Social :



สมเด็จวัดระฆัง แร่ทองบางสะพานจาก 'หนังสือพระสมเด็จฯ'

03 ก.ย. 59 18:09
สมเด็จวัดระฆัง แร่ทองบางสะพานจาก 'หนังสือพระสมเด็จฯ'

สมเด็จวัดระฆัง แร่ทองบางสะพานจาก 'หนังสือพระสมเด็จฯ'

สมเด็จวัดระฆัง แร่ทองบางสะพานจาก 'หนังสือพระสมเด็จฯ' เรียบเรียงโดย ตรียัมปวาย : พระองค์ครู รูป/เรื่องไตรเทพ ไกรงู

             “หนังสือพระสมเด็จ” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงโดยตรียัมปวาย หรือพันเอก ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้บัญญัติศัพท์ เบญจภาคีอันโด่งดัง เป็นหนังสือเชิงวิชาการรวบรวมชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และตำนานการสร้างพระสมเด็จฯ โดยกล่าวไว้ทั้งสามวัดอย่างละเอียด พร้อมด้วยรูปภาพประกอบ (ขาว-ดำ)

             ทั้งนี้ พ.ต.ท.สรารักษ์ กิตติประวัติ บุตรชาย อ.ตรียัมปวาย มีการรวมเนื้อทั้งหมดไว้ในหนังสือ “พระสมเด็จฯ ตำราพิจารณาพระสมเด็จฯ เล่มแรกของประเทศไทย” โดยสำนักพิมพ์ไทภูมิจำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ โดยเขียนไว้ในส่วนหนึ่งของคำนำว่า

             “เจตนารมณ์อีกประการหนึ่ง คือ ดำรงตำราเล่มนี้ให้คงอยู่ตลอดไปเพื่อประโยชน์ในด้านความรู้ของท่านที่สนใจพระสมเด็จฯ เพื่อความกระจ่างแจ่มจริง และการศึกษาอย่างถูกแนวทาง กระผมเชื่อมั่นว่าตำราเล่มนี้จะเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้ศึกษาและเข้าใจพระสมเด็จฯ ได้อย่างถ่องแท้ สมกับเจตนารมณ์ของตียัมปวาย ผู้ประพันธ์”

             อย่างไรก็ตามมีผู้สะสมพระชุดเบญจภาคี โดยเฉพาะพระสมเด็จจำนวนไม่น้อยเข้าใจและคิดว่าพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ที่มีส่วนผสมของทรายเงินทรายทองไม่มีอยู่จริง ทั้งนี้ เมื่อหลายสิบปีก่อนมีปูชนียบุคลในวงการพระเครื่องท่านหนึ่งเคยครอบครองพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีส่วนผสมของแร่ทองคำเนื้อเก้า (ทองคำเนื้อสุก) และแร่ทองบางสะพานซึ่งเป็นการสร้างให้เจ้านายผู้สูงศักดิ์รวมทุกพิมพ์น่าจะไม่เกิน ๔๐ องค์ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ มีการเขียนมูลค่าของพระสมเด็จองค์นี้ในพินัยกรรมว่าห้ามขายในราคาต่ำกว่า ๖๐ ล้านบาท

             ในการพิจารณาเนื้อพระสมเด็จนั้น

Lif
“ตรียมปวาย” เขียนถึงมูลลักษณะรอง คือ มูลฐานลักษณะที่ไม่ปรากฏเด่นชัด และบางประการยังไม่ปรากฏก็ได้ ดังนี้ ๑.ความแกร่ง เป็นลักษณะของความแกร่งที่แฝงอยู่ภายในโครงสร้างของเนื้อ ส่วนผิวเนื้อภายนอกจะปรากฏแต่ความนุ่มโดยตลอด ๒.น้ำหนักปกติจะมีความอิ่มตัวพอประมาณ ซึ่งหมายถึงน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง หรือค่อนข้างมาก นอกจากจะเป็นองค์ที่สันฐาน บอบบาง ๓.ทรายเงินทรายทอง มีปรากฏเป็นส่วนน้อย และปริมาณน้อยมาก และ ๔.รักเก่า ทองเก่า มีปรากฏบ้าง

             ในหน้าที่ ๔๐๔ เขียนถึง “มูลกรณีทรายเงินทรายทอง” ไว้ว่า เป็นอิทธิวัสดุซึ่งกล่าวไว้แล้วในมูลกรณีของเนื้อ ทั้งนี้ คตินิยมของการสร้างพระศักรพุทธปฏิมาสืบเนื่องมาจากโบราณไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อโลหะหรืออโลหะก็ตาม มักจะเจือด้วยธาตุทองคำและเงินบริสุทธิ์เสมอ โดยถือว่าเป็นสินแร่ตระกูลสูงกว่าสามัญโลหะทั้งหลาย มีความศักดิ์สิทธิ์อิทธิพลโดยธรรมชาติที่เรียกว่า “ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” นำมารีดเป็นแผ่นแล้วประสิทธิด้วยพระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๘ เป็นต้น แล้วจึงตะไบออกเป็นเกล็ดเป็นผง เจือผสมลงในมวลสารของเนื้อเป็นอิทธิวัสดุ

             หน้าที่ ๔๐๓ ได้เขียนถึง “ทรายเงินทรายทอง” ไว้ว่า ทรายเงินทรายทอง คือ ผงตะใบจากแผ่นเงินแผ่นทองลงคุณพระ มีลักษณะเป็นผงที่ละเอียดมาก และเป็นมวลสารที่ปรากฏตัวน้อยที่สุด สังเกตเห็นได้เพียงบางองค์เท่านั้น สำหรับองค์ที่ปรากฏก็มีเพียงเกล็ดสองเกล็ดเท่านั้นเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะจมอยู่ในเนื้อลึก หรือมิเช่นนั้นก็เป็นส่วนที่ใช้เจือผสมเนื้อเพียงเล็กน้อยมาแต่เดิม และที่ปรากฏมีของวัดระฆังเป็นส่วนมาก สำหรับบางขุนพรหมปรากฏน้อยมาก

             สมเด็จวัดระฆัง ซึ่งมีแร่ทองบางสะพานฝังอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังนั้น จัดว่าเป็นพระสมเด็จที่ว่ากันว่าหายากมาก เข้าใจว่ามีการจัดสร้างจำนวนน้อยมากๆ นับจากเวลาการสร้างพระสมเด็จเกือบสองทศวรรษแล้ว ถ้าจะเหลือคงเหลืออยู่ในความครอบครองของผู้สืบสกุลจากบรรดาเจ้านายชั้นสูงในสมัยก่อนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ครอบครองเนื้อแร่ทองบางสะพานต้องมี “๓ ถึง” คือ “บุญบารมีถึง เงินถึง และต้องใจถึง”

ที่มา  komchadluek.net

โพสต์โดย : nampuengeiei9760

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด