Social :



ทำได้หรือไม่! รัฐบาลปรองดอง?

23 ก.พ. 62 07:02
ทำได้หรือไม่! รัฐบาลปรองดอง?

ทำได้หรือไม่! รัฐบาลปรองดอง?

ยิ่งคืบใกล้วันเลือกตั้งเข้าไปทุกขณะอีกเพียง 29 วันจะถึงวันหย่อนบัตรลงคะแนน 24 มี.ค. สภาพการเมืองยิ่งทวีความเข้มข้นนอกจากการหาเสียง “เก็บแต้ม” เตะตัดขาตามสไตล์การเลือกตั้งเมืองไทยแล้ว หนนี้ในเชิง “กลศึกอนาคต” กับภาพสะท้อนทิศทางการ “จับขั้ว” ก็เริ่มชัดมากขึ้น แม้ในบางจังหวะจะมีคลื่นแทรก “สัญญาณกวน” ให้แกว่งไกวไปกับ “ตัวแปรผกผัน” จาก “กองทัพ” ที่ชัดเจนว่าเป็น “ตัวช่วย” ของฝ่ายอำนาจปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นคำปราม “อย่าล้ำเส้น” หรือคำขู่ “หนักแผ่นดิน” ที่ปล่อยออกมาเป็นชุดๆจาก “บิ๊กแดง”…ในท่ามกลางข่าวลือข่าวปล่อยมากมายไปถึงขั้น “ล้มกระดาน” การเลือกตั้งก่อนหน้า..จนหลายฝ่ายต้องเช็คอาการความมั่นอกมั่นใจกันอีกรอบว่าต้องไปให้ถึงวันเลือกตั้งหลังจากนั้นค่อยว่ากัน…

@ที่อย่าลืมว่าโดยตำแหน่งก็คือ “เลขา คสช.” ที่ความเป็นจริงของชีวิต คือเรายังมี “หัวหน้า คสช.” ที่ชื่อ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่ยังมี “อำนาจเต็ม” ทั้งในสถานีนี้และสถานะ “นายกรัฐมนตรี” และก็เป็นนายกฯที่ “แคนดิเดตนายกฯ” ของ “พรรคพลังประชารัฐ” ที่เป็น “ผู้เล่น” ในสนามเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. เช่นกัน


 


 


@กระนั้นนอกจากอารมณ์ประมาณว่าจากเดิมที่ฝ่ายการเมืองมีการแบ่งเป็น “สามก๊ก” นับแต่ ประกาศวันเลือกตั้งชัดเจนนั่นคือ ก๊ก”รัฐบาล คสช. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และ เครือข่ายพรรคกองหนุน ก๊ก “พรรคเพื่อไทย” และเครือข่ายพรรคแบงก์ร้อยและแบงค์ย่อย รวมถึง “พรรคอนาคตใหม่” ซึ่งได้รับความสนใจจาก “ฐานคะแนนใหม่” กลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ทีพรรคนี้มีแนวทางตรงกับเพื่อไทยในประเด็น “ไม่เอาการสืบทอดอำนาจ” และ “รัฐประหาร” ของ คสช. และกองทัพโดยไม่จับมือกับ พปชร. แต่พร้อมร่วมกับพรรคที่มีจุดยืนแก้รัฐธรรมนูญที่ถือเป็น “ระบอบ” ที่ถูกออกแบบโดย “คสช.” และก๊ก “พรรคประชาธิปัตย์” ที่ชัดว่าไม่จับมือเพือไทย แต่ก็ไม่เคยบอกชัดว่าจะไม่จับมือกับ พปชร. โดยยังไม่นับรวมพรรคขนาด “กลางขนาดถึงขนาดย่อม” ที่คงสถานะ “พรรคกลาง” พร้อม “เป็นมิตรแบบไม่มีเงื่อนไข” กับทุกก๊กทุกขั้วข้างที่ชนะ อย่างชาติไทยพัฒนา ภูมิใจไทย หรือชาติพัฒนา..






@น่าสนใจว่า เอาเข้าจริง ที่บางฝ่ายประเมินตรงกันคือ เลือกตั้งหนนี้ตามที่ “ลุงตู่” บอกกับชาวกระบี่เมื่อวานว่า “เป็นการเลือกตั้งที่ปลอดภัย บริสุทธิ์ ยุติธรรม” อาจจะเป็นเพียงแค่ “พิธีกรรมการเมือง” เพราะยังไง “ธง” ที่ถูกวางไว้โดยการ “ออกแบบ” ทั้ง “ระบอบ” และ “ระบบ” ไว้ตั้งแต่ “รัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “พรรค250ส.ว.” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ” ยังไงก็ไปลงเอยที่ “นายกลงตู่” ที่ทำให้ เมื่อเริ่มตั้งไข่
Lif
“พรรคพลังประชารัฐ” จงมี “แรงดึงดูด” มหาศาล ที่ทำให้ “นักการเมือง” เก๋าเกม มองทะลุทิศทาง อย่าง “สมศักดิ์ เทพสุทิน” และ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” แทงไฮโลเปิดถ้วย ตัดสินใจเข้ามาเป็น “ตัวช่วย” ในการระดมกำลังฝ่าย “นักการเมือง” เพื่อเป็นฐานปูทาง “ความชอบธรรม” ในหนทาง “ไปต่อ” ของ “ลุงตู่”

