Social :



นักวิชาการ เตือนดาราโพสต์โชว์หวยทางโซเชียล ผิดพ.ร.บ.พนัน พร้อมเตือนผู้ปกครอง ใช้ลูกเป็นครื่องมือเสี่ยงโชค เป็นการทำร้ายเด็ก

14 ส.ค. 64 15:08
นักวิชาการ เตือนดาราโพสต์โชว์หวยทางโซเชียล ผิดพ.ร.บ.พนัน พร้อมเตือนผู้ปกครอง ใช้ลูกเป็นครื่องมือเสี่ยงโชค เป็นการทำร้ายเด็ก

นักวิชาการ เตือนดาราโพสต์โชว์หวยทางโซเชียล ผิดพ.ร.บ.พนัน พร้อมเตือนผู้ปกครอง ใช้ลูกเป็นครื่องมือเสี่ยงโชค เป็นการทำร้ายเด็ก

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม นายธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน กล่าวในการเสวนาออนไลน์ เรื่อง “คนดังโชว์หวย ความถูกต้องเหมาะสม และผลประโยชน์” จัดโดย มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ร่วมกับ เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์เพื่อการขับเคลื่อนสังคม ว่า จากการติดตามเก็บข้อมูลของเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนสังคม หรือมีเดียมูฟ พบว่า ในไอจีดาราที่นิยมโพสต์ภาพซื้อหวย ถูกหวยทีละมากๆ จะมีจำนวนยอดผู้ติดตามและกดไลค์สูงขึ้นสองถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับการโพสต์เรื่องอื่นๆ แสดงว่า เรื่องหวยเป็นประเด็นที่คนสนใจติดตาม

นายธนากรกล่าวอีกว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ดาราโชว์หวยประชาชนคิดอย่างไร” กลุ่มตัวอย่าง 471 คน ระหว่างวันที่ 15-19 ก.ค. พบ 82% เห็นว่าดารานักร้องโพสต์ภาพและเรื่องเล่าเกี่ยวกับการซื้อสลากฯ มีผลทำให้คนไทยอยากซื้อสลากฯหรือเล่นหวยมากขึ้น ขณะที่ 81% ระบุว่า ไม่เหมาะสม หากดาราโพสต์ภาพโชว์ซื้อหวยทีละมากๆ สิบยี่สิบใบ หรือ โชว์ว่า “ลูกให้โชค” หรือโพสต์เพื่อหวังผลสร้างคะแนนนิยมส่วนตัว และเมื่อถามว่า การใบ้หวยเป็นสิ่งผิดกฎหมายหรือไม่? พบว่า 60% คิดว่าไม่ควรผิดกฎหมาย

“ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า ในสายตาประชาชน การใบ้หวยไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายขนาดต้องผิดกฎหมาย แต่เรื่องการโพสต์โชว์การซื้อหรือถูกหวยมากๆ ของดาราทั้งหลายก็เป็นเรื่องที่สังคมเห็นว่าเกินขีดของความเหมาะสม จึงอยากเตือนบรรดาคนดังต่าง ๆ ที่นิยมโพสต์โชว์เรื่องนี้ว่า การโฆษณาที่ทำให้คนคิดว่าจะถูกหวยหรือชนะพนันต่างๆ ได้ง่ายๆ เป็นการหลอกลวง ผิดจากความเป็นจริง” นายธนากรกล่าว


ด้าน ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ กล่าวว่า กรณีที่ดาราออกมาโพสต์ในลักษณะนี้ถือว่าผิดกฎหมายหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.การพนัน มาตรา 12 โทษฐานช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเล่นพนัน  นอกจากนั้น ยังเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล ในกรณีซื้อสลากชุดทีละมากๆ เป็นสิบๆใ บ หรือการซื้อสลากฯเกินราคา เพราะเป็นการพบเห็นการกระทำผิดแล้วไม่แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐ

อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนและโฆษณาเผยแพร่ อีกทั้งยังผิดตามมาตรา 14 ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่อาจตีความได้ว่าเป็นการนำข้อมูลในลักษณะบิดเบือนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกฎหมายนี้เขียนครอบคลุมในกรณีลักษณะนี้ไว้ด้วย อยากฝากให้หน่วยงานภาครัฐอย่างกระทรวงดีอีเอส รวมถึงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ออกมาปกป้องผู้บริโภคให้มากกว่านี้

Lif
ส่วน ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน นักวิชาการด้านสื่อมวลชนและครอบครัว กล่าวว่า ในส่วนการนำลูกเข้ามาเกี่ยวข้องในการเสี่ยงโชค อาจส่งผลต่อเด็กโดยไม่รู้ตัว คือ ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบพ่อแม่ บ่มเพาะให้เด็กเห็นว่าการเสี่ยงโชคเป็นเรื่องปกติและทำตามในวันใดวันหนึ่ง และอาจเกิดการเปรียบเทียบ หากพ่อแม่ชอบนำลูกไปเทียบกับเด็กอื่น ว่าทำไมลูกบ้านนั้นให้โชค ทำไมลูกบ้านเราเป็นตัวซวย คำพูดในทำนองนี้ ผู้ใหญ่อาจคิดว่าไม่เป็นไร

แต่สำหรับเด็กแล้วเขากำลังถูกประทับตราลงไปในตัวตนที่กำลังจะเติบโต และการเอาภาพ ข้อมูลของเด็กลงในอินเตอร์เน็ตอาจนำภัยมาถึงตัวเด็กได้ เพราะมีมิจฉาชีพที่จ้องแสวงประโยชน์จากเด็กอยู่ อยากฝากถึงสถาบันครอบครัว ควรรักลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสม พฤติกรรมซ้ำๆ ของพ่อแม่จะนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ของลูก ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการออกแบบชีวิตลูกว่าจะเป็นแบบไหน


ผศ.เจริญเนตร แสงดวงแข หัวหน้าสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่กล่าวว่า ดาราหรือคนดังคือผู้มีอิทธิพลทางความคิด  เป็นภาพจำให้ผู้ชมอยากมีชีวิตตามแบบ เพราะเป็นผู้มีแรงดึงดูดใจ เมื่อมาประกอบกับพื้นฐานเดิมของผู้ชม จะทำให้ผู้ชมเกิดพฤติกรรมคล้อยตาม เช่นในสถานการณ์โควิด อาจทำให้ผู้ชมบางคนหันมาซื้อหวยมากๆ อย่างที่ดาราทำ

ฉะนั้น ความน่าเชื่อถือของดาราบวกกับความถี่ของการโพสต์เนื้อหา จะเป็นสิ่งที่ส่งอิทธิพลต่อผู้ชมมากน้อยแตกต่างกันไป ตัวดาราที่ออกมาโพสต์โชว์หวยเช่นนี้อาจหวังผลในการสร้างตัวตน สะสมความน่าสนใจ เพื่อให้มีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้ชม นำมาซึ่งการเลียนแบบพฤติกรรม บุคลิกภาพ หรือถึงขั้นเลียนแบบจิตใจ จึงอยากให้ผู้ชมรู้เท่าทัน การใช้สื่อโซเชียลสร้างตัวตนของดารา ที่อาจหวังผลทางธุรกิจหรือผลประโยชน์อื่น


ขอบคุณที่มา     ข่าวมติชน

โพสต์โดย : ปลายน้ำ