Social :



ป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน! ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก FATF

16 มี.ค. 65 06:03
ป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน! ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก FATF

ป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน! ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก FATF

ครม.เห็นชอบให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก FATF เพิ่มบทบาทการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน
 




นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้ไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF) ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ ซึ่งคณะทำงานเฉพาะกิจ FATF นี้ เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาล

 

จัดตั้งขึ้นโดยที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ G7 ในปี 2532 ปัจจุบันมีสมาชิก 39 ราย และมีเครือข่ายความร่วมมือ 9 แห่ง ในทุกภูมิภาคของโลก โดยทำหน้าที่ส่งเสริมและติดตามความคืบหน้าการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating Financing of Terrorism: AML/CFT)

 



การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) และเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง รวมถึงการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินระหว่างประเทศ

 

สำหรับกรอบระยะเวลาดำเนินการหลังจากไทยมีหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก FATF ภายในเดือนมีนาคม 2565 แล้ว ที่ประชุมใหญ่ FATF จะพิจารณาข้อมูล เช่น ขนาด GDP ขนาดภาคธุรกิจ ขนาดประชากร อิทธิพลต่อระบบการเงินโลก และจะพิจารณาเดินทางเยือนไทยเพื่อประเมิน และภายในปี 2566 หากผลการเยือนเป็นที่น่าพอใจ ที่ประชุมใหญ่ FATF จะพิจารณาเชิญประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม FATF ในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นเวลา 3 ปี แล้วจะทำการประเมินเพื่อพิจารณารอบสุดท้ายในการให้สมาชิกภาพกับไทยต่อไป

 

ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิก FATF ของไทย จะเพิ่มบทบาทการทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ในเวทีระหว่างประเทศ และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะประเทศที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไปในอนาคต

 

ทั้งยังกล่าวอีกว่าครม.เห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 3,185,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 85,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 และเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งหน่วยงานรับงบประมาณจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนจัดทำงบประมาณ

MulticollaC
 

กล่าวคือ เดือนมีนาคม 2565 เป็นขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณ เดือนเมษายน 2565 เปิดรับฟังความคิดเห็น รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็น จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงประมาณฯ พ.ศ.2566 และเอกสารประกอบ เดือนพฤษภาคม 2565 เสนอร่างพระราชบัญญัติงประมาณฯ พ.ศ.2566 ให้ ครม.พิจารณาก่อนส่งสภาผู้แทนราษฎรต่อไป


แค่กิน ผมก็หนา?! เสยผมอย่างมั่นใจ เปลี่ยนไปเหมือนคนละคน
HERRMETTO
สำหรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ที่ครม.อนุมัติ มีรายละเอียดดังนี้ รายจ่ายประจำ จำนวน 2,396,942.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 23,932.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01

 

รายจ่ายลงทุน จำนวน 695,077.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 83,144 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.59
และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 100,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ.2565

 

นอกจากนั้นนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ครม.อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี65 รอบที่ 2 วงเงิน 34,528 ล้านบาท ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เพื่อเป็นค่าบริการสาธารณสุขโรคโควิด-19 และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องของหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการแล้วระหว่างเดือนธ.ค.64 – ก.พ.65

 

โดยใช้งบประมาณจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดโควิด-19 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 ซึ่งโครงการนี้มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในไทย หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลที่จัดบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนและผู้ให้บริการสาธารณสุขทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สปสช. ประมาณการค่าบริการสาธารณสุขในช่วงเดือนมี.ค.- ก.ย.65 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ UCEP Plus และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้สอดคล้องกับการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจริง และเร่งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ UCEP Plus ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 16 มี.ค.นี้

 


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy