Social :



วิธีการปลูก และดูแล ปทุมมา

17 ส.ค. 62 11:08
วิธีการปลูก และดูแล ปทุมมา

วิธีการปลูก และดูแล ปทุมมา

วิธีการปลูก  และดูแล ปทุมมา

ปทุมมา   (Curcuma spp.)   เป็นไม้ดอกเมืองร้อน  ที่มีมูลค่าการส่งออกประมาณ  15-30  ล้านบาทต่อปี  โดยประเทศไทยส่งออกปทุมมาในรูปของหัวพันธุ์ ไปยังต่างประเทศ  ซึ่งชาวต่างประเทศโดยเฉพาะ เนเธอร์แลนด์  จะรู้จักปทุมมาเป็นอย่างดี  จนกระทั่งมีการขนานนามความสวยงามของดอกปทุมมา  ซึ่งมีลักษณะคล้ายดอกทิวลิป ว่า  สยามทิวลิป (Siam of Tulip)


สถานการณ์การผลิต
พื้นที่ปลูกปทุมมาเพื่อผลิตหัวพันธุ์เพื่อการส่งออก  มีพื้นที่ประมาณ  400  ไร่  ซึ่งสามารถผลิตหัวพันธุ์เพื่อการส่งออก  ไปต่างประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า  2  ล้านหัวต่อปี  แหล่งปลูกอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่  เชียงราย  และลำพูน  หัวพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า  ได้แก่  พันธุ์เชียงใหม่พิงค์มีทั้งสีชมพูอ่อน  และสีชมพูเข้ม

ช่วงเวลาการผลิตหัวพันธุ์เกษตรกรจะเริ่มเตรียมพื้นที่เดือน  มี.ค.  ปลูกเดือน  เม.ย.- พ.ค.  ออกดอกเดือน  ก.ค.- ส.ค.  หลังจากนั้น  ต้นจะเหี่ยวหัวจะพักตัวเดือน  พ.ย.- ธ.ค.  เริ่มขุดหัวพันธุ์  ในช่วงเดือน  ธ.ค.- ก.พ.  เริ่มส่งออกส่งหัวพันธุ์ตั้งแต่เดือน  ม.ค.- มี.ค.  ซึ่งต่างประเทศจะนำ  หัวพันธุ์ปทุมมาปลูก  เพื่อผลิตเป็นไม้กระถางให้ออกดอกเดือน  พ.ค.  ซึ่งเป็นช่วงที่ตรงกับวันแม่  ในต่างประเทศ

การผลิตหัวพันธุ์ในปัจจุบันยังเป็นการผลิตในระบบลูกไร่ของผู้ส่งออกและผู้ส่งออกบางราย  จะมีแหล่งผลิตเป็นของตนเอง  แต่ละปีเกษตรกรที่ผลิตเอง จะส่งให้กับผู้ส่งออก  ต้นทุนการผลิตปทุมมา  ต่อไร่ ประมาณ  40,320  บาท  ผลผลิตจำนวน  723  กิโลกรัม  รายได้ประมาณ 57,208 บาท  กำไรประมาณ  16,888  บาท


ปทุมมาเป็นไม้ดอกตระกูลขิง  และข่าขยายพันธุ์โดยการใช้หัวปลูก
สภาพแวดล้อม  ที่เหมาะสมกับปทุมมา  ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด  ของโรคหัวเน่า  ไม่เป็นพื้นที่ที่เคยเป็นโรคระบาดในพืชตระกูลขิง มะเขือ  มันฝรั่ง  และยาสูบ  พื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง  การคมนาคมสะดวก สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย  ระบายน้ำดี  ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  6.5-7.0  อุณหภูมิที่เหมาะสม  20-30 0 C  ในช่วงกลางคืน  เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด  ปทุมมาต้องการน้ำในช่วงการเจริญเติบโต และให้ดอก


การเตรียมหัวพันธุ์ปทุมมา   ต้องเป็นหัวพันธุ์ที่ปลอดโรคและไม่มีปุ่มปมอัน  เนื่องมาจากไส้เดือนฝอย  ควรมีการคัดขนาดหัวพันธุ์  และแยกหัวขนาดใหญ่  มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า  1.5 ซม.  หัวขนาดกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  1-1.5  ซม .  และหัวขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า  1  ซม .  นำหัวมาบ่มในกระบะเพาะ  ซึ่งมีวัสดุปลูกเป็นทราย  หรือแกลบ  หรือขุยมะพร้าว  ที่มีความชื้น  ประมาณ  70 %  โดยกระบะเพาะไม่ถูกแสงแดดจัด คัดหัวพันธุ์ที่งอกหน่อขนาดเท่ากัน  ปลูกในแปลงเดียวกัน

การปลูกปทุมมา   สามารถแบ่งออกได้เป็น  2  แบบ  ได้แก่  การปลูกลงแปลง  และการปลูกลงถุง
การปลูกลงแปลง การเตรียมดินควรเก็บซากพืชในแปลง  และเผาทิ้ง ไถดิน  1  ครั้ง  ตากดิน  20-30  วัน  เก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง ใช้ยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 1 10 ปริมาณ 850 กก./ไร่  ใส่ลงดิน  ไถครั้งที่  2  แล้วจึงไถพรวนยกร่อง  อัดหน้าดินให้แน่น  รดน้ำให้ชุ่ม  คลุมแปลงด้วยพลาสติกใสนาน 
Lif
15  วัน  แปลงที่ปลูก ควรแบ่งเป็นแปลงๆละ 1 งาน แปลงย่อยยกสูง 20-30 ซม . กว้าง  1-1.5  เมตร  เว้นช่องทางเดิน 0.5 เมตร ระยะปลูก 30x30 ซม. อัตราหัวพันธุ์  8,000-10,000  หัว/ไร่  หลุมปลูกควรรองหลุมด้วยปุ๋ยสูตร  15-15-15  อัตรา  15  กรัมต่อหลุม ปลูกลึก 7-10 ซม . แล้วจึงกลบดินคลุมด้วยฟาง

การปลูกลงในถุง วัสดุปลูกที่ใช้  คือ  ทราย  :  แกลบดิบ  หรือขุยมะพร้าว  :  ถ่านแกลบ  อัตรา  1:1:1  ผสมให้เข้ากัน  หมักกองไว้กลางแสงแดด สูงประมาณ  20-30  ซม. ผสมน้ำให้ชุ่ม  คลุมด้วยพลาสติกใสนาน  1  เดือน  เพื่ออบฆ่าเชื้อโรคหลังจากนั้นจึงนำวัสดุปลูกใส่ลงในถุงพลาสติกสีดำขนาด  6*12  นิ้ว วางถุงปลูกบนแปลงที่ยกสูงจากพื้น  20-30  ซม.  ปูพื้นแปลงด้วยแกลบดิบหรือคลุมพลาสติกใส  หน้าแปลงควรมีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้มีการระบายน้ำดีหลังจากนั้น  ใช้หัวพันธุ์ขนาดใหญ่  1  หัวที่มีตุ้มสะสมอาหาร  2-3  ตุ้ม  ปลูกลงในถุงพลาสติก


การเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์
เริ่มขุดหัวพันธุ์ตั้งแต่เดือน  ธ.ค.- ก.พ.  ถ้าดินที่จะขุดแข็งให้ใช้น้ำรดแปลง  1  วัน  ก่อนขุดหัวพันธุ์  ควรเลือกขุดหัวพันธุ์ที่มีใบแห้งปรากฏ ในตำแหน่งของกอ การขุดต้องระวังไม่ให้รากและตุ้มอาหารช้ำหัก  เสียหายหรือเกิดบาดแผล ใช้น้ำฉีดหัวที่ขุดได้ทั้งกอ นำมาคัดแยก  ใช้กรรไกรที่จุ่มด้วยแอลกอฮอล์  70 %  ตัดแต่งรากที่หักไม่สมบูรณ์  และมีบาดแผลออก  นำหัวไปล้างน้ำอีกครั้ง  โดยใช้น้ำที่มีแรงดันสูง  ฉีดเอาดินที่ติดตามซอกออกจากหัวพันธุ์ แยกหัวพันธุ์ตามขนาดใส่ตะกร้า นำหัวพันธุ์ไปจุ่มยาฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และแมลง ขั้นตอนตั้งแต่แรกขุดจนถึงจุ่มสารเคมี ควรเสร็จสิ้นภายใน  1-2  วัน  นำหัวพันธุ์ไปผึ่งบนตะแกรงในที่ร่มระบายอากาศดี นาน  14  วัน  พบหัวพันธุ์ที่เป็นโรคหัวเน่า  ให้คัดทิ้งก่อนทำการบรรจุลงกล่องส่งออก  หัวพันธุ์ที่เหมาะในการส่งออกมีขนาดเส้นศูนย์กลางมากกว่า  1.5  ซม .  ตุ้มสะสมอาหาร  3  ตุ้ม

โรคหัวเน่า  หรือโรคเหี่ยวเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ลักษณะอาการของต้น  ใบแก่ที่อยู่ด้านล่าง  จะห่อม้วนเป็นหลอดคล้ายอาการขาดน้ำ  โคนต้นและหน่อที่แตกออกใหม่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ  หรืออาการเนื้อแก้ว ต้นเน่าหักพับเมื่อดึงหลุดออกจากหัวง่าย อาการหัวและรากเน่า  ฉ่ำน้ำ  สีน้ำตาลเข้ม  บีบหัวจะเห็นเป็นของเหลวสีน้ำนมตรงรอยแผล  ช่วงการระบาดในช่วงฤดูฝนที่ดินมีความชื้นสูง  การป้องกันกำจัด  ก่อนปลูกควรเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกพืชอาศัยตระกูลขิงและข่า  ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกก่อนปลูก 3 เดือน ไถดินตาก 1 เดือน เก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์ก่อนปลูก  ต้องปรับความเป็นกรดเป็นด่าง  6.5-7.0  ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค ช่วงต้นพืชเจริญเติบโตให้หมั่นตรวจแปลง  เมื่อพบต้นเป็นโรค  ให้เผาทิ้ง และขุดดินผึ่งแดดใส่ปุ๋ยยูเรียและปูนขาว อัตรา  1:10  คลุกกับดินกลบทิ้งไว้  ไม่ควรให้รากพืชเกิดบาดแผล  หลังเก็บหัวให้เก็บเศษต้นปทุมมาเผาทำลาย  ถ้าพบเป็นโรคต้องงดการปลูกในครั้งต่อไป  นาน  3  ปี  ให้ปลูกพืชหมุนเวียนได้แก่  ข้างโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว









ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.baanjomyut.com/

โพสต์โดย : POK@