Social :



วิธีการปลูก และดูแล ธรรมรักษา

27 ส.ค. 62 09:08
วิธีการปลูก และดูแล ธรรมรักษา

วิธีการปลูก และดูแล ธรรมรักษา

วิธีการปลูก  และดูแล  ธรรมรักษา


ชื่อไทย   ธรรมรักษา
ชื่อสามัญ  (Common  name)  Heliconia
ชื่อวิทยาศาสตร์  (Scientific  name)  Jasminum  Heliconia  sp.
ชื่อวงศ์  (Family)  Heliconiaceae
ถิ่นกำเนิด  (Native)  เขตร้อนของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะในแถบทะเลแคริบเบียน

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ธรรมรักษา   เป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  มีการปลูกและนำเข้ามา นานแล้ว ส่วนมากนิยมปลูกไว้ริมน้ำที่น้ำแฉะใช้สำหรับตัดดอกบูชาพระ ปัจจุบันธรรมรักษา  ได้รับความนิยมมากขึ้น  มีการนำพันธุ์ใหม่ๆ  เข้ามาจากต่างประเทศที่ช่อดอกมีสีสวย  ดอกบานทน  เพื่อตัดดอกเป็นการค้า เกษตรกรส่วนมากจะปลูกพันธุ์ดอกเล็กสำหรับตัดดอกเป็นการค้า พันธุ์  ดอกใหญ่ยังไม่มีปลูกตัดดอกเป็นการค้ามากนัก  โดยมากจะปลูกกันในหมู่นักสะสมพันธุ์เนื่องจาก  ต้นพันธุ์ราคาสูงและมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่า

ธรรมรักษาบางพันธุ์เหมาะสำหรับปลูกดูเล่นเป็นกอๆ  หรือจัดสวนตกแต่งบริเวณ นอกจากจะปลูก  สำหรับตัดดอกใช้ในประเทศแล้วยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ  ในปี พ.ศ. 2534  การส่งออก  ดอกและต้นธรรมรักษามีมูลค่าถึง  115,489  บาท  ประเทศรับซื้อคือ  ญี่ปุ่น  ฮ่องกง  และซาอุดิอาระเบีย (จากด่านตรวจพืช)  ในต่างประเทศมีการปลูกเป็นค้าที่ฮาวาย  ฟลอริดาประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์  และประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (คอสตาริกา  จาไมกา  ฮอนดูรัส เป็นต้น)  เนื่องจากดอกธรรมรักษามีความสวยงามหลาย  หลายขนาดและยังให้บรรยากาศของเมืองร้อน  ในอนาคตจึงเชื่อว่าธรรมรักษาจะเป็นไม้ตัดดอกที่อยู่ในความนิยมอีกชนิดหนึ่ง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ธรรมรักษาเป็นพืชล้มลุกข้ามฤดูหรือหลายฤดูลักษณะอวบน้ำยืนต้น (Herbaceous  Perenial)  ลำต้นใต้ดินแบบเหง้า (Rhizome)  คล้ายขิง  ส่วนเหนือดินเรียกว่าลำต้นเทียม  ซึ่งประกอบด้วย  กาบใบเรียงซ้อนสลับกันคล้ายกาบกล้วย  ใบมีลักษณะคล้ายใบกล้วย  ลักษณะของกอแบ่งออก  เป็น  2  ลักษณะคือ
- กอแน่น   กอลักษณะนี้  เหง้าจะมีข้อชิดกันทำให้หน่อใหม่เกิดชิดโคนต้นเดิมจึงทำให้กอมี  ลักษณะแน่น
- กอขยายกว้าง   กอลักษณะนี้เหง้าจะมีข้อห่างกันทำให้หน่อเกิดใหม่เกิดห่างต้นเดิมกอขยายกว้าง  อย่างรวดเร็ว

ช่อดอกจะเกิดขึ้นที่กลางลำต้นเทียม ช่อดอกประกอบด้วย ก้านช่อดอก(Peduncle) ก้านต่อระหว่าง  ใบประดับ(Rachis) ใบประดับ (Bract)  ซึ่งรองรับดอกอยู่  เรียงสลับกันเหมือนรูปเรือ  ใบประดับ อาจอยู่ในระนาบเดียวกันหรือต่อกันก็ได้แล้วแต่พันธุ์ ใบประดับมีหลายสี (แดง, ชมพู, เหลือง, และแสด) ภายในกลีบประดับจะมีดอกคล้ายดอกกล้วยเล็ก ๆ  เรียงกันอยู่แถวเดียว  ดอกนี้เรียกว่า ดอกจริง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก  3  กลีบ ทั้งหมดนี้  จะหลอมติดกันเป็นหลอดภายในมีเกสรตัวผู้  6  อัน  ซึ่งจะเจริญเพียง  5  อัน  อีก  1  อันเป็นหมัน  รังไข่  อยู่ใต้กลีบเลี้ยงและกลีบดอก ภายในมี  3  ช่องเป็นผลนุ่ม  เมล็ดคล้ายเมล็ดกล้วย  แข็ง  ผลสุกมีสี  น้ำเงิน  ถ้าเป็นชนิดที่มาจากทวีปอเมริกา และมีสีแดงถ้ามาจากหมู่เกาะแปซิฟิก


ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
1. แสง(Light)
พันธุ์ธรรมรักษาที่ปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสง  100%  เพราะว่าจะมีผลต่อการออกดอกและสีของดอก

2. อุณหภูมิ(Temperature) 
พบว่ายังไม่มีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นการออกดอก แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น  จะกระตุ้นให้ออกดอกเร็วขึ้น  ธรรมรักษาแต่ละพันธุ์ต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป เช่น ต้องการอุณหภูมิ  21-35  องศา C  และจะหยุดการเจริญเติบโต  10  องศา  C

การเตรียมดิน
Lif
ธรรมรักษาสามารถปลูกได้ดีในดินที่เป็นกรด ไปจนถึงด่างเล็กน้อย (pH ประมาณ 5.4-6.2) ดินควรเป็นดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูงและระบายน้ำดี ควรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-16-16 ซุปเปอร์ฟอสเฟต ครึ่งช้อนชา คลุกเคล้ากัน รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วย


ระยะปลูก ควรใช้  1x1  เมตรถึง  2x2  เมตร  รดน้ำเช้าเย็นขณะเริ่มปลูกใหม่ๆ  และช่วงแรกควรอยู่ในร่มก่อนประมาณ  1  เดือน  หากต้องปลูก  ลงแปลงเลยในช่วงแรกควรพรางแสงด้วยซาแรน

การให้น้ำธรรมรักษา   เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำแฉะ  วิธีการให้น้ำควรให้แบบกล้วยไม้คือใช้เรือเดิน  ตามร่องแล้วฉีดพ่นมาบนแปลง  ถ้าธรรมรักษาได้รับน้ำไม่เพียงพอจะมีผลต่อคุณภาพของดอก  และอายุการปักแจกัน

การใส่ปุ๋ยธรรมรักษา   ตอบสนองต่อการให้น้ำ + ปุ๋ย n  ในช่วงแรก ของการเจริญเติบโตเราควรใส่ปุ๋ยคอก สลับกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร  16-16-16  เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต  ทางด้านลำต้นรวมทั้งการแตกหน่อแตกกอด้วย n  ช่วงการออกดอก  จะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งดอก  เช่น  10-30-10  หรือ  13-13-21  และที่สำคัญควรให้ธาตุเหล็กเพิ่มด้วยเพื่อจะทำให้ใบเข้มและสีดอกสด


การตัดดอก   หลังจากปลูกจนต้นสูงมีใบประมาณ  4-5  ใบก็จะให้ดอก  หรืออายุของต้นประมาณ  1  ปี ธรรมรักษาสามารถทำเป็นไม้ตัดดอกได้  ทั้งดอกเล็กและดอกใหญ่  แต่พันธุ์ดอกเล็กปลูกเป็น ไม้ตัดดอกได้ดีสามารถใช้ประโยชน์ได้มาก  ส่วนพันธุ์ดอกใหญ่จะให้ปริมาณดอกน้อยกว่า  การตัดดอกในบ้านเรานิยมตัดดอกเมื่อบานประมาณ  ฝ -1/3  ดอกแล้ว  ส่วนในต่างประเทศนิยมตัดเมื่อเห็น  ใบประดับแรกผลิออกมา  แต่ดอกยังไม่โผล่  ดอกธรรมรักษาหลังจากตัดดอกจะคงอยู่ในสภาพเดิม จะไม่บานอีกต่อไป

การตัดดอกประเภทดอกใหญ่จะตัดระดับดิน  มักจะริดใบทิ้ง และตัดก้านใบ  เหนือช่อดอกเล็กน้อย  เพื่อป้องกันการบอบช้ำของใบประดับส่วนดอกเล็กให้ตัดใบ  และเหลือใบยอดไว้  1-2  ใบ  อายุการปักแจกันจะอยู่ได้ประมาณ  1-2  สัปดาห์  แล้วแต่พันธุ์และการดูแลรักษา  ดอกไม้นั้น

โรคแมลง  และการป้องกันกำจัด
โรคโคนเน่า   และรากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา  จะเป็นมากในฤดูฝน  ควรฉีดพ่นยากันราเดือนละครั้ง

โรครากปม   เกิดจากไส้เดือนฝอย  จะทำให้ต้นเหี่ยวทั้งต้น  ,แคระแกรนไม่สมบูรณ์  เนื่องจาก ไส้เดือนฝอยไปอุดท่อน้ำ  และท่ออาหาร  ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาพวกไวเดทแอลราดลงพื้นเป็นครั้ง คราวเดือนละ  1  ครั้ง










ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.baanjomyut.com/

โพสต์โดย : POK@