Social :



ทำความรู้จักกับประโยชน์ และวิธีการปลูกบอระเพ็ด

11 พ.ค. 62 11:05
ทำความรู้จักกับประโยชน์ และวิธีการปลูกบอระเพ็ด

ทำความรู้จักกับประโยชน์ และวิธีการปลูกบอระเพ็ด

ทำความรู้จักกับประโยชน์ 
และวิธีการปลูกบอระเพ็ด

บอระเพ็ด   (Heart  leaved  moonseed)  เป็นไม้เถาให้รสขมจัดที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยารักษาโรคทั้งในคน  และสัตว์  อาทิ  ยารักษาโรคเบาหวาน  แก้อาการอักเสบ  และลดไข้  เป็นต้น

การแพร่กระจาย
บอระเพ็ด  เป็นพืชเถาที่ได้ในทุกภาค  โดยจะพบมากในป่าดงดิบ  และป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างชื้น  บริเวณพุ่มให้หรือต้นไม้ใหญ่ที่มักพบเป็นเถาสีเขียวเข้มพาดเลื้อยตามต้นไม้อื่น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อน  ขนาดเถา  1-1.5  เซนติเมตร  และยาวได้มากกว่า  10  เมตร  เถามีผิวตะปุ่มตะป่ำเป็นตุ่มนูนทั่วเถา  และมีรากอากาศคล้ายเส้นเชือดขนาดเล็ก และยาวแทงออก  โดยเฉพาะบริเวณโคนเถา  เถามีเปลือกสีเขียวเข้ม เปลือกที่มีอายุมากจะลอกออกเป็นเยื่อบางๆ  สีเหลือง  เมื่อกรีดเถาจะมีน้ำยางสีเหลืองไหลออกมา เนื้อด้านในหรือแก่นมีสีเหลือง  มีรสขมจัด

ใบ
ใบบอระเพ็ด  เป็นพืชใบเลี้ยงคู่  แตกออกเป็นใบเดี่ยว  เรียงสลับกันบนลำต้นหรือเถา  ใบมีรูปไข่ มีฐานใบเป็นรูปหัวใจที่เว้าตรงกลาง  คล้ายใบพลู  แผ่น  และขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง  และอ่อนนุ่ม  ฉีกขาดได้ง่าย ปลายใบมีหยัก  แผ่นใบมีเส้นใบสีเหลืองลากผ่านจากโคนใบไปขอบใบ  5-7  เส้น  ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน เมื่อใบมีอายุมากจะมีสีเขียวเข้ม และมีขนปกคลุมห่างๆ ส่วนท้องใบจะมีสีเขียวนวล

ดอก
ดอกบอระเพ็ดแทงออกเป็นช่อ ตามซอกใบ  ช่อยาว  5-20  เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแยกเพศ  แต่อยู่ในก้านช่อดอกเดียวกัน  ดอกมีขนาดเล็ก  ประกอบด้วยกลีบรองดอก  6  กลีบ และกลีบดอกสีเหลืองอ่อน  6  กลีบ  ส่วนตรงกลางเป็นเกสรตัวเมียสีขาว  และเกสรตัวผู้  6  อัน

ผล  และเมล็ด
ผลบอระเพ็ดมีลักษณะกลมรี  มีเปลือกบางๆ  หุ้มผล  ผลอ่อนมีสีเขียว  และเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง


1. ทุกส่วนของบอระเพ็ดใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยารักษาโรค
2. น้ำสกัดหรือน้ำต้มจากบอระเพ็ดใช้ฉีดพ่นกำจัด  และป้องกันหนอนแมลงศัตรูพืช  อาทิ 
Lif
หนอนใยผัก  และเพลี้ยต่างๆ  เป็นต้น
3. ลำต้น  และใบใช้ผสมในอาหารสัตว์หรือให้สัตว์กินโยตรง  เพื่อให้สัตว์มีร่างกายแข็งแรง  และรักษาโรคในสัตว์  ทั้งโค  กระบือ  สุกร  ไก่  และอื่น  ซึ่งชาวบ้านนิยมให้ไก่ชนกินในระยะก่อนออกชน
4. ลำตัน  และใบนำมาบด  และใช้พอกศรีษะหรือสระผม สำหรับกำจัดเหา

การศึกษาใช้สารสกัดจากบอระเพ็ดให้แก่หนูขาว ขนาดเข้มข้น  1.28  กรัม/น้ำหนักตัว  1  กิโลกรัม  หรือประมาณ  9.26  กรัม  ของผงบอระเพ็ดแห้ง  เป็นเวลานาน  6  เดือน พบว่า  ค่าทางโลหิตวิทยาของหนูขาวไม่มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ทั้งนี้ พบรายงานหลายฉบับที่รายงานว่า  การรับประทานบอระเพ็ดปริมาณมากหรือติดต่อกันนาน  อาจจะทำให้เกิดสภาพความเป็นพิษต่อไต  และตับได้  อาจเนื่องจาก  อวัยวะเหล่านี้จะต้องขับ  และกำจัดสารหรือเกิดการสะสมของสารต่างๆไว้มาก


การปลูกบอระเพ็ดสามารถปลูกได้  2  วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง

การเพาะเมล็ดนั้นจะต้องใช้เมล็ดจากผลที่สุกจัด  ผลมีสีเหลืองเข้ม  ยิ่งเป็นผลที่ร่วงแล้วยิ่งดี  จากนั้น  นำผลมาตากแดดให้แห้ง นาน  15-20  วัน  และเก็บไว้ในร่มก่อนจนถึงต้นฤดูฝนจึงนำออกมาเพาะในถุงเพาะชำหรือใช้หยอดปลูกตามจุดที่ต้องการ การปลูกด้วยเมล็ดนี้  จะได้เครือบอระเพ็ดที่ใหญ่ยาวมากกว่าการปักชำ

การปักชำเถา เป็นวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว  ด้วยการตัดเถาบอระเพ็ดที่แก่จัด  เถามีอายุตั้งแต่  1  ปี  ขึ้นไป  ตัดเถายาว  20-30  เซนติเมตร  หลังจากนั้น ค่อยนำลงปักชำในถุงหรือกระถาง  วิธีนี้ จะได้ต้นที่งอกใหม่ภายใน  15-30  วัน  แต่ลำต้นมักมีเครือไม่ยาวเหมือนการเพาะเมล็ด  แต่ไม่แตกต่างกันมากนัก




ข้อมูลอ้างอิง  :   https://puechkaset.com/

โพสต์โดย : POK@