Social :



‘บิ๊กตู่’ ใช้ ม.44 ปลดล็อก รถ-เรือดับเพลิง กทม.! ขนซากมาซ่อม ลอตแรก 176 คัน

30 ส.ค. 59 09:36
‘บิ๊กตู่’ ใช้ ม.44 ปลดล็อก รถ-เรือดับเพลิง กทม.! ขนซากมาซ่อม ลอตแรก 176 คัน

‘บิ๊กตู่’ ใช้ ม.44 ปลดล็อก รถ-เรือดับเพลิง กทม.! ขนซากมาซ่อม ลอตแรก 176 คัน

บิ๊กตู่ ใช้ ม. 44 ปลดล็อก รถ-เรือดับเพลิง กทม.! ขนซากมาซ่อม 

ลอตแรก 176 คัน

 


รถพวกนี้เป็นรถที่ติดคดีสมัยผู้ว่าฯ สมัครไปซื้อไว้ แล้วโดนคดีทุจริต ต้องจอดทิ้งไว้ร่วม 10 ปี โดยเช่าที่เอกชนจอดทิ้งไว้ตั้งแต่ปี 49 จนคดีสิ้นสุดแล้ว แต่นำมาใช้ไม่ได้เพราะต้องเสียภาษีศุลกากร 2,000 กว่าล้าน จนล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 59 คสช.ใช้ ม. 44 สั่งให้ รถดับเพลิง-รถกู้ภัย เป็นยุทธภัณฑ์ ยกเว้นภาษี จนนำออกมาใช้ได้ แต่ก็ต้องนำมาซ่อมก่อน เพราะรถส่วนใหญ่พัง ยางแบน ขับออกมาไม่ได้

 

 

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 59 นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในการปล่อยขบวนเคลื่อนย้ายรถดับเพลิง ซึ่งจอดอยู่พื้นที่ของบริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จำนวน 176 คัน โดยวันนี้ได้เคลื่อนย้ายรถดับเพลิงชนิด 4x4 พร้อมเครื่องสูบน้ำชนิดหาบหาม จำนวนทั้งสิ้น 72 คัน โดยวิธีการลากจูงเป็นหลัก เนื่องจากรถถูกจอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน จึงมีปัญหาเรื่องยางและเครื่องยนต์

 

โดยช่วงเช้าสามารถเคลื่อนย้ายรถขนาดเล็ก ยี่ห้อมิตซูบิชิ สีเหลือง ประมาณ 40-50 คัน และในช่วงบ่าย 15.00 น. จะเริ่มทยอยเคลื่อนย้ายรถดับเพลิงครั้งละ 10 คัน คาดว่าวันนี้ ( 29 ส.ค. 59) จะเคลื่อนย้ายรถได้ทั้งหมด 72 คัน และตั้งเป้าเคลื่อนย้ายรถทั้ง 176 คัน ให้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์นี้ ( 2 ก.ย. 59)

 

ในส่วนรถที่ประเมินว่าสามารถขับได้ เจ้าหน้าที่จากกองปฏิบัติการดับเพลิงจะขับเคลื่อนไปด้วยความระมัดระวัง เบื้องต้นจะเคลื่อนย้ายไปไว้ยังสถานที่จอดภายในสถานีดับเพลิงสามเสน ตลิ่งชัน ลาดยาว บางแค ก่อนดำเนินการซ่อมแซมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อไป   ทั้งนี้ จะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อร่างประกวดราคากลางหาผู้รับจ้างมาซ่อมแซมรถดับเพลิง ภายใต้งบประมาณ 181 ล้านบาท

 

 

 

การดำเนินการในครั้งนี้ของ กทม. เป็นไปตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2559 ที่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ดําเนินการกับของที่เก็บในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี และของที่ใช้เป็นยุทธภัณฑ์เพื่อบรรเทาสาธารณภัย ออกจากเขตปลอดอากร เพื่อใช้หรือจําหน่ายในราชอาณาจักร โดยชําระภาษีอากรให้ถูกต้อง หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 90 วัน ในกรณีที่มิได้ดําเนินการภายในระยะที่กําหนด ให้ถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นของตกค้างตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และให้อธิบดีกรมศุลกากรดําเนินการกับของตกค้างนั้น ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในกฎหมาย

 

และจากคำสั่ง คสช.ที่ 51/2559 ปลัดกระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้ลงนามคำสั่งให้รถดับเพลิงเป็นยุทธภัณฑ์ แต่รถดับเพลิงและอุปกรณ์ทั้งหมดจะเป็นทรัพย์สินของ กทม. เนื่องจาก กทม.เป็นผู้ซื้อ

 

สำหรับรถดับเพลิงดังกล่าว กทม.ได้ขอเช่าที่เอกชนจอดมานานนับสิบปี ภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาเอาผิดผู้บริหาร กทม. นักการเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง จำนวนกว่า 300 คัน มูลค่า 6,687 ล้านบาท กับบริษัทสัญชาติออสเตรีย ทยอยส่งมอบตั้งแต่ ปี 2549  ต่อมาศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ตัดสินให้รถและเรือดังกล่าวเป็นของ กทม. ขณะที่ทางบริษัทคู่สัญญาได้จ่ายค่าเยียวยาให้ กทม. 20.5 ล้านยูโร  

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังมีปัญหาเรื่องค่าเช่าที่จอดรถ ที่ถูกเรียกร้องเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท จนกระทั่งมีประกาศหัวหน้า คสช. ปลดล็อกเรื่องภาษีดังกล่าว ทาง กทม.จึงนำรถที่จอดมานานจนน่าจะเรียกได้ว่าเป็นซากรถ มาซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อไป

 

ส่วนรถดับเพลิงที่จอดในโกดังเก็บสินค้าของบริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 139 คันนั้น ยังไม่สามารถนำออกมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างเจรจาค่าเช่าที่จอดรถ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้คิดค่าที่จอดวันละ 270,000 บาท ปัจจุบันมียอดรวมกว่า 900 ล้านบาท

 

MulticollaC

แต่ กทม.มองว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป จึงขอต่อรองให้คิดค่าจอดรถตั้งแต่วันที่อนุญาโตตุลาการตัดสินให้ทรัพย์ตกเป็นของ กทม. คือตั้งแต่เดือน ธ.ค. 57 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท

 

โดยในวันที่ 26 ก.ย.นี้ จะมีการนัดไกล่เกลี่ยค่าเช่าที่จอดรถซึ่งมีศาลเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยระหว่าง กทม.กับ บริษัทนามยง คาดว่าจะได้ข้อยุติ ถ้าสามารถนำรถดับเพลิงทั้งหมดออกมาซ่อมแซม จะเพียงพอต่อการดูแลประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งรถดับเพลิงที่ กทม.ได้รับโอนจาก สตช. เมื่อปี 2547 ร้อยละ 35-40 ใช้การไม่ได้แล้ว

 



http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order51-2559.pdf


เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 59 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 51/2559 เรื่อง การดําเนินการกับของที่เก็บในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี และของที่ใช้เป็นยุทธภัณฑ์เพื่อบรรเทาสาธารณภัย โดยที่ปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีรถยนต์และของที่จัดเก็บในเขตปลอดอากรตามกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากร ตลอดจนเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฝากหรือเก็บอยู่เป็นเวลานานหลายปีโดยเปล่าประโยชน์ มิได้มีการนำรถยนต์และของนั้นออกจากเขตพื้นที่ดังกล่าว ...เป็นเหตุให้เกิดภาระในการจัดหาสถานที่เพื่อการจัดเก็บ และภาระด้านค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรักษา ...รัฐจึงขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรจากรถยนต์หรือของนั้น ในขณะที่รถยนต์และของที่จัดเก็บก็เสื่อมสภาพ เสื่อมราคา และเสื่อมประโยชน์ไปเรื่อยๆ อันส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณแผ่นดินและระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีรถยนต์บางประเภทที่ทางราชการนำเข้ามาเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ต้องเก็บรักษาไว้เพราะมีคดี จนบัดนี้คดีสิ้นสุดแล้ว ก็ยังไม่สามารถนำรถยนต์ดังกล่าวออกมาใช้งานตามความประสงค์ของทางราชการได้ ในขณะที่รถยนต์เหล่านั้นเสื่อมสภาพไม่พร้อมจะใช้งานลงเรื่อยๆ รัฐเองก็เสียค่าใช้จ่ายในการฝากหรือเก็บรักษานับพันล้านบาท หากทิ้งไว้โดยไม่นำมาซ่อมเพื่อใช้งานก็จะเสียประโยชน์ เสียงบประมาณหลายพันล้านบาท และยังต้องเสียงบประมาณเพิ่มในการจัดหาใหม่มาทดแทน การทิ้งไว้จึงกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประโยชน์สาธารณะ และราชการแผ่นดิน... ดังนั้น หากได้มีการดำเนินการเพื่อนำรถยนต์หรือของที่จัดเก็บอยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าวออกมา จะเป็นการลดภาระในด้านงบประมาณหลายพันล้านบาททางหนึ่ง และก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐด้านภาษีอากรอย่างมากอีกทางหนึ่ง อีกทั้งรถยนต์บางประเภทที่จัดเก็บอยู่ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการในการบริการสาธารณะหรือเพื่อป้องกันบรรเทาสาธารณภัยให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย



จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557… ให้ผู้ที่นํารถยนต์ใหม่สําเร็จรูปตามประเภทพิกัดศุลกากร 8702 และ 8703 เข้ามาในราชอาณาจักร และได้นําเข้าเก็บในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ปี แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ โดยเป็นของที่ยังไม่ได้ตรวจปล่อยออกไป นํารถยนต์ดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้หรือจําหน่ายในราชอาณาจักร โดยชําระภาษีอากรให้ถูกต้อง หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ

 

ในกรณีที่มิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นของตกค้างตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และให้อธิบดีกรมศุลกากรดําเนินการกับของตกค้างนั้น ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร



ทั้งนี้ รถยนต์ใหม่สําเร็จรูปตามประเภทพิกัดศุลกากร 8702 และ 8703 ที่เก็บอยู่ในเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี นอกจากที่กําหนดไว้...ให้เก็บไว้ต่อไปได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่นําเข้าเก็บครั้งแรก...

 

กรณีมีความจําเป็น อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาจขยายระยะเวลา แล้วแต่กรณีที่เห็นสมควร   นอกจากนี้ ของที่นําเข้าเก็บไว้ในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนด ให้นําของนั้นออกจากเขตปลอดอากร เพื่อใช้หรือจําหน่ายในราชอาณาจักรโดยชําระภาษีอากรให้ถูกต้อง หรือส่งของนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร หากมิได้ปฏิบัติตาม ให้ถือว่าสิทธิการยกเว้นภาษีอากรสําหรับของดังกล่าวสิ้นสุดลง และให้จัดเก็บภาษีอากรสําหรับของนั้นตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร นับแต่วันที่ครบกําหนด



อย่างไรก็ตาม สำหรับรถดับเพลิง รถกู้ภัย รถไฟส่องสว่าง และรถบรรทุก ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร ในโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทางท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 27 ม.ค. พ.ศ. 2549 จํานวน 176 คัน และวันที่ 6 ก.พ. พ.ศ. 2550 จํานวน 139  คัน ให้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ผู้นําของเข้ารับไว้ใช้ในราชการ เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ให้ได้รับการยกเว้นอากร   นับแต่วันที่นําของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ในส่วนของการควบคุมยุทธภัณฑ์ ให้ กทม.ทําความตกลงร่วมกับกระทรวงกลาโหมในการดําเนินการ



คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ 25 ส.ค. พ.ศ. 2559

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.














ภาพจาก ศูนย์วิทยุพระราม สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร

 

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด