Social :



ทำความรู้จักกัย 10 ประโยชน์ จากออกซิน ที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

15 ส.ค. 62 11:08
ทำความรู้จักกัย 10 ประโยชน์ จากออกซิน ที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

ทำความรู้จักกัย 10 ประโยชน์ จากออกซิน ที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

ทำความรู้จักกัย 10 ประโยชน์
จากออกซิน ที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน

ออกซิน (Auxins)   เป็น สารเร่งการเจริญเติบโต   ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์เราสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองด้วยกรรมวิธีทางเคมี ซึ่งมีอยู่หลายชนิด  แต่ที่พบมากสุดในพืช  คือ  ชนิด  IAA(Indole-3-Acetic  Acid )  สำหรับบทบาทของออกซินที่พืชผลิตขึ้นนั้นหลักๆ  เป็นไปเพื่อการยืดขยายเซลล์หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ พบมากในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญ  เช่น  ตายอด  ,ปลายราก  ,ยอดอ่อน,ตา,ผลอ่อน  หรือในส่วนต่างๆ  ของพืชที่กำลังเจริญเติบโต  และมีอิทธิพลต่อการข่มตาข้างไม่ให้เจริญ (Apical  Dominance) ตามธรรมชาติแล้วพืชจะเคลื่อนย้ายออกซินจากส่วนยอดลงโคนต้น  ผ่านท่อน้ำ-ท่ออาหารของพืช


ส่วนออกซินที่มนุษย์ผลิตขึ้นมานั้น เป็นไปเพื่อการนำคุณสมบัติด้านต่างๆ ของออกซินที่มนุษย์ค้นพบมาใช้กับพืชปลูกในแง่ต่างๆ  ได้ง่ายขึ้น  ณ  ที่นี้จะขอกล่าวถึงออกซินชนิดสังเคราะห์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นใช้เอง ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  แต่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมากที่สุด  คือ   NAA ,IBA ,2,4-D  และ  4-CPA 

-NAA(Naphthyl  Acitic  Acid)   เป็นตัวช่วยชั้นดีในการขยายพันธุ์พืชที่ออกรากยาก  เช่น  ทุเรียน  มังคุด  ละมุด  ใช้ได้ทั้งการชำ  การตอน  ติดตา  และทาบกิ่ง  นอกจากนี้ยังนำมาใช้ป้องกันการร่วงหล่นของผล  และเปลี่ยนเพศดอกของพืชได้ด้วย  สาร  NAA ตามท้องตลาดทั่วไป  มีชื่อการค้าที่หลากหลาย  เช่น  Planofix  ,Gro-Plus  ,Panter 

-IBA(Indole-3-Butyric  Acid)   เป็นตัวที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเร่งรากพืชในงานตอน-ชำกิ่ง  สาร IBA  นี้จะไปกระตุ้นให้เกิดรากขึ้นเป็นจำนวนมาก  แต่เป็นพิษต่อใบพืช  จึงไม่ควรนำไปใช้กับส่วนอื่นของพืช  มีชื่อการค้า  เช่น  Seradix  เบอร์  1/เบอร์ 2/ เบอร์ 3  ,Root-Gro

-2,4-D (2,4-Dichlorophenoxyacetic Acid) เป็นตัวที่รู้จักกันดีในนามของสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง(ใบเลี้ยงคู่) นิยมนำมาใช้กำจัดวัชพืช เพราะมีฤทธิ์สูงมาก แต่ถ้านำมาเจือจางสามารถนำไปปรับใช้เรื่องการลดการร่วงของผลพืชตระกูลส้มได้ 

-4-CPA (4-Chlorophenoxyacetic  Acid) มีความนิยมใช้ทางการเกษตรน้อยมาก  เมื่อเทียบกับตัวอื่น  นิยมนำมาใช้เพื่อเพิ่มการติดผลของมะเขือเทศ  ซึ่งเกิดผลข้างเคียง  คือทำให้เกิดผลกลวงไม่มีวุ้นหุ้มเมล็ด นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ขยายขนาดผลสับปะรด,องุ่นและกำจัดวัชพืชได้ด้วย  ในประเทศเราไม่มีสารชนิดนี้ขายในรูปเคมีเกษตร  แต่สามารถหาซื้อในรูปสารบริสุทธิ์สีขาวได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ทั่วไป 

สำหรับ ประโยชน์ของออกซิน (Auxins)  ที่นิยมนำมาใช้ทางการเกษตร  หลักๆ  แล้วมี  10  แนวทาง  ดังนี้
1. กระตุ้นการเกิดราก :  ใช้ได้ทั้งชนิด  NAA  และ  IBA  แต่ที่นิยมทั่วไปคือ  IBA  เพราะเคลื่อนย้ายช้า  สลายตัวเร็ว  เร่งรากได้ดี  โดยเฉพาะ  IBA  ยี่ห้อ  Seradix  ที่มีระดับความเข้มข้น 3 ระดับให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมด้วยกัน  คือ
- Seradix  เบอร์ 1   เหมาะสำหรับไม้เนื้ออ่อนหรืออวบน้ำ - กึ่งแข็ง
- Seradix  เบอร์ 2   เหมาะสำหรับไม้เนื้อกึ่งแข็ง - เนื้อแข็ง
- Seradix  เบอร์ 3   เหมาะสำหรับไม้เนื้อแข็ง-ออกรากยาก


โดยสารออกซินนี้จะไปการตุ้นให้เกิดรากแขนงได้ดี  และเกิดการเติบโตทางส่วนของต้นและรากที่สมดุลย์กัน  การใช้จึงควรเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม  หากใช้ในความเข้มข้นมากรากที่เกิดมาจะผิดปกติ อาจมีลักษณะสั้นกุด เป็นกระจุก หรือไม่เกิดรากเลย  ส่วนการใช้  IBA  จะกระตุ้นการเกิดรากได้ดี  แต่อาจกระทบต่อการเติบโตทางใบของพืชได้  จึงไม่ควรนำไปใช้กับส่วนอื่นๆ  ของพืช 

2. เร่งการเติบโตของพืช  :   ออกซินสามารถนำมาใช้เร่งการเติบโตของพืชได้ทุกส่วน  ในส่วนที่นำมาใช้กับต้นจะมีความเข้มข้นมากกว่าส่วนที่ใช้กับรากและดอก 
MulticollaC
และการนำมาใช้เร่งการเติบโตของพืชแต่ละชนิด จะมีความเข้มข้นแตกต่างกันออกไป  แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป  เพราะอาจทำให้พืชไม่โต  เนื่องจากออกซินนี้มีอิทธิพลต่อการแตกออกของตาข้าง

3. ควบคุมทรงพุ่ม  :  อีกหนึ่งคุณสมบัติของออกซิน  คือ  ข่มการแตกออกของตาข้าง  ทำให้ตาข้างไม่เจริญ  ไม่มีการแตกออกของกิ่งก้านสาขาหรือทรงพุ่ม (Apical Dominance)  ต้นพืชจึงเกิดอาการโตในทางสูงอย่างเดียวไม่แตกพุ่ม  ออกซินจึงมีผลให้ส่วนต่างๆ  ของพืชยืดยาวขึ้น  โดยกระตุ้นให้เกิดการสร้างผนังเซลล์มากขึ้น


4. เปลี่ยนเพศดอก  :  นิยมนำมาใช้เปลี่ยนเพศดอกของพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศ  เช่น  มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้นกัน  หรือ มีดอกตัวผู้-ตัวเมียอยู่ในต้นหรือช่อเดียวกัน  การใช้เปลี่ยนเพศดอกของพืชแต่ละชนิดจะใช้ในความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป  ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและให้ผลดีคือ  การเปลี่ยนดอกเงาะตัวเมียเป็นดอกเงาะตัวผู้  โดยทั่วไปแล้วจะใช้  NAA  ฉีดพ่นช่อดอกเงาะต้นตัวเมีย  ซึ่งเงาะเป็นพืชที่มีดอกแยกต้น  ซึ่งชาวสวนไทยจะไม่นิยมปลูกต้นตัวผู้ไว้ในแปลงเพราะไม่ให้ผลผลิต  จึงโค่นทิ้ง  เมื่อมีแต่ต้นเงาะตัวเมียก็จะไม่เกิดการผสมพันธุ์ จำต้องนำออกซินเข้ามาช่วยในการนี้ การใช้ออกซินเปลี่ยนเพศเงาะจะใช้ในอัตรา 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ฉีดพ่นในระยะที่ดอกยังตูมอยู่

5. กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเยื่อเจริญ  :  ออกซินจะไปกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช  จึงทำให้มีเนื้อไม้มากขึ้น  และส่งเสริมให้เกิดการเติบโตด้านข้างมากขึ้น 

6. ควบคุมการออกดอก/กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด  :  การนำออกซินมาใช้กับพืช  เช่น  สับปะรด  ลิ้นจี่  มะม่วง  จะสามารถกระตุ้นให้พืชเกิดดอกเร็วขึ้น  หรือออกดอกพร้อมกันได้ทั้งรุ่น

7. ทำให้เมล็ดลีบหรือไม่เกิดเมล็ดในผลไม้  :  ในการผลิตพืชไร้เมล็ด  เช่น  ฝรั่ง  องุ่น  แตงโม  สามารถใช้ออกซินมาช่วยในการจัดการได้ โดยฉีดพ่นออกซินขณะที่ดอกบาน  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญของผลโดยไม่มีการผสมเกสร  ทำให้ได้ผลที่มีจำนวนเมล็ดน้อยลงหรือไม่มีเลย

8. เพิ่มการติดผลของพืช  :   การใช้ออกซินชนิดต่างๆ  ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการติดผลของพืชได้  เช่น  การใช้  NAA  เพิ่มการติดผลพริก,การใช้  2,4-D  เพิ่มการติดผลของส้มเขียวหวาน  หรือแม้แต่การใช้  4-CPA  เพิ่มการติดผลในมะเขือเทศ  ซึ่งการจะใช้ออกซินเพิ่มการติดผลได้ดีในพืชที่มีเมล็ดมากเท่านั้น


9. ลดการหลุดร่วงของใบ  ดอก  และผล  :  เมื่อ  ใบดอก  ผล  แก่ตัวลงจะมีการสร้างออกซิเจนในเซลล์ต่างๆ  น้อยลงทำให้เกิดการหลุดร่วงไป หากมีการพ่นออกซินในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดการหลุดร่วงของใบ  ดอก  และผลได้  นิยมนำมาใช้กับ  องุ่น  ,มะม่วง  ,ลองกอง-ลางสาด  และส้ม 

10. เป็นสารกำจัดวัชพืช  :   เป็นคุณสมบัติที่เด่นของออกซิน  เพราะออกซินทุกชนิดสามารถนำมาใช้กำจัดวัชพืชได้  ถ้าใช้ออกซินที่มีความเข้มข้นสูง ก็จะสามารถฆ่าพืชได้  โดยเฉพาะพืชใบกว้างทุกชนิด  ออกซินจะออกฤทธิ์ได้ดี  ชนิดที่นิยมนำมาใช้กำจัดวัชพืชคือ  2,4-D  และ 4-CPA  ซึ่งออกซินชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการสร้าง DNA และ RNA ทำให้วัชพืชเกิดการเติบโตผิดปกติและตายไป  การใช้งานออกซินกำจัดวัชพืชให้ได้ผลดีสุดคือ  ช่วงเช้ามืดของวันที่ไม่มีแดด

หมายเหตุ  :  การใช้ฮอร์โมนพืชเหล่านี้เกิดทั้งผลดีและผลเสียให้แก่พืชปลูกและสภาพแวดล้อมได้  จึงควรพิจารณาใช้ตามความเหมาะสมในปริมาณที่กำหนด









ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@