Social :



“อนุทิน” แจงโควิดกระจอก หากดูแลสุขภาพจะทำอะไรคนไทยไม่ได้ อย.จ่อขึ้นไฟเขียว “ซิโนแวค” ฉีดเด็ก 3 ขวบ

19 ธ.ค. 64 08:12
“อนุทิน” แจงโควิดกระจอก หากดูแลสุขภาพจะทำอะไรคนไทยไม่ได้ อย.จ่อขึ้นไฟเขียว “ซิโนแวค” ฉีดเด็ก 3 ขวบ

“อนุทิน” แจงโควิดกระจอก หากดูแลสุขภาพจะทำอะไรคนไทยไม่ได้ อย.จ่อขึ้นไฟเขียว “ซิโนแวค” ฉีดเด็ก 3 ขวบ

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องโควิด-19 กระจอก ว่า การให้สัมภาษณ์ถึงโควิด-19 แต่ละครั้ง มักจะเน้นย้ำถึงสถานการณ์จริงเสมอ โดยก่อนที่จะพูดถึงคำว่าโควิดกระจอกได้นั้น ก็จะต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ เห็นภาพว่าคนไทยเข้าใจโควิดดีมาก ให้ความร่วมมือกันภาครัฐ ปฏิบัติตามมาตรการที่ สธ.แนะนำอย่างดี ทำให้การติดเชื้อภายในประเทศ มีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 2.2% เท่านั้น ส่วนเรื่องของการพบสายพันธุ์ใหม่ นั่นเป็นธรรมชาติของโรคระบาดที่มีการปรับตัวให้อยู่กับมนุษย์ให้ได้ ซึ่งประเทศไทยมีมาตรการรองรับที่ดี อย่างที่เคยพบสายพันธุ์เบต้าในภาคใต้ อ.เกาะสะท้อน จ.นราธิวาส แต่ด้วยความร่วมกันไม่มีการระบาดของเบต้าในไทย

“กระจอกที่หมายถึงคือไวรัสมันทำอะไรคนไทยไม่ได้ หากทุกคนเข้าใจและเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี รู้ว่าจะรับมือโควิดอย่างไร มันก็จะเป็นโรคกระจอก” นายอนุทินกล่าว

ด้านนพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า สำหรับวัคซีนเชื้อตายที่มีการขอขยายกลุ่มอายุการฉีดในเด็กได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำลังพิจารณาทั้งวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์ม จากข้อมูลการทดลองในเฟส 3 โดยวัคซีนซิโนแวค มีความคืบหน้ามากกว่า เพราะส่งข้อมูลด้านความปลอดภัยวัคซีนมาแล้ว เป็นการศึกษาในหลายพื้นที่ เช่น อินโดนีเซีย
MulticollaC
ประเทศทางอเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง กำลังรอข้อมูลด้านประสิทธิภาพ เบื้องต้นที่ดูก็ใช้ได้แต่จะต้องดูอย่างละเอียดว่าป้องกันการติดเชื้อได้กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับภูมิต้านทานของร่างกาย เป็นการศึกษาอายุ 3-17 ปี จะพิจารณาตามอายุ เนื่องจากต้องดูว่าเด็กแต่ละอายุ ต้องใช้ขนาดเท่าไหร่ แล้วผลเป็นอย่างไร

“คล้ายกับไฟเซอร์ที่ทยอยทำแล้วขึ้นทะเบียน แต่ซิโนแวค ทำการศึกษาย่อยที่ทำพร้อมกันทีเดียวทุกกลุ่มอายุ ต่างจากวัคซีนทางตะวันตก ที่ค่อยๆ ขยับ เพื่อความปลอดภัยในการทดลอง คาดว่าซิโนแวคน่าจะเข้าเป้าเร็วกว่าซิโนฟาร์ม น่าจะส่งข้อมูลให้ อย.ครบถ้วนภายในกลางเดือน ม.ค.65 จะใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์ในการประเมินก่อนอนุญาตใช้” นพ.สุรโชคกล่าว

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การตรวจหาเชื้อโอไมครอนนั้น ทางกรมวิทย์ได้ติดตามตรวจหาเชื้ออย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากตอนนี้เป็นการเปิดประเทศ แม้จะมีเงื่อนไขของการเดินทางเข้ามา แต่ก็พบว่า ยังมีคนเดินทางมาต่อเนื่องและท้ายสุดก็มีความเป็นไปได้ที่จะพบผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณที่มา   ข่าวมติชน

โพสต์โดย : ปลายน้ำ