Social :



เหตุเชื้อซึมลึกถึงครัวเรือน “กนก” ห่วง สิงหาอันตราย ส่อยอดติดโควิดทะลุล้าน

15 ส.ค. 64 10:08
เหตุเชื้อซึมลึกถึงครัวเรือน “กนก” ห่วง สิงหาอันตราย ส่อยอดติดโควิดทะลุล้าน

เหตุเชื้อซึมลึกถึงครัวเรือน “กนก” ห่วง สิงหาอันตราย ส่อยอดติดโควิดทะลุล้าน

“กนก” ห่วง สิงหาอันตราย ส่อยอดติดโควิดทะลุล้าน ตายแตะหลักหมื่น เหตุเชื้อซึมลึกถึงครัวเรือน แนะ รีบค้นหาผู้ติดเชื้อ ล็อกดาวน์ชุมชน ช่วยเหลือทันที
 


นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ในเดือนสิงหาคมนี้น่าจะได้เห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อหลักล้าน ผู้เสียชีวิตมีโอกาสแตะหลักหมื่น แม้จะมีการล็อกดาวน์แล้ว แต่เนื่องจากการติดเชื้อซึมลึกถึงชุมชนและครัวเรือน ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยากลำบากสิ่งที่ต้องเร่งทำโดยด่วนคือ เข้าให้ถึงผู้ป่วยที่ตกค้างอยู่ในบ้านและชุมชนให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้คนเหล่านี้เข้าถึงการรักษาและหยุดยั้งการแพร่ระบาดด้วยการล็อกดาวน์ชุมชนนั้น ๆ ทันที โดยภาครัฐเข้าไปดูแลเรื่องอาหารการกินให้ทั้งชุมชนตลอด 14 วัน ไม่ใช่แค่ดูแลผู้ป่วยในโฮมไอโซเลชันเท่านั้น ไม่เช่นนั้นไม่มีทางจบ ในวิกฤตเช่นนี้ต้องปรับระบบราชการให้ทันสถานการณ์โควิด จะใช้วิธีการแบบปกติไม่ได้เราจะต้องใช้ระบบการบริหารราชการแบบวิกฤติ 




ดังนั้นสิ่งที่ระบบราชการจะต้องปรับปรุงเพื่อให้เป็นการบริหารราชการแบบวิกฤติ คือ การคิดล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวที่จะรับมือปัญหา ไม่ใช่วิ่งตามแก้ปัญหาเตรียมยาฟาวิพิราเวียร์ให้เพียงพอ และต้องให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเหล่านี้ได้โดยง่ายด้วย เพื่อยับยั้งไม่ให้จากผู้ป่วยสีเขียวกลายเป็นเหลืองและแดงจนเสียชีวิตคาบ้าน ความสูญเสียจะเกิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ความเร็วของการปฏิบัติการ เพราะอาการผู้ป่วยโควิด-19 หากพบอาการติดเชื้อโควิด-19 แล้วภายใน 4 วัน ถ้าไม่ได้รับการรักษา โอกาสที่อาการจะรุนแรงจนกระทั่งถึงขั้นเสียชีวิตมีสูงมาก จึงต้องทำให้เร็ว

Lif


รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันนี้ผู้ป่วยโควิด-19 มีจำนวนมาก ซึ่งโรงพยาบาลสนามเต็มหมดแล้ว คำถามคือเราจะเตรียมการอย่างไรให้อย่างรวดเร็ว เพราะคนตรวจ PCR แล้วผลออกมาเป็นบวกติดเชื้อโควิด-19 แล้วถูกจัดเป็นผู้ป่วยสีเขียว การเข้าสู่ระบบการรักษา ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้เข้าสู่ระบบการรักษา รวมทั้งยารักษาและเครื่องมืออุปกรณ์ ในการรักษาตัว แม้กระทั่งการทำวิดีโอคอลกับแพทย์ ซึ่งระบบวางไว้ในการรักษาทำได้หรือไม่ อาหารที่จะต้องส่งให้ผู้ป่วยส่งถึงจริงหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการปฏิบัติทั้งสิ้นที่ต้องใช้ความเร็วเป็นตัวที่สำคัญ เมื่อจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ การจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม การจัดหาเครื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องมีเรื่องของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่าย การอนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณก็ล่าช้า กฎระเบียบของกรมบัญชีกลางในการใช้เงินก็ยุ่งยาก เพราะข้าราชการคิดว่าขณะนี้เป็นการบริหารราชการปกติ ไม่สนใจปัญหาวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชน ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ที่ต้องการความเร็ว สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไขเพราะกฎระเบียบทำให้เกิดความล่าช้า สำคัญที่สุดคือการบูรณาการร่วมกัน



“สำคัญที่สุดคือ จิตสำนึกของข้าราชการ ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ด้วยสำนึกในหน้าที่ตามปกติไม่เพียงพอแล้ว เราจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยสำนึกที่จะต้องการรักษาชีวิตของประชาชน เพราะฉะนั้นการทำงานด้วยจิตสำนึกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความปลอดภัยของประชาชนคือสิ่งที่สำคัญสูงสุดและถือเป็นความสำเร็จของการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการทุกคน วันนี้ต้องขอชื่นชมแพทย์พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลาย ท่านเหล่านี้ได้เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกที่ดีอย่างมาโดยตลอด ส่วนข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ควรจะนำเป็นแบบอย่างเพื่อให้การบริหารราชการแบบวิกฤติเกิดผลสำเร็จ




ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy