Social :



มท. ลงนามกฎกระทรวง 2 ฉบับ ปลดล็อกให้ รร.ขนาดเล็ก-อาคารประเภทอื่นที่นำมาใช้ประกอบธุรกิจ รร.สามารถขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง

23 ส.ค. 59 19:13
มท. ลงนามกฎกระทรวง 2 ฉบับ ปลดล็อกให้ รร.ขนาดเล็ก-อาคารประเภทอื่นที่นำมาใช้ประกอบธุรกิจ รร.สามารถขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง

มท. ลงนามกฎกระทรวง 2 ฉบับ ปลดล็อกให้ รร.ขนาดเล็ก-อาคารประเภทอื่นที่นำมาใช้ประกอบธุรกิจ รร.สามารถขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง

มท. ลงนามกฎกระทรวง   2   ฉบับ  

ปลดล็อกให้ รร.ขนาดเล็ก-อาคารประเภทอื่นที่นำมาใช้ประกอบธุรกิจ รร.สามารถขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง

 

โดยเพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัย ส่งเสริมบรรยากาศด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศ

 


วันนี้ ( 23  ส.ค. 25 59)  พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ด้วยในปัจจุบันได้มีการนำอาคารประเภทอื่นมาให้บริการที่พักแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งลักษณะและโครงสร้างของอาคารที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องกับอาคารที่จะนำมาประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมาย จึงทำให้อาคารดังกล่าวไม่สามารถขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกต้อง

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการใช้อาคารที่ไม่ถูกต้องและให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กสามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้ สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันซึ่งรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการโรงแรมให้สามารถแข่งขันได้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดของกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวสามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.  2559  ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19  สิงหาคม  2559  ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้แล้วตามกฎหมาย

MulticollaC

 

โดยสาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ของอาคารแต่ละประเภทที่จะสามารถนำมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมได้จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีลักษณะและมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงจะสามารถขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร หรือประกอบธุรกิจโรงแรมได้ อาทิ ความกว้างของช่องทางเดิน บันได การติดตั้งเครื่องดับเพลิง และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตาม และกำหนดให้มีระยะเวลาบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้เป็นเวลา  5  ปี เนื่องจากเป็นนโยบายชั่วคราวที่ต้องการแก้ไขปัญหาของอาคารที่ไม่ถูกต้อง มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร โดยจะใช้ได้เฉพาะกับอาคารที่ก่อสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นอาคารที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้เท่านั้น

 

รมว.มหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่  66 ( พ.ศ.  2559)  ออกตามความพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.  2522  เพื่อกำหนดลักษณะทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารสำหรับอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารขนาดใหญ่ที่จะทำทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร ให้สามารถกระทำได้โดยถือว่ายังมีที่ว่างโดยรอบอาคาร และที่ว่างใต้ทางเดินเชื่อมยังคงนับเป็นที่ว่างของอาคาร และอาคารที่มีทางเดินเชื่อมติดต่อกันนั้นไม่นับว่าเป็นอาคารหลังเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขว่าลักษณะของทางเดินเชื่อมต้องได้ตามที่กำหนด เช่น เรื่องความกว้างและความสูง ซึ่งจะต้องมีความปลอดภัยแก่ประชาชน วัสดุโครงสร้างหลักต้องเป็นวัสดุทนไฟที่มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า  2  ชั่วโมง จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางและการใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจร สามารถใช้ในการอพยพคนเมื่อเกิดอัคคีภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อาคาร รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้เจ้าของอาคารผู้ครอบครองอาคารต้องดูแลและบำรุงรักษาโครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ ของทางเดินเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้งานได้อย่างปกติ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

 


 

ที่มา ข่าวกระทรวงมหาดไทย

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด