Social :



เทคนิคการดูแลสวนมังคุดอินทรีย์ ให้ได้ผลผลิตดี ปลอดภัยจากโรค และแมลง

08 ก.ค. 62 11:30
เทคนิคการดูแลสวนมังคุดอินทรีย์ ให้ได้ผลผลิตดี ปลอดภัยจากโรค และแมลง

เทคนิคการดูแลสวนมังคุดอินทรีย์ ให้ได้ผลผลิตดี ปลอดภัยจากโรค และแมลง

เทคนิคการดูแลสวนมังคุดอินทรีย์
ให้ได้ผลผลิตดี ปลอดภัยจากโรค และแมลง

คุณสุรศักดิ์  ขุมทอง  เป็นเกษตรกรที่จบทางด้านเกษตรมา มีความรู้ทางด้านวิชาการแต่เนื่องจาก  มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่  ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ของผู้ใหญ่สมศักดิ์  เครือวัลย์ (เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด  จ.ระยอง)  จึงทำให้เปลี่ยนแนวคิดหันมาสนใจทางด้าน เกษตรอินทรีย์     จากที่คิดว่า การไปศึกษาดูงานในครั้งนั้นต้องอยู่ได้ไม่เกิน  1  วันแน่ๆ  แต่พอไปฟังวิทยากร  ไปดูฐานการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้เกิดแนวคิดอยากจะนำกลับมาปรับเปลี่ยนในสวนผลไม้ของแม่ยาย ซึ่งใช้สารเคมีในการทำเกษตรมานาน จึงนำความรู้ที่มีผนวกกับสิ่งที่ได้รับจากศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติของผู้ใหญ่สมศักดิ์  มาผสมผสาน  ทำสวนผลไม้แบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเริ่มต้นจากสวนตัวเอง  และยังได้นำความรู้นั้นไปถ่ายทอดและแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านและคนในชุมชนอีกด้วย  จากการพูดคุยกับคุณสุรศักดิ์  มี  3  เรื่องที่น่าสนใจ และได้นำมาแบ่งปัน  ติดตามได้ในรายละเอียด


ใช้หลักสำคัญคือการจัดการระบบนิเวศน์ในสวนให้สมดุล  และเหมาะสมแก่การผลิต มังคุด   ให้มีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารเคมีรวมทั้งช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสวนดีขึ้นเนื่องจากแต่เดิมนั้นในสวนมีการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลานานถึง  30  ปี  ทั้งยาฆ่าหญ้า ,ยาฆ่าแมลงรวมทั้งปุ๋ยเคมี  ทำให้ดินมีสภาพแข็งแน่น  พบโรคและแมลงระบาดเป็นประจำ

การจัดการกระทำโดยดึงเอาสิ่งที่ธรรมชาติให้มา  นำมาจัดการให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  อย่างเช่นการจัดการหญ้าให้สัมพันธ์กับการจัดการแมลง,  การตัดแต่งทรงพุ่มให้สัมพันธ์กับการรับแสงแดดของต้นมังคุด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณภาพโครงสร้างของดินและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ในดินรวมทั้งปรับปรุงสภาพทางเคมีของแร่ธาตุอาหารต่างๆ  ให้เหมาะสม  และรากสามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้

สรุป  คือ   จัดการให้  แดดถึงดิน  ปุ๋ยพอ  และแมลงสมดุล  นี่คือการจัดการสวนมังคุดอินทรีย์ในบริเวณสวน  นายสุรศักดิ์  ขุมทอง
ผลที่จะได้รับ :   ได้มังคุดดี  ปลอดสารเคมี  และสุขภาพดี  สภาพแวดล้อมดี


การจัดการสวนในรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละสวนอาจจะปฏิบัติไม่เหมือนกัน  เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน ชาวสวนแต่ละท่านจึงควรศึกษา  และทดลองให้ได้วิธีการที่เหมาะสมกับสวนของท่านก่อนและเมื่อแน่ใจแล้วปฏิบัติจนถึงปรับปรุงให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป  ที่สำคัญ  คือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชาวสวน  การเปิดใจกว้างรับรู้สิ่งใหม่ๆ  และทดลองกระทำให้แน่ใจก่อนปฏิบัติจริง

การให้ปุ๋ยและสมุนไพรไล่แมลง 
ช่วงเดือน  มิ.ย.-ก.ค.  :  หลังการเก็บเกี่ยว ต้องเตรียมต้นให้พร้อมต่อการแตกใบอ่อนในช่วงเดือน  ส.ค.-ก.ย.

