Social :



เทคนิคการปลูก และดูแลขมิ้นชัน ให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด

25 มิ.ย. 62 13:06
เทคนิคการปลูก และดูแลขมิ้นชัน ให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด

เทคนิคการปลูก และดูแลขมิ้นชัน ให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด

เทคนิคการปลูก  และดูแลขมิ้นชัน
ให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด  

ขมิ้นชัน   เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิงข่า  เป็นพืชล้มลุก  มีอายุหลายปี  มีลักษณะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน  สั้นกลมรูปไข่  มีแขนงทรงกระบอกแทงออกมาสองด้าน  เปลือกสีเหลืองอ่อน  เนื้อในสีเหลืองเข้ม  กลิ่นหอมฉุน/ใบ  เป็นใบเดี่ยว สีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายหอก  แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน เรียงซ้อนกัน/ดอก มีลักษณะเป็นช่อ  เป็นทรงกระบอก  คล้ายดอกกระเจียว  แทงออกมาจากเหง้า  กลีบดอกมีหลายสี  แต่ที่พบมากคือ   สีขาว  เหลือง  แดง  เขียว


ขมิ้นชัน  สามารถเจริญเติบโตได้ทุกภาคในประเทศไทย  แถมเติบโตได้ดีในที่ดอน  พื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นที่ดอน  น้ำไม่ท่วมขังมาก การปลูก  ขมิ้นชัน  สร้างรายได้  จะต้องเป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง  เพราะเป็นพืชไม่ชอบน้ำมากนั่นเอง

ข้อดีอีกอย่างคือ  ขมิ้นชัน  มีโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก  มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ  8  ถึง  9  เดือน  แน่นอนว่า  ถ้ามีพืชไม้ยืนต้นอย่างมะม่วง ทุเรียน  หรือผลไม้อื่นๆ  สามารถใช้ขมิ้นชันปลูกแซมตามร่อง  พื้นที่ว่างต่างๆ  หรือในกระถาง  รอบๆ  บ้าน  ก็สามารถสร้างรายได้หลักแสนได้ง่ายๆ

สายพันธุ์ ขมิ้นชัน  ที่แนะนำปลูก เพื่อสร้างรายได้
พันธุ์ตรัง  1 (ขมิ้นทอง)  และ  พันธุ์ตรัง  84-2 (ขมิ้นด้วง)

โดย  แนะนำให้ปลูกในฤดูกาลที่เหมาะสม  คือ  ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน  ประมาณปลายเดือนเมษายน  ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากลดอัตราการให้น้ำลง หากมีฝนตกชุก ควรเลือกพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง  สภาพดินปลูกควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีด้วย  หากเป็นดินเหนียว  ควรผสมกับ  ปุ๋ยอินทรีย์  ก่อนเพื่อให้เกิดการระบายน้ำได้ดีขึ้น  และดินไม่แข็งเกินไป เมื่อปลูกแล้วจะสามารถเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นในช่วงฤดูหนาว  คือประมาณปลายเดือนธันวาคม  ถึงเดือนมกราคม  ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท  และสีสันสวยงาม  เป็นที่ต้องการของตลาด

หามีพื้นที่ปลูกมาก  ควรเตรียมดิน  เพื่อทำการปลูกขมิ้นชัน  ในแปลงปลูก พร้อมรับเงินแสน ด้วยการไถพรวนก่อนช่วงฤดูฝน  หลังพรวนดินเสร็จ ให้ย่อยดินให้เล็กลง ไถยกร่องปลูกระยะระหว่างแถว  75-80  เซนติเมตร  ระยะระหว่างต้น  30  เซนติเมตร  การปลูกขมิ้นชัน  อาจใช้ท่อนพันธุ์ได้  2  ลักษณะคือ  ใช้หัวแม่  และใช้แง่ง  ฝังลงในดิน


การปลูกขมิ้นชันโดยใช้หัวแม่   รูปร่างคล้ายรูปไข่นั้น  ให้เลือกขนาดน้ำหนักประมาณ  15  ถึง  50  กรัมต่อหัว  หัวแม่นี้สามารถให้ผลผลิตประมาณ  3,300  กิโลกรัม  ต่อไร่ ที่ระยะปลูก  75×30  เซนติเมตร  ถ้าใช้หัวแม่ขนาดเล็กลง จะลดลงไปตามสัดส่วน

การปลูกขมิ้นชันด้วยแง่ง   ขนาด  15  ถึง  30  กรัม/ชิ้น  หรือ  7  ถึง  10  ปล้อง  ต่อชิ้น  จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 
Lif
2,800  กิโลกรัม ต่อไร่

ก่อนนำท่อนพันธุ์ลงปลูก  เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกำจัดเพลี้ย  ซึ่งอาจติดมากับท่อนพันธุ์  และมักจะระบาดมากขึ้นในช่วงปีที่  2  และ  3  ของการปลูก  ให้นำท่อนพันธุ์ไปแช่ในน้ำยากันเชื้อราและยาฆ่าเพลี้ย  นานประมาณ  30  นาที  แล้วยกขึ้นผึ่งลมให้แห้ง

ขุดหลุมลึกพอประมาณ  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  หรือปุ๋ยชีวภาพก่อน ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่  หรือตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน  วางท่อนพันธุ์ลงในแปลง กลบดินหนาประมาณ  5  ถึง  10  เซนติเมตร รดน้ำพอชุ่ม  ซึ่งขมิ้นชันจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ  30  ถึง  70  วันหลังปลูก  ระยะนี้ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยวันละ  1  ครั้ง  ในช่วงเช้าพอชุ่ม

หากฝนทิ้งช่วงไปขณะที่ขมิ้นชันยังมีขนาดเล็กอยู่  ให้รดน้ำพอชุ่ม หรืออาจใช้วัตถุคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำ  เมื่อต้นโตแล้ว  และในช่วงฤดูฝน  ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำอีก


ต้องคอยขยันกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น  ขมิ้นชันหลังจากงอกแล้ว  จะเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชไม่ได้  เมื่อกำจัดวัชพืชครั้งที่  2  ควรพรวนดินกลบโคน  กำจัดวัชพืชเป็นประจำเมื่อพบเห็น  กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย

โรค  และแมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่   ขมิ้นชันจะไม่มีแมลงมากนัก  สาเหตุที่พบมากคือ  การให้น้ำมากเกินไปทำให้เกิดการเน่าของหัวขมิ้น  หรือเกิดจากน้ำท่วมขังเวลานานหลายวัน  อีกสาเหตุคือ  เกิดจากการปลูกซ้ำที่เดิมหลายครั้ง  ทำให้เกิดการสะสมโรค โรคที่พบทั่วไปคือ  โรคเหง้าและรากเน่า  ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  โรคต้นเหี่ยว และโรคใบจุด  เกิดจากเชื้อรา  แก้ปัญหาได้ด้วยการแช่น้ำยากันเชื้อราก่อนนำมาปลูก เพราะเมื่อโรคเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว  จะรักษายากมาก  ไถทิ้ง  และนำไปเผาอย่างเดียว

เมื่อระยะเวลาเก็บเกี่ยวมาถึง  ให้นำหัวขมิ้นชันมาล้างด้วยน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากออกให้หมด แล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ  นำไปตากแดด  หรืออบแสงอาทิตย์ในตู้อบ  ที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้  และเมื่อแห้งสนิทแล้ว บรรจุถุงปิดให้สนิท โดยขมิ้นสด 5 กิโลกรัม  จะได้ขมิ้นแห้งประมาณ  1  กิโลกรัม  ถ้าต้นขมิ้นมีความสมบูรณ์  จะเก็บเกี่ยวได้ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจะได้รายได้ประมาณ  50,000 – 80,000  บาทต่อไร่ เพราะขมิ้นชันอบแห้ง  ราคาประมาณ  300  บาทต่อกิโลกรัม  ส่วนขมิ้นชันแบบบดเป็นผงจะอยู่ที่  500  บาทต่อกิโลกรัม







ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.kasetorganic.com

โพสต์โดย : POK@