Social :



อธิบดีกรมการแพทย์ เผย ไร้ปัญหา สร้างเตียงไอซียูได้ภายใน 7 วัน ชี้ หาบุคลากรดูแลยากกว่า

13 พ.ค. 64 14:05
อธิบดีกรมการแพทย์ เผย ไร้ปัญหา สร้างเตียงไอซียูได้ภายใน 7 วัน ชี้ หาบุคลากรดูแลยากกว่า

อธิบดีกรมการแพทย์ เผย ไร้ปัญหา สร้างเตียงไอซียูได้ภายใน 7 วัน ชี้ หาบุคลากรดูแลยากกว่า

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการแถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ในประเทศไทย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมการสนทนาเรื่องการดูแลรักษาคนที่ติดโควิด-19 และมีอาการหนักหรือกลุ่มสีแดง ว่า สถานการณ์ในช่วงนี้ตึงขึ้นเรื่อยๆยิ่งในกรุงเทพและปริมณฑล โดยในการตรวจเชิงรุกทางเราก็อยากแยกคนไข้ออกมาจากชุมนุมโดยเร็ว เพราะในการค้นหาเชิงรุกคนไข้ตกค้างอยู่ที่บ้านโดยประมาณ 3-4 วัน จึงทำให้กว่าจะมาเจอหมอก็อยู่ในกลุ่มอาการของสีเหลือง เพราะเมื่อเป็นและปล่อยไว้นานอาการพัฒนาขึ้น แต่ถ้ามาเจอหมอเร็วให้ยาเร็วกลุ่มอาการสีเขียว ก็จะไม่พีฒนาไปเป็นกลุ่มอาการสีแดง ส่วนในกลุ่มสีแดงแบ่งเป็น 2 ประเภท 1.คนไข้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 2.คนไข้ที่ต้องใช้ออกซิเจนความดันสูง


นพ.สมศักดิ์ กล่าว่า เมื่อเทียบเตียงใน ปี 63 มีอยู่ 1,059 เตียง แต่เมื่อมาพฤษภาคม 64 ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีเตียงทั้งหมด 26,787 เตียง เพิ่มขึ้นประมาณ 25 เท่าตัว ซึ่งมาจากโรงแรมที่เปลี่ยนไปเป็น Hospitel (ฮอสพิเทล) หรือ หอผู้ป่วยติดโรคโควิด-19 เฉพาะกิจ และในหบายที่ก็ใช้ห้องประชุมใช้สเตเดียมเป็นโรงพยาบาลสนาม เห็นได้ว่าทุกเครือข่ายพยายามที่จะ ‘เบ่งเตียง’ โดยเฉพาะภาคเอกชนที่ทำอย่างรวดเร็ว

นพ.สมศักดิ์
MulticollaC
กล่าว่า ส่วนการจัดสร้างห้อง ICU โดยคำนวนจากคนไข้คาดการณ์ 1,000 คนต่อวัน เท่ากับเราจะต้องการเตียงห้อง ICU เพิ่มวันละ 33 เตียง เพราะจะมีคนไข้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องการห้องICU ขณะนี้เรามีห้องไอซียูถ้าจากภาครัฐและเอกชนประมาณ 100 กว่าเตียง ถ้าสมมุติไม่มีคนไข้ออกจะมีเตียงICUพออีก 5 วัน แต่อย่างไรก็ตามก็มีเข้าออกหรือมีอาการที่น้อยลงก็จะทำการย้ายรักษาที่อื่นต่อไป

นพ.สมศักดิ์ กล่าว่า ทั้งนี้ทางกรมฯไม่ได้นิ่งนอนใจจึงได้จัดเตรียมการขยายเตียงICU ได้คิดค้นร่วมกับSCG (บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด) สร้างห้องICU ภายใน7 วันจำนวน 10 เตียง เรื่องการสร้างเตียงไม่ยากแต่ที่ยากมีปัญหาคือการเตรียมคนมาดูแล ซึ้งจะหารือกับโรงเรียนแพทย์ที่จะหมุนเวียนบุคลากร และฝึกพยาบาลเข้ามาดูแล ทั้งนี้การเพิ่มเตียงโรงพยาบายดูตามสถานการณ์ และเตรียมไว้ที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ซึ่งใช้วอดเก่ามาดัดแปลงใหม่ เพื่อรองรับผู้ป่วย และจะนำพยาบาลมาเทรนสำหรับดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้ แพทย์และพยาบาลยินดีทำงานเต็มที่ แต่ประชาชนก็ต้องช่วยกันป้องกัน เพราะถ้าลดจำนวนผู้ติดเชื้อเหลือ 500 คนต่อวัน คนไข้อาการหนักจะลดลงไปได้และแพทย์ก็จะดูแลประชาชนได้เต็มที่

ขอบคุณที่มา ข่าวมติชน

โพสต์โดย : ปลายน้ำ