การจัดการทางกายภาพ  :  ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งแสงส่องได้ทั่วถึง  โดยเฉพาะในด้านที่รับแสงตะวันออก - ตะวันตก  ควรตัดแต่งกิ่งบางกิ่งออก  กรณีต้นที่มีอายุมากไม่สะดวกต่อการดูแล - เก็บเกี่ยวก็สามารถตัดส่วนยอดออกได้

การให้ปุ๋ยทางดิน  :   ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์รอบทรงพุ่มและพ่นหรือราดทับด้วยปุ๋ยน้ำ  ชีวภาพเพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น  และเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้มังคุดพร้อมสำหรับการแตกใบใหม่

สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพพ่น/ราดพื้น :
** อัตราการใช้ต่อน้ำ  200  ลิตร  ใช้ฉีดพ่นทุกๆ  7-15  วัน 
-ปุ๋ยบำรุงต้น - ใบ  900 - 1000 
MulticollaC
ซีซี. (ปุ๋ยหมักปลาหรือหมักจากส่วนสีเขียวของพืช)
-ปุ๋ยบำรุงดอก-ผล  100 - 200  ซีซี. (ปุ๋ยหมักจากผลไม้สีเหลืองหรือผลไม้อื่นๆ )
-น้ำส้มควันไม้  200- 250  ซีซี.

การให้ปุ๋ยทางใบและสมุนไพร  ไล่แมลง  :   พ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรบำรุงต้น  ใบ (ปุ๋ยหมักปลาหรือหมักจากส่วนสีเขียวของพืช)  ให้มังคุดจนกระทั่งใบแก่แล้วจึงเปลี่ยนไปใช้สูตรเร่งตาใบที่หมักจากยอดพืชกับสมุนไพรไล่แมลงเพื่อควบคุมจัดการไม่ให้แมลงรบกวนใบอ่อน


สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพพ่นใบ
**อัตราต่อน้ำ  200  ลิตร  ทุกๆ  15  วัน
- ปุ๋ยบำรุงต้น-ใบ  หรือปุ๋ยเร่งตาใบ  300 - 500  ซีซี.
- สมุนไพรไล่แมลง  300 - 500  ซีซี.
- น้ำส้มควันไม้  200 - 250  ซีซี.
*กรณีที่ฝนตกชุก ทรงพุ่มแน่นทึบอาจเกิดเชื้อราได้ให้เพิ่มสมุนไพรกันราเข้าไปในส่วนผสมด้วย
- ปุ๋ยเร่งตาใบ  300 - 500 ซีซี.(ปุ๋ยหมักจากส่วนยอดของพืช)
- สมุนไพรไล่แมลง  200 - 300  ซีซี.
- สมุนไพรกันรา  200 - 300  ซีซี.
- น้ำส้มควันไม้  100 - 200  ซีซี.
(ถ้าไม่มีสมุนไพรกันราสามารถเพิ่มใช้น้ำส้มควันไม้ลงไปทดแทนได้ แต่อัตราความเข้มข้นรวมไม่ควรเกิน 1000 ? 1200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร)

** กรณีใช้ปุ๋ยปลาควรระวังเรื่องความเข้มข้นให้มากเนื่องจาก ส่วนใหญ่ปลาที่ใช้ในภาคตะวันออกมักจะใช้ปลาทะเลซึ่งมีความเค็มมาก อาจทำให้ใบไหม้ได้








ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@