Social :



ก.แรงงาน ปฏิรูป สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ทำฟัน 900 บาท/ปี ผู้ทุพพลภาพได้รับสิทธิตลอดชีวิต

15 ส.ค. 59 17:55
ก.แรงงาน ปฏิรูป สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ทำฟัน 900 บาท/ปี ผู้ทุพพลภาพได้รับสิทธิตลอดชีวิต

ก.แรงงาน ปฏิรูป สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม ทำฟัน 900 บาท/ปี ผู้ทุพพลภาพได้รับสิทธิตลอดชีวิต

ก.แรงงาน ปฏิรูป สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม

ทำฟัน 900 บาท/ปี ผู้ทุพพลภาพได้รับสิทธิตลอดชีวิต

 




กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน เพิ่มค่าทำฟันเป็น ๙๐๐ บาท/ปี ขยายสิทธิผู้ทุพพลภาพได้รับสิทธิตลอดชีวิต พร้อมปรับรหัสประเภทกิจการ และอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

 


นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม   แถลงข่าวเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ว่า ตามที่   พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน   มีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการปฏิรูปองค์กรและพัฒนาสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม ได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.... เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ซึ่งได้มีการแก้ไขกฎหมาย ได้แก่


๑) เพิ่มอัตราค่าทดแทนกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และตาย จากร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ ๗๐ ของค่าจ้าง


๒) เพิ่มค่าจัดการศพ จากเดิมในอัตรา ๑๐๐ เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด เป็นไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดตามประกาศกระทรวงแรงงาน


๓) เพิ่มระยะเวลาจ่ายค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่ายไม่เกิน ๑๕ ปี เป็นไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี และกรณีตาย จากเดิม ๘ ปี เพิ่มเป็น ๑๐ ปี


๔) เพิ่มบทบัญญัติลดการจ่ายเงินเพิ่มให้แก่นายจ้างในเขตท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรงหรือประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ


๕) ลดอัตราเงินเพิ่มกรณีนายจ้างค้างชำระเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ ๓ เหลือร้อยละ ๒ และกำหนดให้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย  


๖) ขยายความคุ้มครองตามกฎหมายไปถึงลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการทุกประเภท


๗) แก้ไขให้สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดจากการทำงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินงาน


๘) เพิ่มบทกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการกองทุนเงินทดแทน


๙) แก้ไขบทกำหนดโทษให้เหมาะสม

 


โดยเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่...) พ.....

MulticollaC
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศไปประกอบการพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป           

 

สำหรับในส่วนของหลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการทันตกรรมในระบบประกันสังคม มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการขูดหินปูน อุด ถอน และผ่าฟันคุด จาก ๖๐๐ บาท/ราย/ปี เพิ่มเป็น ๙๐๐ บาท/ราย/ปี โดยให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน ๙๐๐ บาท/ปี โดยจ่ายตามอัตราค่าบริการทางการแพทย์ตามที่ประกาศคณะกรรมการแพทย์กำหนด คือ


๑) ขูดหินปูนทั้งปาก อัตราค่าบริการ ๔๐๐ บาท

๒) อุดฟันด้วยวัสดุ Amalgam ๑ ด้าน อัตราค่าบริการ ๓๐๐ บาท ๒ ด้าน   อัตราค่าบริการ ๔๕๐ บาท

๓) อุดฟันด้วยวัสดุเหมือนฟัน ๑ ด้าน (ฟันหน้า) ๓๕๐ บาท (ฟันหลัง) ๔๐๐ บาท ๒ ด้าน (ฟันหน้า) ๔๐๐ บาท (ฟันหลัง) ๕๐๐ บาท

๔) ถอนฟัน (ฟันแท้) ๒๕๐ บาท ถอนฟันที่ยาก ๔๕๐ บาท

๕) ผ่าฟันคุด ๙๐๐ บาท

 

ในจังหวัดนำร่อง กรุงเทพมหานคร ๑๒ เขตพื้นที่ และ ๑๘ จังหวัด (ปทุมธานี อ่างทอง สมุทรปราการ สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ชุมพร พังงาน สตูล จันทบุรี บึงกาฬ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร ชัยภูมิ เชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี) มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ ส.ค. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

 

นอกจากนี้ยังได้มีประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เรื่องกำหนดอัตรา และระยะเวลาการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ กรณีผู้ประกันตนที่สูญสมรรถภาพของร่างกายไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ของร่างกาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ และกรณีที่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพก่อน ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๘ ได้รับสิทธิกรณีทุพพลภาพตลอดชีวิต ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

           

สำนักงานประกันสังคม ยังได้เร่งรัดผลักดันดำเนินการปรับปรุงรหัสประเภทกิจการกองทุนเงินทดแทน จากจำนวน ๑๖ หมวดกิจการ ๑๓๑ รหัสกิจการ เป็นการจัดตามประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี ๒๕๕๒ ( TSIC – ๒๐๐๙) จำนวน ๒๑ หมวดใหญ่ ๑ , ๐๙๑ รหัส จากเดิมปรับเพิ่มจากอัตราเงินสมทบหลักสูงสุด ๑๕๐% ลดเหลือไม่เกิน ๕๐% ของอัตราที่จัดเก็บในปีก่อนหน้า เพื่อให้การกำหนดรหัสประเภทกิจการมีความละเอียดครอบคลุม ทันสถานการณ์ และเป็นมาตรฐานสากล โดยเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องอัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมิน และการเรียกเก็บเงินสมทบฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ ๑ มกราคม ๒๕๖๐

 

 




ทีี่มา:  Ministry of Labour, Kingdom of Thailand

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด