Social :



กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

17 ก.ค. 59 23:22
กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)  เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน

 

สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า “ทุ่งมาล์โบโร” ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว

 

การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z

 

วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน

 

สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19แท่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งเมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

 

แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้อเท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น

 

แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำหใแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าเปห่งธรรมชาติทั้งหลาย

สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge)   ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศอังกฤษ  กลางทุ่งราบอันกว้างใหญ่ ในบริเวณที่เรียกว่า “ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่” ลักษณะของ สโตนเฮนจ์   จะเป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ยักษ์ ที่ประกอบด้วยแท่งหินจำนวน 112 ก้อน ทั้งหมดจะตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกันสามวง บางแท่งอาจตั้งขึ้น บางแท่งอาจวางนอน หรือบางแท่งอาจถูกวางซ้อนอยู่บน มองดูแปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่ง

ด้วนความประหลาดไม่เหมือนใคร และไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์การสร้างอย่างแน่ชัด ทำให้สโตนเฮนจ์กลายเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะ ‘กลุ่มหินประหลาด’ และหากพิจารณาถึงอายุของแท่งหินเหล่านี้ คาดการณ์ได้ว่า น่าจะถูกสร้างมานานกว่า

Lif
5,000 ปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ต่างตั้งคำถามว่าเหตุใด คนสมัยก่อนที่ปราศจากเครื่องมือทุ่นแรงเหมือนอย่างปัจจุบัน จึงสามารถแบกแท่งหินที่มีน้ำหนักมากถึง 30 ตัน ขึ้นไป มาวางซ้อนกันได้  และที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นก็คือ เหตุใดบริเวณที่ราบดังกล่าวจึงมีก้อนหินขนาดใหญ่โตเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันสันนิษฐานถึงต้นกำเนิดหรือที่มาในการเคลื่อนที่แท่งหินยักษ์ทั้งหมดว่ามาจากที่ไหน ซึ่งมีผู้ทำนายว่า น่าจะมาเป็นแท่งหินที่เคลื่อนย้ายมาจาก “ทุ่งมาล์โบโร” ซึ่งอยู่ถัดออกไปประมาณ 40 กิโลเมตร

กล่าวกันว่า การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์ใช้เวลาในการสร้างอย่างยาวนานถึง 3-4 ระยะ รวมเวลาประมาณ 1,500 ปี โดยกินเวลาตั้งแต่ยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้น แต่คาดการณ์ว่าการสร้างโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันนี้ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงมาบ้าง และกลายเป็นซากปรักหักพังอันแสดงถึงความรุ่งโรจน์ที่หลงเหลืออยู่ บางส่วนมีการหายไปบ้าง ในขณะที่บางส่วนก็ทับถมอยู่ใต้ดิน

นักประวัติศาสตร์คาดคะเนว่าการก่อสร้าง สโตนเฮนจ์ น่าจะเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนปีคริสต์กาล หรือผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าประมาณ 3,800 ปี วิธีการสร้างเริ่มจากการขุดหลุมเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ให้ได้ 56 หลุม และเรียงตัวกันเป็นวงกลม  หลุมเหล่านี้ที่เป็นวงกลุ่ม จะเรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ที่เรียกตามชื่อของจอห์น ออบรีย์ ผู้ค้นพบ สโตนเฮนจ์ ในปีคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจจุบันหลุมทั้งหมดถูกปิดด้วยปูบซีเมนต์ มีเพียงหินฮีล (Heel Stone) ซึ่งเป็นหินแท่งแรก ที่ยังคงประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินในลักษณะเดิม ส่วนหลุมที่ขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงภายใน ถูเรียกชื่อว่าหลุม Y และหลุม Z

วงหลุมทั้งสองนี้อยู่ระหว่าง ‘วงหลุมออบรีย์วงนอก’ และ ‘วงแท่งหินตรงใจกลางขนาดใหญ่’ สันนิษฐานกันว่า วงหลุม Y และ Z อาจมีความสัมพันธ์กับการศึกษาทางดาราศาสตร์ เมื่อราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล ได้มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) จากแคว้นเวลส์ จำนวน 80 ก้อน มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกัน แต่ต่อมา ก็ได้นำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหินซาร์เซน(sarsen) vudจำนวน 30 แท่ง มาเรียงเป็นวงกลมหนึ่งวงแทนที่วงหินสี่น้ำเงินวงนั้น

สองวงเดิมที่อยู่ภายในวงหินทราย มีหมู่หินเรียงกันคล้ายรูปเกือกม้า  ส่วนหมู่ที่อยู่ด้านนอกซึ่งประกอบไปด้วยหินทรายสร้างเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม (Trilithon หมายถึง กลุ่มหินสามแท่ง โดยสองแท่งวางในแนวตั้งขึ้น ส่วนอีกแท่งวางพาดหินสองก้อนแรกในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านใน ประกอบไปด้วยหินขัดสีน้ำเงิน 19แท่ง

สโตนเฮนจ์ ถือเป็นสถาปัตยกรรมอันแสนน่าทึ่ง เมื่อพิจารณาถึงที่มาหรือเครื่องมือในการสร้างหรือการขุดดิน ที่อยู่ในยุคหินใหม่ ก็เป็นเพียงเสียมที่ผลิตจากเขากวางแดงเท่านั้น ส่วนที่มาของชื่อ สโตนเฮนจ์ ได้มาจากการที่ชาวแซกซันตั้งให้ ซึ่งสโตนเฮนจ์ แปลความได้ว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ในขณะที่บันทึกในสมัยกลาง มีการตั้งชื่อวงหินนี้ว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)

แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะลงความเห็นในทำนองเดียวกันว่า โตนเฮนจ์เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ลี้ลับ และยังไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้มีไว้เพื่อใช้ทำอะไร มีแต่เพียงการเสนอข้อสันนิษฐานต่าง ๆ  เช่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปนิกที่ชื่อ อิ นิโก โจนส์ เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เคยเป็นเป็นซากของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 กลับยืนยันว่าซากสโตนเฮนจ์เป็นวิหารที่พวกลัทธิดรูอิด ใช้ประกอบพิธีบูชายัญมนุษย์ และบูชาพระอาทิตย์ แต่ความคิดเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นจริง เพราะสโตนเฮนจ์ถูกสร้างเสร็จมาอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวแล้ว จนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20  มีนักโบราณคดีบ่งบอกถึงข้อเท็จจริงบ้างอย่าง พวกเขาสามารถคำนวณอายุ และสรุปจุดประสงค์ของการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมาได้อย่างน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม  ข้อมูลความจริงที่ปรากฎยังมีอยู่ไม่มากนัก กล่าวว่า หินซาร์เซนที่เรียงกันในแนววงนอกมีความสูงประมาณ 5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 26 ตัน หินเหล่านี้น่าจะถูกย้ายมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs) ซึ่งไกลออกไปประมาณ 32 กิโลเมตร จากนั้น ก็นำมาขัดแต่ง สลัก และเดือยอย่างประณีต ทำให้แท่งหินที่ตั้งที่พื้นและแท่งหินที่เป็นคานหินสามารถอยู่ได้ยาวนานอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งมีน้ำหนักมากถึงสี่ตัน น่าจะนำมาจากภูเขาพรีเซลีในแคว้นเวลส์ทางตะวันตกเฉียงใต้  และคาดการณ์ว่า ลำเลียงมาโดยใช้แพแล้วล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน เมื่อมาถึงฝั่งก็ชักลากกันต่อมา

นักโบราณคดีโดยมากเห็นว่า สโตนเฮนจ์น่าจะเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีฝั่งศพ ซึ่งพิจารณาจากหลักฐานการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม ที่มีลักษณะใกล้เคียงสโตนเฮนจ์ แต่ก็ยังปรากฎหลักฐานคัดค้าน ว่าหลุมดังกล่าวในบริเวณนี้ น่าจะถูกขุดขึ้นมาก่อนจะมีการเผาศพ หรือบ้างก็คาดคะเนกันว่า หลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีไหว้ด้วยสุรา อาธิ การบวงสรวงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติทั้งหลายด้วยการเทเหล้าองุ่นลงในหลุม

อีกหนึ่งข้อสันนิษฐาน ก็คือ วงหินสโตนเฮนจ์อาจจะเคยเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวง เนื่องจากมีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งอ้างว่าตนสามารถถอดรหัสของแนวหินสโตนเฮนจ์ได้ โดยเขาได้เสนอความคิดว่า สโตนเฮนจจ์ คือ เครื่องมือคำนวญที่คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์สร้างขึ้นแทนปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เนื่องจาก แนวหินกลุ่มก้อนต่าง ๆ สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของระบุสุริยจักวาล ทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีหลักฐานการคำนวณทางตัวเลขและสถิติมาสนับเสนุนข้อเท็จจริง แต่ความลับของหินสโตนเฮนจ์ก็ยังคงรอการไขปริศนาต่อไป เพราะยังไม่มีใครทราบที่มาของการสร้างอย่างแท้จริง

โพสต์โดย : nampuengeiei9760