Social :



ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ และวิธีการปลูก ย่านาง

07 มี.ค. 62 11:03
ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ และวิธีการปลูก ย่านาง

ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ และวิธีการปลูก ย่านาง

ทำความรู้จักกับคุณประโยชน์ และวิธีการปลูก  ย่านาง

ต้นย่านาง  ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน


ต้นย่านาง  เป็นไม้เลื้อย  เป็นเถา  ซึงลักษณะของต้นย่างนาง  มีลักษณะดังนี้
- ลำต้นของย่านาง  เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น  มีลักษณะกลมเล็ก  เหนียว  มีสีเขียว  และเถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
- รากของย่านาง  เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
- ใบของย่านาง  เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
- ดอกของย่านาง  ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก  สีเหลือง  ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
- ผลของย่านาง  มีลักษณะกลมรี  เล็ก  สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง  รูปเกือกม้า


สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง  นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง  หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน  และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร  สำหรับการบริโภค  และ นำมาทำน้ำใบย่านาง  ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ  จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น  แคปซูลใบย่านาง  สบู่ใบย่านาง  แชมพูใบย่านาง  เครื่องดื่มสมุนไพร  เป็นต้น  เพื่อรักษาอาการผมหงอก  ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้  จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้  เช่น  แกงหน่อไม้  ซุบหน่อไม้  แกงอ่อม  แกงเห็ด  แกงเลียง  เป็นต้น

ย่านาง 
MulticollaC
เป็นพืชที่พบมากในบริเวณป่ารก  และป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และพบได้ในภาคอื่นๆ  ซึ่งเกิดจากมูลของสัตว์จำพวกนกนำไปแพร่กระจาย ย่านางนั้นเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน  และมีทนต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถปลูก และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด  หรือการแยกเหง้าปลูก  โดยไม่ต้องยกแปลหรือร่องก่อนปลูก

เมล็ดย่านางจะมีอัตราการงอกของเมล็ดสูง  แต่ต้องใช้เมล็ดที่แก่เต็มที่ที่มีลักษณะสีดำ  ซึ่งควรนำมาตากแห้ง  5-7  วัน ก่อนปลูก  การปลูกด้วยการหยอดเมล็ดต้องระวังอย่าขุดหลุมลึก  เพราะจะทำให้เมล็ดเน่าได้ง่าย


การปลูกย่านาง    ในระดับครัวเรือนส่วนมากเป็นการปลูกเพื่อเก็บใบ  และส่วนอื่นๆ  มาใช้ประโยชน์  โดยเฉพาะส่วนใบสำหรับนำมาประกอบอาหาร  และทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

การปลูกจะใช้วิธีการปลูกด้วยเมล็ด  ด้วยการหยอดเมล็ดในพื้นที่ว่างบริเวณสวนหลังบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนาตามคำแนะนำข้างต้น

การดูแลรักษาย่านาง    ไม่มียุ่งยากมาก  เนื่องจากย่านางเมื่อเมล็ดงอกแล้วจะเติบโตได้ดี  หากดินมีความชื้นเพียงพอ  และสามารถเติบโตได้ถึงแม้จะมีวัชพืชขึ้นหนา  เนื่องจากต้นย่านางจะสร้างเถาเลื้อยอยู่ด้านบนพืชชนิดอื่น

เมื่อย่านางเริ่มมีเถายาวจำเป็นต้องทำค้างด้วยไม้หรือกิ่งไม้สำหรับให้เถาย่านางเลื้อย  ด้วยการปักกิ่งไม้หรือเสาไม้บริเวณใกล้โคนต้น

การใส่ปุ๋ยย่านางนั้นไม่จำเป็น หากดินมีสภาพอินทรีย์วัตถุที่เพียงพอ เราสามารถใช้เพียงปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ 1 ถัง/ต้น ก็เพียงพอ แต่หากต้องการให้ใบเขียวเข้มมากขึ้น อาจต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 หรือปุ๋ยยูเรียเพิ่มในอัตรา 50-100 กรัม/ต้น หรือประมาณ 1 กำมือ สำหรับต้นที่แตกเถายาว ส่วนต้นขนาดเล็กต้องปรับปริมาณลดลง



ข้อมูลอ้างอิง : http://www.thaigoodview.com/  , https://beezab.com/

โพสต์โดย : POK@