Social :



เทคนิคการเพาะ เห็ดโคนน้อย

12 ก.ค. 62 11:07
เทคนิคการเพาะ เห็ดโคนน้อย

เทคนิคการเพาะ เห็ดโคนน้อย

เทคนิคการเพาะ เห็ดโคนน้อย

เห็ดโคนน้อย   หรือ   เห็ดโคนเพาะ   ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ  " เห็ดถั่ว "   นั่นเอง  แต่เป็นคนละชนิดกับเห็ดโคนปลวก เห็ดถั่วเป็นเห็ดที่เรารู้จักกันมานานแล้ว  และสามารถที่จะนำไปเพาะเพื่อเป็นการค้าก็ได้  เห็ดโคนน้อยนี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด  เช่น  เห็ดถั่วทอง (กาญจนบุรี)  เห็ดโคนน่านหรือเห็ดโคนขาว  (ลำปาง  แม่ฮ่องสอน)  เห็ดคราม (ขอนแก่น  มหาสารคาม)  เป็นต้น  การตั้งชื่อเห็ดโคนน้อย ก็เพื่อเป็นจุดขาย  และปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับกันในวงการเพาะเห็ด


เห็ดโคนน้อย (เห็ดถั่ว)   เป็นเห็ดที่เพาะง่าย  และให้ผลผลิตที่สูง มีรสชาติอร่อย จึงเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างมากขึ้น  จากเดิมที่บริโภคเฉพาะในท้องถิ่น  เราสามารถนำมาบริโภคได้ภายใน  5-7  วันนับจากวันที่เริ่มเพาะเห็ด  โดยใช้  ฟางข้าว  เป็นวัสดุเพาะ  นอกจากนี้ยังสามารถที่จะใช้วัสดุเพาะอื่น ๆ  เพาะได้อีกมาก  ไม่ว่าจะเป็นต้นและใบถั่วต่าง ๆ  ต้นและซังข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน  ผักตบชวา  ต้นและใบกล้วยที่นำมาหมักให้ย่อยสลายบางส่วน  ซึ่งสามารถที่จะนำมาเป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น  และเป็นวัสดุเพาะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  การเพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนสามารถทำได้ง่ายๆ โดยวิธีการเพาะแบบกอง  ไม่จำเป็นต้องเพาะในโรงเพาะเห็ด

1. วัสดุใช้ในการเพาะเห็ดโคนน้อย (เห็ดถั่ว) เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด เปลือกมันสำปะหลัง ผักตบชวา ต้นหรือใบกล้วยแห้ง ทะลายปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
2. ไม้แบบหรือกระบะเพาะ ขนาดที่มีความกว้าง 30 ยาว 50 สูง 30 เซนติเมตร หรือทำจากแผ่นโลหะก็ได้
3. ก้อนเชื้อเห็ดโคนน้อย จะต้องเป็นเชื้อที่บริสุทธิ์ แข็งแรง และเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาแล้ว
4. อาหารเสริมใส่ให้กับเห็ดโคนน้อย โดยใช้ปุ๋ยยูเรียในอัตราการใช้ 0.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 70 ลิตร
5. อุปกรณ์การต้มน้ำ ได้แก่ ถังน้ำมัน 200 ลิตร หรือหม้อต้ม และเชื้อเพลิง อาจใช้ฟืนหรือก๊าซหุงต้มก็ได้
6. เชือกสำหรับมัดฟางข้าว
7. พลาสติกสำหรับคลุมกองวัสดุเพาะเพื่อปรับอุณหภูมิที่เราต้องการ และเป็นการบ่มกองวัสดุเพาะด้วย


วิธีการเพาะเห็ดโคนน้อย    อัดวัสดุเพาะในกระบะหรือแบบพิมพ์  เสร็จแล้วอัดฟางให้แน่นแล้วนำเชือกมามัดฟางให้เป็นก้อน  หรือจะกะน้ำหนักให้ได้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ต่อมัด หลังจากนั้น  ต้มน้ำแล้วละลายอาหารเสริมในน้ำที่เดือด ที่อุณหภูมิประมาณ  80-90  องศาเซลเซียส  หรือพอน้ำเดือด จึงนำวัสดุเพาะฟางข้าวที่มัดเป็นก้อนจุ่มลงไป  ในน้ำทิ้งเอาไว้นาน 
MulticollaC
5-10  นาที  เพื่อให้อาหารเสริมได้ซึมเข้าไปในวัสดุเพาะ  และเป็นวิธีที่ช่วยกำจัดโรคและแมลง และวัชพืชเห็ดต่างๆ  อีกด้วย  จากนั้น  นำขึ้นแล้วปล่อยให้เย็นลง ใส่เชื้อเห็ดลงไป

ถ้าใส่เชื้อเห็ดในขณะที่วัสดุเพาะที่ยังร้อนอยู่จะทำให้เชื้อเห็ดตายได้  ยีก้อนเชื้อเห็ดให้กระจายออก  นำมาผสมกับรำข้าวในอัตราส่วน  1:1  แล้วหยอดเชื้อเห็ดเป็นจุด ๆ  รอบๆ  กองวัสดุเพาะ  แต่ละจุดห่างกัน  10-15  เซนติเมตร และต้องลึกลงไปในวัสดุเพาะ  1  นิ้ว  ใช้มือหรือไม้ทำเป็นรูใส่เชื้อเห็ดก็ได้ หลังจากนั้น นำพลาสติกมาคลุมที่กอง  ใช้พลาสติกสีดำหรือสีฟ้าก็ได้  โดยพลาสติกจะเป็นตัวที่จะดึงดูดแสงและควบคุมอุณหภูมิได้ดี

จากนั้นคลุมด้านบนอีกชั้นด้วยกระสอบป่านหรือฟางข้าวก็ได้  เพื่อให้เกิดความร้อนภายในกองวัสดุเพาะ  เชื้อเห็ดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ  35-45  องศาเซลเซียส  ระยะนี้  ไม่จำเป็นจะต้องนำอากาศเข้าไปในกองเห็ด  เส้นใยเห็ดโคนน้อยจะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว โดยปกติ  4-5  วัน  เส้นใยเห็ดจะเจริญได้ทั่วทั้งวัสดุเพาะแล้ว


การกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดโคนน้อยเกิดดอก  ต้องยกวัสดุคลุมกองให้สูงขึ้นกว่าในตอนแรก  เนื่องจากเวลาเกิดดอกแล้วจะติดอยู่กับพลาสติกที่คลุมอยู่และเป็นการสะดวกในการเก็บผลผลิต  การทำที่คลุมต้องทำเป็นลักษณะคล้ายฝาชีครอบลงไปเพื่อสะดวกต่อการเปิดปิดง่าย  จะใช้วัสดุที่ทำจากไม้ไผ่  หรือกรงเหล็กครอบกองก็ได้ ให้มีความสูง  20-30  เซนติเมตร  และคลุมด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการระเหย  และต้องเจาะรูเพื่อเป็นการระบายอากาศ  ส่วนด้านบนและด้านหลังควรคุมด้วยฟางแห้งให้มิดชิด

สำหรับการดูแลรักษาโดยทั่วๆ  ไป หลังการเพาะจะต้องดูแลเรื่องศัตรูพืช  เช่น  มด  ไรต่างๆ  ไม่ให้มารบกวน  อาจโรยปูนขาวรอบๆ  กอง  และควรจะให้อุณหภูมิอยู่ประมาณ  30-35  องศาเซลเซียส  และรดน้ำบนพื้นหรือวัสดุคลุมกอง  หากภายในกองแห้งเกินไป

การเก็บผลผลิตจะเริ่มเก็บช่วงบ่ายถึงเย็น  วิธีเก็บให้ใช้มีดสอดไปที่ฐานของดอกเห็ดพร้อมทั้งบิดไปมา  ซ้ายขวา  ดอกเห็ดโคนน้อยมีขนาดเล็กจะหลุดได้ง่าย  จึงต้องระมัดระวัง เมื่อเก็บดอกเห็ดแล้วควรนำไปใส่ภาชนะที่สะอาด  เช่น  ตะกร้าหรือกะละมัง  และไม่ควรใส่มากเกินไป  จะทำให้ดอกเห็ดทับกันทำให้ช้ำได้ง่าย  ดอกเห็ดจะบานและเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา  3-5  ชั่วโมง  การยืดเวลาไม่ให้เห็ดเกิดความเสียหายได้ง่าย  จึงควรเก็บในที่เย็น ที่อุณหภูมิ ประมาณ  8-10  องศาเซลเซียส  และเก็บในลักษณะสูญญากาศ 








ข้อมูลอ้างอิง  :   https://stri.cmu.ac.th/

โพสต์โดย : POK@