Social :



เทคนิคการปลูกกวางตุ้งไร้ดิน

22 พ.ค. 62 13:05
เทคนิคการปลูกกวางตุ้งไร้ดิน

เทคนิคการปลูกกวางตุ้งไร้ดิน

เทคนิคการปลูกกวางตุ้งไร้ดิน

กวางตุ้ง   เป็นผักที่มีวิตามินซี  และเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้บำรุงสุขภาพดวงตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้  และ สามารถทานได้ในแบบผักสดหรือจะนำไปปรุงอาหาร  เช่น  แกงจืด  ต้มจับฉ่ายหรือนำไปผัดร่วมกับเนื้อก็อร่อยได้ไม่แพ้กัน ทั้งยังหาซื้อได้ตามตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตได้ตลอดปี  แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผักที่ซื้อหามานั้น  มีอะไรสารพิษปลอมปนมากับความสวยงามด้วยหรือไม่  สำหรับการปลูกกวางตุ้งในรูปแบบเดิมๆ  ทั่วไป  ที่อาจแฝงไปด้วยสารเคมีที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ปลูก  และผู้บริโภค


เช่นเดียวกับ คุณพรชัย  โพพันธ์  เกษตรกรบ้านตระกาศ  ม. 12  ต. ตระกาจ อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษ   ที่แต่เดิมมีอาชีพปลูกผักขายมาเป็นระยะเวลาเกือบ  10  ปี  แต่เป็นการปลูกแบบอาศัยสารเคมีในการจัดการศัตรูพืชช  จึงทำให้มีปัยหาสุขภาพทรุดโทรม จากสารพิษที่ได้รับมาหลายปี  จนไม่อาจใช้สารเคมีได้อีกต่อไป  และ มีความคิดว่าจะหยุดใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก  และเริ่มมองหาวิธีการอื่นมาใช้ในการจัดการพืชผักที่ปลูก  ประกอบกับในปี  2551  ภรรยาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  จึงได้มีโอกาสเข้าอบรมที่สถาบันวิจัยพืชสวนจังหวัดศรีสะเกษ  เรื่องการปลูกผักไร้ดิน แบบปลอดสารพิษตกค้างที่ส่งผลต่อตัวผู้ผลิตและผู้บริโภค  ซึ่งหลังจากเข้ารับการอบรมทางศูนย์ ฯ ได้มอบวัสดุอุปกรณ์บางส่วนให้มาทดลองทำ  จึงได้นำมาทดลองปฏิบัติตาม  ปรากฏว่าได้ผลดี  พืชผักที่ผลิตมีการเจริญเติบโต งอกงามดี และที่สำคัญการปลูกพืชรูปแบบนี้ไม่ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่น ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งพืชผักทีปลุกก็เป็นที่ต้องการของตลาด  จึงผลิตพืชผักไฮโดรโปนิกส์ นับจากวันนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นปลูกผักกวางตุ้งและผักกาดเป็นหลัก  เนื่องจากมีตลาดรองรับและเป้นพืชที่มีอายุการเก้บเกี่ยวสั้น  และง่ายต่อการจัดการด้านต่างๆ 


การปลูกผักกวางตุ้งไร้ดิน ปลอดสารพิษ    ** วิธีนี้สามารถปรับใช้ได้กับผักอายุสั้นทุกชนิด
วัสดุ-อุปกรณ์ : 
1. **แปลงปลูก  และระบบไฮโดรโปนิกส์  เช่น  ไม้  ,เหล็ก  ,แผ่นโฟม  , แผ่นปลูก  , พลาสติกหุ้มหลังคาโรงเรือน  , มุ้งกั้นโรงเรือน  , อุปกรณ์อื่นๆ  (ปั๊มน้ำ  สะดือ  ท่อ)  ,ถาดเพาะและฟองน้ำเพาะเมล็ด
2. พันธุ์ผักคุณภาพดี
3. ธาตุอาหาร สำหรับพืช  คือ  สารละลายธาตุอาหาร  A  และ  B
4. น้ำสะอาด
**ชุดวัสดุ-อุปกรณ์ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด เว้บไซต์ หรือ ตัวแทนจำหน่ายได้ทั่วไป พร้อมบริการติดตั้ง โดยมีต้นทุนตั้งแต่ชุดละ หลักพัน-แสนบาท

วิธีการปลูก 
1. จัดเตรียมแปลงหรือแผ่นปลุกพืชให้พร้อม (1  แผ่นปลูก  =  50  ช่อง)
2. จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชโดยคัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี
MulticollaC
3. เพาะต้นกล้าลงในถาดเพาะ  โดยการใส่เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการลงในฟองน้ำ  2- 3  เมล็ด  และรดน้ำให้ชุ่ม
4. ใช้เวลา  3 - 5  วันในการเพาะต้นกล้า จนมีใบเลี้ยงคู่และรากงอกจากฟองน้ำ
5. ย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูกโดย  1  แผ่นปลูก  จะมีช่องปลูก  50  ช่องใส่ต้นกล้าลงในช่องปลุกจนครบ (กรณีผักบางชนิดเมื่อโตขนาดจะให้มาก  เช่น  ผักกาดขาว  จึงให้ปลูกช่องเว้นช่อง)
6. ใส่น้ำสะอาดในแปลงปลูก ให้ท่วมสะดือปรับระดับน้ำเพื่อให้รากพืชสัมผัสกับน้ำและเปิดปั๊มน้ำเพื่อให้น้ำไหลเวียน
7. เติมธาตุอาหาร  A  ในอัตราส่วน  1  ลิตร  ต่อน้ำ  200  ลิตร  เพื่อให้รากแข็งแรง
8. หลังจากนั้น  4  ชั่วโมง  ขณะที่รากพืชแข็งแรงดีแล้ว  เติมธาตุอาหาร  B  ตามอัตราส่วนธาตุอาหาร
9. ต้นพืช  (ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  ผักขึ้นฉ่าย  ผักกาด)  จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว  30  วัน  ตามชนิดของผัก  กรณีเป็นผักบุ้ง  สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน  15  วัน  นับจากวันลงแปลง


1. ขั้นตอนการปลูกง่าย
2. ระบบนี้เป็นเทคนิคที่ใช้วัสดุในประเทศทั้งหมด  และพัฒนาธาตุอาหาร  ให้สามารถใช้ได้ตลอด  รอบแปลงไม่ต้องเปลี่ยนธาตุอาหารและวัดค่าความเข้มข้นให้ยุ่งยาก
3. รอบปลูกสั้นกว่าและสามารถปลูกทั้งผักไทย  เช่น  คะน้า  กวางตุ้ง  ปวยเหล็ง  ผักสลัดแฟนซี  เช่น  กรีนโอ๊ค  บัตตาเวีย  หรือผักสลัดต่างๆ  ซึ่งระบบอื่นไม่สามารถทำได้
4. ผลผลิตที่ได้ปราศจากสารพิษโดยสิ้นเชิง  และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้ลูกหลานหันมาบริโภคพืชผัก  และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เกิดความภาคภูมิใจสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง  อันเป็นภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากยาเสพติดอย่างได้ผลมาก
5. การปลูกผักไม่จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง  เพราะเป็นการปลูกในมุ้งรวมถึงบริเวณที่ปลูกไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า  หรือยาฆ่าแมลง  และการตรวจสอบอาจมีสารพิษเจือปนได้





ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.rakbankerd.com/

โพสต์โดย : POK@