Social :



หญิงท้องติดโควิด 1,993 คน ฉีดวัคซีนแค่ 10 ตาย 37 ราย ขอเวิร์กฟรอมโฮมมากที่สุด

13 ส.ค. 64 16:08
หญิงท้องติดโควิด 1,993 คน ฉีดวัคซีนแค่ 10 ตาย 37 ราย ขอเวิร์กฟรอมโฮมมากที่สุด

หญิงท้องติดโควิด 1,993 คน ฉีดวัคซีนแค่ 10 ตาย 37 ราย ขอเวิร์กฟรอมโฮมมากที่สุด

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย และ พล.อ.ท.นพ.การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงถึงการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์โควิด-19

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – วันที่ 11 สิงหาคม 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิดแล้ว 1,993 ราย เป็นคนไทย 1,315 ราย ชาวต่างด้าว 678 ราย เสียชีวิต 37 ราย โดยวันที่ 13 สิงหาคม พบเสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ที่ จ.ชัยนาท และ จ.อุดรธานี ในจำนวนนี้มีผู้รับวัคซีนแล้ว 10 ราย มีทารกติดเชื้อ 113 ราย เสียชีวิต 20 ราย เป็นการเสียชีวิตขณะคลอด 11 ราย และใน 7 วันแรก 9 ราย สำหรับจังหวัดที่พบติดเชื้อสูงสุดคือ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ 3 จังหวัดชายแดนใต้

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากระบบหมอพร้อม พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว 7,935 ราย และรับครบ 2 เข็ม อีก 574 ราย ทั้งนี้ สำหรับการระบาดรอบแรกพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไม่มาก เริ่มพบมากขึ้นในการระบาดรอบ 2 ช่วงเดือนธันวาคม 2563 – เดือนมีนาคม 2564 พบเดือนละ 5-25 ราย แต่พอเข้าระบาดรอบ 3 ช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นมา พบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบเดือนละมากกว่า 200 ราย จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พบมากถึง 800 ราย ขณะเดียวกัน เริ่มมีรายงานเสียชีวิตตั้งแต่เดือนเมษายน และจากนั้นก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ ช่วงอายุ 20-34 ปีติดเชื้อ 1,479 ราย คิดเป็น ร้อยละ 74.21 อายุ 35 ปีขึ้นไปติดเชื้อ 382 รายคิดเป็น ร้อยละ 19.17 อายุต่ำกว่า 20 ปีติดเชื้อ 101 รายคิดเป็น ร้อยละ 5.07 และไม่ระบุอีก 31 รายคิดเป็น ร้อยละ 1.56 ในจำนวนนี้ พบว่าเกิดอาการปอดอักเสบ 449 ราย คิดเป็น ร้อยละ 22.53 แบ่งเป็นอายุต่ำกว่า 20 ปี 9 ราย อายุ 20-34 ปี 269 ราย อายุ 35 ปีขึ้นไป 105 ราย และไม่ระบุ 23 ราย

ข้อมูลถึงวันที่ 11 สิงหาคม พบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ คลอดแล้ว 1,129 รายคิดเป็น ร้อยละ
Lif
55.65 ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดคลอด ร้อยละ 53.73 ที่น่าสังเกตคือ พบการคลอดก่อนกำหนด (37สัปดาห์) เกือบ ร้อยละ 18 ซึ่งปกติประเทศไทย พบคลอดก่อนกำหนดประมาณ ร้อยละ 10 นอกจากนี้ พบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ร้อยละ 16.77 ซึ่งปกติเราจะพบเพียง ร้อยละ 8

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเสียชีวิต 37 ราย พบว่าอยู่ในกรุงเทพฯ 7 ราย ต่างจังหวัด 30 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิตก่อนคลอด 16 ราย และหลังคลอดอีก 16 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปอดอักเสบที่ติเชื้อโควิด 35 ราย มีเพียง 2 ราย ที่เกิดจากภาวะทางสูติกรรม ส่วนทารกที่คลอดออกมา 16 ราย ข้อมูล 13 ราย พบว่าทารกไม่ติดเชื้อ 6 ราย ซึ่งญาติรับกลับไปดูแล ติดเชื้อ 2 ราย และเสียชีวิต 5 ราย กรณีเสียชีวิต พบปัจจัยเสี่ยง อ้วน 4 ราย อายุ 35 ปีขึ้นไป 10 ราย เบาหวาน 2 ราย ความดันโลหิตสูง 1 ราย ใช้สารเสพติด 1 ราย ไม่ได้ระบุ 19 ราย ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อจากบุคคลในครอบครับ ที่ทำงานและตลาด

“วิเคราะห์การเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์จากข้อมูลที่หาสาเหตุได้ จำนวน 23 ราย พบว่า เกิดจาก 1.ปัจจัยตั้งครรภ์ ร้อยละ 9 การเข้าถึงบริการ ร้อยละ 21 และข้อจำกัดภายในระบบบริการ ร้อยละ 70 ดังนั้น การยกระดับมาตรการดูแลจึงเน้นระดับบุคคล เช่น การป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด เมื่อสงสัยติดเชื้อสามารถตรวจหาเชื้อด้วยแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) สนับสนุนให้ทำงานที่บ้าน

โดยกลุ่มสำคัญคือ ที่ยังรับวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม กลุ่มอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป กลุ่มภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และกลุ่มที่อยู่ในรสถานประกอบการ จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำเป็นให้ทำงานจากที่บ้าน และเข้ารับการฉีดวัคซีน หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพราะมีความเสี่ยงโรคที่รุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มอ้วนและโรคประจำตัว” นพ.สุวรรณชัย กล่าวและว่า ผลข้างเคียงหลังรับวัคซีนเหมือนคนทั่วไป และหญิงให้นมบุตรก็ฉีดได้


ขอบคุณที่มา    ข่าวมติชน

โพสต์โดย : ปลายน้ำ