงถุงชำได้ในเวลาประมา

3.  หวายเป็นระบบรากแขนงมากมายประสานกันอยู่ตามลักษณะของพืชตระกูลปาล์มทั่วๆ  ไป  ส่วนยอดก็ยังสามารถเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปได้เรื่อยๆ

4. เมื่ออายุได้  2-3  ปี  จะเริ่มติดดอกและให้ผลที่สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้

5.เกี่ยวกับการตัดและการเก็บผลผลิตหน่อหวาย ในช่วงที่มีอายุการปลูก  1-1.5  ปี  กอหวายจะเจริญเติบโต  และแตกขยายกอเพิ่มจำนวนหน่อเป็น  6-10  หน่อ  ภายในอายุ  2-3  ปี  ในการตัดเก็บผลผลิตหน่อหวายรุ่นต่อไปจะเก็บได้ภายใน  6-8  เดือน  หลังจากหน่อโผล่พ้นดิน  จำนวนผลผลิตหน่อหวายในแต่ละกอจะมีจำนวนมากขึ้นตามอายุของกอหวายที่มากขึ้น  เมื่ออายุ  8  ปีขึ้นไป หวายดงที่เจริญเติบโตได้ขนาดพอตัดเก็บได้
Lif

6. อายุของหน่อหวาย  นับแต่วันโผล่พ้นผิวดินจนถึงวันตัดเก็บผลผลิตได้มีอายุประมาณ  6-8  เดือน  ตามฤดูการและการบำรุงดูแล  ยกเว้นหวายหน่อแรกเหนือต้นแรกที่ถูกตัด  คือจะตัดได้เมื่ออายุได้  1-1.5  ปีหลังปลูก


การให้น้ำ  :  น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของหวายดง  หากมีการสูบน้ำขึ้นมารดแปลงหวายได้ในช่วงฤดูแล้งจะทำให้ผลผลิตหน่อหวายมีออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี

การกำจัดวัชพืช  :  รถไถเดินตามช่วยในการกำจัดวัชพืช  โดยทำการไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืชอย่างน้อยปีละครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าไม่ทำการไถพรวน การตัดตรงกลางระหว่างแถวก็ได้ ในกรณีนี้จึงควนไถพรวนตรงกลางระหว่างแถวหวายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว


การให้ปุ๋ย : การใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำและต่อเนื่องเพราะทำให้หวายเจริยงอกงามได้นานกว่าปุ๋ยเคมี  และการใส่ปุ๋ยเคมีนั้นจะใส่อย่างน้อยปีละครั้ง  และไม่ทำลายดินด้วย วิธีการใส่ปุ๋ยที่สะดวก ให้ขุดหลุมตรงกลางระหว่างกอหวายแต่ละกอ  แล้วใส่ปุ๋ยคอกลงในหลุมให้เต็ม  จากนั้นใช้ดินที่ขุดขึ้นกลบทับหน้าปุ๋ยอีกที  การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะทำให้สะดวกและประหยัดแรงงานได้มาก  และพบว่าต้นหวายเจริญเติบโตงอกงามได้ไม่แพ้วิธีอื่น  แต่หากมีแรงงานมากก็ควรใส่ปุ๋ยรอบทั้งกอแล้วจึงพรวนดินกลบ

การตลาด  :  ส่วนเรื่องการตลาดนั้นพี่มานิดบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วง  เพราะว่าพืชชนิดนี้ของเกษตรกรนั้นไม่มีในพื้นที่  จึงเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องการ



ข้อมูลอ้างอิง  :https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@