@ต่อเมื่อเอาเข้าจริง แม้จะด้วยเงื่อนปมและวิธีการอันซับซ้อนของรัฐธรรมนูญกับการดักทางนักการเมือง และแม้จะด้วยกลไกกับดักกฎหมาย รวมถึง “อำนาจ” ควบคุมกระบวนการอาชญาวิทยา ที่ “พรรคไทยรักษาชาติ” (ทษช.) และ “อนาคตใหม่” กำลังลุ้นเหมือนกันในวันที่ 27 ก.พ. แต่จากการที่ทุกพรรคมีการทำโพลสำรวจลับรวมถึงโพลสำรวจจากสถาบันต่างๆที่ประเมินว่าคงไม่ใครทะลุได้ถึงด่าน 250 โดยลำพังแน่ แต่ “พรรคเพื่อไทย” ก็น่าจะยังมาวินโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและเหนือที่แม้จะถูกดูดถูกเจาะแต่ภาพรวมก็ยังมาอันดับหนึ่ง และติดตามมาด้วยประชาธิปัตย์ ที่ยังคงเป็นภาคใต้ และกรุงเทพฯโดย พปชร. มาอันดับสาม และอาจมีตัวเลขไม่ถึงร้อย

@จากทิศทางผลสำรวจ ที่แม้จะยังมี “ปัจจัยพลิกผัน” ได้อีกเมื่อถึงวันเลือกตั้งจริง ทำให้หลายเวทีดีเบต นอกจากคำถามนโยบายแล้ว คำถามการจับขั้วกันตั้งรัฐบาล จึงกลายเป็นคำถามแรกๆเช่นกัน โดยไม่ว่าจะ ปชป. หรือ เพื่อไทย นั้นตรงกันว่าควรให้โอกาสพรรคที่มีเสียงมากที่สุดจัดตั้งรัฐบาลก่อนหากไ่มได้ค่อยพรรคถัดมา ที่ทำให้ “สมการ” จับขั้วถูกฟันธงหลายฝ่ายว่า ถึงจะชนะหนนี้ด้วยโจทยืล็อคเป้ายังไง “เพื่อไทย” ก็ยังไม่ไ้ด้เป็นรัฐบาล โดย “โฟกัส” อยู่ที่ “ประชาธิปัตย์” ว่าลงตัวแค่ไหนอย่างไรกับ “พปชร.” ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง “นายกฯ” และโควต้าเก้าอี้รัฐมนตรี ที่ขึ้นอยู่กับ “ตัวเลข ส.ส.” ที่มีของ “พปชร.” ที่จะหมายรวมไปถึง พรรค ส.ว. 250 จะถูกเอาไปคิดด้วยหรือไม่   (อ่าน:ถอดสูตรคิดสมการจับขั้วรัฐบาลผสม)


@แน่นอนการเมืองเป็นเรื่องการต่อรองที่ลงตัวในผลประโยชน์และอำนาจ ซึ่งก็น่าสนใจว่า ถึงที่สุดหลังวันประกาศผลเลือกตั้ง จะออกมาในท่วงทำนองใดหาก พปชร. มาเป็นอันดับสามดังโพลว่า พรคประชาธิปัตย์ “อภิสิทธิ์” แคนดิเดตนายกฯจะยอมให้ “ลุงตู่” เป็นนายกฯง่ายๆหรือ หรือจะเป็นไปในทิศทางที่ “สนธิรัตน์” เลขา พปชร. บอกกับสื่อ (21ก.พ.) ว่า รัฐบาลหลังการเลือกตั้ง น่าจะเป็นรัฐบาลหลายพรรค ต้องมี 4-5 พรรค และว่า สูงสุดของรัฐบาลนี้ พรรคการเมืองอันดับ 1 ต้องมี 130 เสียงเป็นอย่างน้อย โดยนิยามว่า รัฐบาลที่ออกมาจะเป็น “รัฐบาลปรองดอง” คือ ต้องเอาหลาย ๆ พวกมาอยู่ด้วยกัน หลาย ๆ พรรคมาอยู่ด้วยกัน เป็นความปรองดองภาคปฏิบัติ โดยจะไม่มีการตั้งเงื่อนไขก่อน ถัดจากนั้น 250 ส.ว. จะมีผลทางปฏิบัติเฉพาะตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี”

@ทั้งหมดต้องติดตามกันต่อไปว่า รัฐบาลปรองดอง จะเป็นไปได้แค่ไหน และจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงหรือไม่?


ขอบคุณข้อมูลจาก:.innnews

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด