Social :



เทคนิคการดูแลสวนยางพารา ในช่วงหน้าแล้ง

29 มี.ค. 62 11:03
เทคนิคการดูแลสวนยางพารา ในช่วงหน้าแล้ง

เทคนิคการดูแลสวนยางพารา ในช่วงหน้าแล้ง

เทคนิคการดูแลสวนยางพารา ในช่วงหน้าแล้ง

ใน ช่วงหน้าแล้ง ของทุกปี  มักประสบปัญหาไฟไหม้สวนยาง  และ ต้นยาง ชะงักการเจริญเติบโต  โดยเฉพาะสวนที่ปลูกใหม่ในภาคอีสาน  ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะลดน้อยลง  และสามารถป้องกันได้ถ้าเจ้าของสวนยางมีการจัดการดูแลที่เหมาะสมอย่าสม่ำเสมอ

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร   จึงได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การจัดการดูแลสวนยางในช่วงฤดูแล้ง   ไว้เป็นแนวทางให้เกษตรกรนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากสภาวะแล้งไว้  ดังนี้


การคลุมโคน ต้นยางพารา   :  การคลุมโคนต้นยางพาราเป็นวิธีการที่จะเป็นต้องปฏิบัติต่อต้นยางอ่อนอายุ  1-3  ปีก่อนเข้าฤดูแล้ง  ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปลูกสร้างสวนยางของเกษตรกร  คือ 
1. ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน
2. ทำให้ต้นยางรอดตายสูงกว่าการไม่คลุมโคน
3. ช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตดีขึ้น
4. วัสดุที่ใช้คลุมโคนจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

วัสดุที่เลือกใช้คลุมโคนต้นยาง ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องงถิ่นและมีปริมาณมาก  ต้นทุนต่ำ  และมีประสิทธิภาพดี  เช่น  เศษซากวัชพืช  ซากพคลุม  หญ้าคา  ฟางข้าว  เป็นต้น

ควรคลุมโคนก่อนเข้าหน้าแล้วประมาณ  1  เดือน  ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่  สามารถทำได้  2  วิธี ดังนี้ 
1. คลุมบริเวณโคนต้นยาง ให้เป็นวงกลม  ห่างจากต้นยาง  5-10  ซม.  หรือประมาณ  1  ฝ่ามือ มีรัศศมีคลุมพื้นที่รอบโคนต้นประมาณ 1
MulticollaC
เมตร หนา 10 ซม.
2. คลุมตลอดแถวยาง   วิธีนี้เหมาะสำหรับสวนที่หาวัสดุคลุมดินได้ง่าย มีปปริมาณมากและมีแรงงานเพียงพอ ควรคลุมให้ตลอดแถวยางจากโคนคลุมพื้นที่ออกไปข้างละ  1  เมตร  หนา  10  ซม. 

** ข้อควรระวัง ** การคลุมดคนต้นยางในหน้าแล้ง วัสดุอาจติดไฟได้ง่าย ควรระวังเหตุที่จะเกิดไฟไหม้ด้วย


การป้องกันการไหม้จากแสงแดด :
ต้นยางที่ปลูกในเขตแห้งแล้งมักจะปรากฎรอยไหม้จาแสงแดด  ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อส่วนนั้นได้รับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกันจนเสียหาย ไม่สามรถภเจริญเติบโตต่อไปได้  จึงเกิดเป็นรอยแผลขนาดต่รางๆ  ดังนั้นต้นยางอ่อนอายุ 1-2 ปี เมื่อเข้าหน้าแล้ง  ควรใช้ปูนขาวละลายน้ำทาบริเวณโคนสูงจากพื้นดิน  1  เมตร เพื่อป้องกันความรุนแรงของแสงแดด

สำหรับรอยแผลที่เกิดขึ้นให้แก้ไขโดมใช้สีน้ำมันทาปิดทับในขณะที่สำรวจพบทันทีและทาปิดทับอีกครั้งก่อนจะเข้าฤดูแล้งในปีถัดไป




ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@