Social :



วิธีการปลูก และดูแล หอมหัวใหญ่

16 ก.พ. 62 11:02
วิธีการปลูก และดูแล หอมหัวใหญ่

วิธีการปลูก และดูแล หอมหัวใหญ่

วิธีการปลูก และดูแล หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่   (Onion)  เป็นพืชที่นิยมรับประทานมากในกลุ่มของหอมชนิดต่างๆ  เนื่องจากมีกลิ่นฉุนแรงช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดี  รวมถึงเนื้อหัวให้รสหวาน และกรอบ เหมาะสำหรับประกอบอาหารหลายชนิด  อาทิ  ต้มยำ  สลัดผัก  และยำปลากระป๋อง  เป็นต้น  รวมถึง  นิยมใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  อาทิ  หัวหัวใหญ่แห้ง  หอมหัวใหญ่ดอง  เป็นต้น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก  และลำต้น
ลำต้นหอมหัวใหญ่  หรือส่วนที่เรียก หัวหอม เกิดจากกาบหุ้มลำต้นที่งอกออกจากลำต้นในส่วนกลางเรียงซ้อนกันแน่นเป็นรูปทรงกลม หรือรูปโดม กาบหุ้มส่วนนอกจะแห้ง มีหลายสีตามสายพันธุ์  เช่น  สีน้ำตาล  สีขาว  สีแดง  และสีเหลือง  ขนาดหัวประมาณ  5-12  ซม.  ส่วนกลางของหัวจะเป็นลำต้นที่แท้จริง มียอดของลำต้นเจริญออก ซึ่งอาจมีได้มากกว่า  1  ยอด ในต้นเดียว ความสูงของลำต้นจนถึงยอดใบประมาณ  35-45  ซม.  ส่วนรากของหอมหัวใหญ่มีระบบเป็นรากฝอย  รากมีขนาดเล็กสีน้ำตาล สามารถหยั่งลงลงดินได้  15-20  ซม. และรากแพร่ออกด้านข้างได้  20-40  ซม.  มีจำนวนรากมากกว่า  20-100  ราก

ใบ
ใบหอมหัวใหญ่  ประกอบด้วยกาบใบที่อยู่บริเวณเหนือหัวหอม  เรียกส่วนนี้ว่า  คอหอม  กาบนี้มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาว  อัดกันแน่นเป็นทรงกระบอกยาว  ถัดมาเป็นส่วนของใบหอม ใบมีลักษณะเรียวยาว  เป็นรูปครึ่งวงกลมจนถึงทรงกลม  ผิวใบสีเขียวเข้ม  ด้านในกลวง

ดอก
ดอกหอมหัวใหญ่  จะเจริญออกตรงกลางของลำต้นแทนที่ของใบ ดอกจะออกเป็นช่อ  แต่ละช่อมีดอกได้มากกว่า  50  ดอก  ดอกประกอบด้วยก้านดอกทรงกลม  ยาว  ได้มากกว่า  30  ซม. ด้านในก้านกลวงเป็นรู  ถัดมาเป็นดอก โดยดอกตูมจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มคลุมดอกไว้หมด  เมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงจะปริออก  โผล่เป็นกลีบดอกออกให้เห็น  กลีบดอกมีจำนวน 6 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้  6  อัน มี  2  ชั้น  แต่ละชั้นมีกลีบเท่ากัน และเกสรตัวเมีย  1  อัน  ดอกจะทยอยบานจากล่างขึ้นบน  มีระยะดอกบานนาน  20-30  วัน

เมล็ด
เมล็ดหอมหัวใหญ่มีขนาดเล็ก  สีดำ  เมล็ดมีลักษณะเป็นพู  3  พู  แต่ละพูมีเมล็ด  1-2  เมล็ด


หอมหัวใหญ่เป็นพืชที่ชอบดินร่วน  ดินร่วนปนทราย  ดินมีความร่วนซุยสูง  หน้าดินโปร่ง  เนื้อดินไม่อัดแน่น  และระบายน้ำได้ดี

วิธีการปลูก
1. การหว่านเมล็ด  และหยอดเมล็ด
เป็นการปลูกด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลงปลูก  หรือ หยอดเมล็ดในแถวในระยะที่ห่างกัน  และดูแลรักษาจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
2. วิธีการย้ายกล้าปลูก
เป็นวิธีที่ย้ายกล้าปลูกลงแปลงปลูก ด้วยการหว่านเมล็ดลงแปลงเพาะกล้า  หลังจากนั้น  ค่อยย้ายกล้าพันธุ์ไปปลูกในแปลง  ช่วงหว่านกล้าจนถึงพร้อมย้ายกล้าประมาณ  40-45  วัน หรือมีใบแล้ว  4-5  ใบ  หลังจากนั้น  ดูแลต่อจนถึงการเก็บเกี่ยว วิธีนี้ นิยมใช้กับพันธุ์เบา

การเตรียมดิน
สำหรับการปลูกในแปลงขนาดใหญ่จะต้องเตรียมแปลงก่อน ด้วยการไถพลิกดิน  และตากดิน  1-2  ครั้ง พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด  ก่อนไถครั้งสุดท้ายก่อนปลูกให้หว่านด้วยปุ๋ยคอก  ปริมาณ  2  ตัน/ไร่  ร่วมกับปุ๋ยเคมี  15-15-15  ปริมาณ  25-30  กิโลกรัม/ไร่  ก่อนไถกลบ

การเพาะกล้า
ให้ทำร่องลึกเป็นแนวยาว  แต่ละร่องห่างกัน  10 ซม. จากนั้น นำเมล็ดลงหยอดให้เมล็ดห่างกันประมาณ  2  ซม.  แล้วค่อยเกลี่ยหน้าดินกลบหนาประมาณ  1  ซม.  แล้วใช้ฟางข้าวคลุม และรดน้ำให้ชุ่ม

หลังจากการหยอดเมล็ดแล้ว  เกษตรกรมักทำโครงรูปโค้งที่ทำจากไม้ไผ่  แล้วคลุมด้วยผ้าหรือพลาสติกใส  ซึ่งจะปล่อยเป็นช่องหน้าหลังให้อากาศผ่าเข้า-ออกได้  เพื่อป้องกันแสงแดดที่ร้อน  และน้ำฝนที่อาจตกในช่วงนั้น  และให้เปิดผ้าออกในช่วงเช้า  และกลางวัน  หลังจากการหยอดเมล็ด  4-5  วัน  เมล็ดจะเริ่มงอกให้เห็น

หลังเมล็ดงอกแล้ว  1-2  วัน  ให้ดึงฟางข้าวออกบางส่วน เหลือเพียงบางส่วนให้คลุมหน้าดินไว้บางๆ  จากนั้น  ดูแล  และให้น้ำทุกวัน  1-2  ครั้ง  นาน  40-45  วัน  ค่อยย้ายปลูกในแปลงต่อ  โดยในระหว่างการดูแลต้องคอยถอนกล้าที่เป็นโรคหรือไม่สมบูรณ์ทิ้ง  รวมถึงกล้าที่กระจุกกันแน่นออกให้เหมาะสม


ขั้นตอนการปลูก
Lif
1. การปลูกหอมหัวใหญ่  แบบหว่านเมล็ด  และยอดเมล็ด  โดยการหว่านเมล็ดจะหว่านลงแปลงหลังการเตรียมดินแล้ว อัตราเมล็ดที่ใช้ประมาณ  450-500  กรัม/ไร่  ส่วนการหยอดเมล็ด  เกษตรกรจะใช้การไถให้เป็นร่องในแนวยาว  ระยะห่างของแถวประมาณ  15-20  ซม.  ก่อนนำเมล็ดหยอดลงร่อง  โดยให้เมล็ดห่างกันประมาณ  10  ซม.

2. การปลูกหอมหัวใหญ่จากกล้าที่เพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าปลูก  โดยจะเริ่มย้ายกล้าได้หลังจากต้นมีใบแล้ว  4-5  ใบ  หรือมีอายุหลังเพาะเมล็ดนานประมาณ  40-45  วัน  ห้ามใช้ต้นกล้าที่มีอายุนานกว่านี้  เพราะหอมจะเริ่มลงหัว ทำให้ปลูกไม่ติด  หรือปลูกติด หัวจะไม่สมบูรณ์

หลังจากถอนกล้ามาแล้ว  ให้ติดปลายราก และปลายของใบออก  แล้วนำต้นกล้าแช่กับสารกับจำเชื้อราหรือสารป้องกันแมลง  นาน  30  นาที  จากนั้น  ค่อยนำลงปลูก  ระยะปลูกระหว่างต้นที่  10-15  ซม.  ระยะระหว่างแถวที่  15-20  ซม.  หลังการปลูกให้นำฟางข้าวคลุมรอบโคนต้นตามความยาวของแถว

ทั้งนี้  ก่อนการหยอดเมล็ด หว่านเมล็ดปลูกหรือเพาะกล้า  ให้น้ำเมล็ดหอมหัวใหญ่มาแช่น้ำทิ้งไว้  1  คืน  ซึ่งเมล็ดจะเริ่มงอกให้เห็น  แล้วค่อยนำเมล็ดมาผสมกับสารฆ่าเชื้อราหรือสารป้องกันแมลง  ก่อนนำหว่านหรือหยอดเมล็ดเพาะ

ปุ๋ยที่ให้จะเริ่มใส่ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน  เตรียมแปลงดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนหลังการปลูกแล้วประมาณ 2 อาทิตย์ จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมี  15-15-15  จำนวน  20  กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้น  ครั้งที่  2  ใส่เมื่อหอมอายุได้ประมาณ  45  วัน  ใช้สูตร  12-12-24  อัตรา  25  กิโลกรัม/ไร่  เพราะช่วงระยะ  50  วัน  หลังหว่านกล้าหรือหลังปลูก  หอมจะเริ่มลงหัว  นอกจากนั้น  ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ  และเพิ่มความร่วนซุยให้แก่ดิน

– การให้น้ำสำหรับวิธีปลูกด้วยการหว่านเมล็ด  ในช่วง  1-2  อาทิตย์แรก  ควรให้วันละ  1  ครั้ง  จากนั้น  จะให้น้ำวันเว้นวัน  จนต้นมีอายุประมาณ  1  เดือน  ค่อยให้  3-5  ครั้ง/อาทิตย์ จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว
– การให้น้ำสำหรับวิธีปลูกด้วยการย้ายกล้า  ในช่วง  2-3  วันแรก  ควรให้วันละ  1  ครั้ง  จากนั้น จะให้น้ำวันเว้นวันต่อไปอีก  1-2  อาทิตย์  จนต้นต้นกล้าตั้งตัวได้  แล้วค่อยให้ 3-5 ครั้ง/อาทิตย์  จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว

ทั้งนี้  ก่อนการเก็บหัวหอม  2-3  อาทิตย์  จะต้องงดการให้น้ำ  เพราะจะทำให้คอหัวหอมขยายใหญ่


– อายุการเก็บเกี่ยวของพันธุ์หนักที่  165-180  วัน  หลังปลูก  เช่น  พันธุ์กราเน็กซ์  หว่านกล้าเมื่อตุลาคม  หัวหอมจะแก่พร้อมเก็บในเดือนมกราคา-กุมภาพันธ์
– ส่วนพันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวที่  85-120  วัน

การสังเกตหัวหอมใหญ่พร้อมเก็บ
– ใบจะกาง  และโน้มลงดิน
– ใบเริ่มเหลือง  เปลี่ยนเป็นสีเทา และเหี่ยว
– เปลือกหุ้มหัวด้านนอกแห้ง  มีสีน้ำตาล
– เมื่อใช้มือบีบลำต้นเหนือหัวหัวจะรู้สึกนุ่ม  ลำต้นไม่แน่น

การเก็บหอมหัวใหญ่  สำหรับไม่เก็บไว้นานเพื่อรอส่งจำหน่าย  เกษตรกรจะใช้ไม้ไผ่รวบพร้อมรากให้ลำต้นพับในแนวขวางของแปลง และปล่อยทิ้งไว้  7-10  ให้ต้นเหี่ยวแห้ง หลังจากนั้น  ใช้มือถอนหอมหัวใหญ่ขึ้น  พร้อมตัดลำต้นทิ้ง ระยะตัดประมาณ  1.5-3  ซม.  หรือตัดบริเวณลำต้นที่มีการหักพับ แล้วนำไปผึ่งลมในโรงเรือนที่มีลมโกรก ให้แห้ง นาน  10-20  วัน สำหรับการรักษารอยแผลที่ตัด  หลังจากนั้น  นำเก็บในโรงเรือนที่อากาศถ่ายเทสะดวก  ไม่ควรวางทับกันแน่น หรือ หากเก็บใส่กระสอบจะต้องเป็นกระสอบที่มีรูระบายอากาศได้  ก่อนจะนำไปจำหน่าย

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการเก็บหอมไว้นานๆ  เกษตรกรในบางพื้นที่จะเก็บได้เลย  โดยไม่ต้องทำให้ต้นล้มก่อน  และจะไม่ตัดลำต้นทิ้ง  โดยหลังจากเก็บแล้วจะมัดลำต้นหอมรวมกันเป็นมัด  ก่อนนำห้อยเก็บในโรงเรือน

หอมหัวใหญ่มีอายุการเก็บได้นานประมาณ  4-5  เดือน  หากนานกว่านี้  หัวหอมจะเริ่มงอกหรือหัวจะฝ่อลีบลง


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://puechkaset.com

โพสต์โดย : POK@