Social :



พระร่วงหลังรางปืน จักพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน

14 ก.ย. 59 14:09
พระร่วงหลังรางปืน จักพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน

พระร่วงหลังรางปืน จักพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน

ความเป็นมาของ พระร่วงหลังรางปืน

 

พระร่วงหลังรางปืน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “จักรพรรดิแห่งพระเครื่องเนื้อชิน” (เนื้อชินคือโลหะผสม มักมีตะกั่วเป็นหลัก อาจผสมเงิน ปรอท หรือโลหะอื่นๆตามสุตรและกรรมวิธีการสร้างของแต่ละอาจารย์) "พระร่วงหลังรางปืน" เป็นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมากและพระที่พบจำนวนน้อยนั้นยังมีพระที่ชำรุดอีก ด้วย พระร่วงหลังรางปืนมีเอกลักษณ์ที่ด้านหลังเป็นร่องรางจึงเป็นที่มาของชื่อพระว่า พระร่วงรางปืนในเวลาต่อมา

 

การค้นพบพระร่วงรางปืน

 

พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ถูกลักลอบขุดจากบริเวณพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่าชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แต่เดิมพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างลพบุรี สร้างขึ้นเป็นพุทธาวาสโดยตรง ได้รับการปฏิสังขรณ์และแก้ไขดัดแปลงหลายครั้งหลายครา ทั้งในสมัยสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาได้รับการขุดโดยกรมศิลปากรครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2497

 

พระร่วงหลังรางปืนได้ถูกคนร้ายลักลอบขุดในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2499 เวลาประมาณตี 3 คณะของคนร้ายมี 4 คน ลักลอบขุดเจาะฐานพระพุทธรูปในพระวิหารด้านทิศตะวันตกขององค์พระปรางค์ และได้งัดเอาศิลาแลงออกไปประมาณ 8 ก้อน พบไหโบราณ 1 ใบ อยู่ในโพรงดินปนทรายลักษณะคล้ายหม้อทะนน หรือกระโถนเคลือบสีขาว สูงประมาณ 16 นิ้วเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ภายในบรรจุพระพุทธรูปสกุลช่างลพบุรี 5 องค์ คือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรทรงเทริด เนื้อสำริด สูง 10 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ พระพุทธรูปนั่งในซุ้มเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 3-4 นิ้ว 2 องค์ และ พระร่วงรางปืน ประมาณ 240 องค์ ไหโบราณและพระพุทธรูปทั้งหมดต่อมาได้นำมาขายที่แถวๆ เวิ้งนครเกษม พระร่วงรางปืน ที่ได้ในครั้งนี้เป็นพระร่วงหลังรางปืนที่ชำรุดเสียประมาณ 50 องค์ ที่เหลืออยู่ก็ชำรุดเล็กน้อยตามขอบๆ ขององค์พระ พระที่สวยสมบูรณ์จริงๆ นับได้คงไม่เกิน 20 องค์ พระร่วงของกรุนี้เป็นพระเนื้อชินสนิมแดง ที่ด้านหลังพระร่วงกรุนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร่องราง เลยเป็นที่มาของชื่อ"พระร่วงหลังรางปืน" และมีบางองค์ที่เป็นแบบหลังตันแต่พบน้อย และที่ด้านหลังของพระจะเป็นรอยเส้นเสี้ยน หรือลายกาบหมากทุกองค์

 

MulticollaC

ในตอนนั้นพวกที่ลักลอบขุดเจาะได้แบ่ง พระร่วงรางปืนกันไปตามส่วน และนำพระร่วงรางปืนออกมาจำหน่าย เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีคนจากกรุงเทพฯ เดินทางไปเช่าหากันจนราคาพระสูงขึ้นเป็นอันมาก และพระก็ได้หมดไปในที่สุด พระร่วงรางปืน ที่พบของกรุนี้ในปัจจุบันได้แบ่งแยกออกเป็น  พระร่วงหลังรางปืนพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์ฐานต่ำ  หรือ แบบ พระพักตร์โตฐานหนา  และแบบ   พระพักตร์เรียวฐานบาง   ข้อแตกต่างก็คือที่ฐานขององค์พระจะสูงและบางต่างกัน นอกนั้นรายละเอียดจะเหมือนๆ กัน ลักษณะร่องรางของด้านหลังก็ยังแบ่งออกได้เป็นแบบร่องรางแคบและแบบร่อง รางกว้าง ที่สำคัญพระร่วงหลังรางปืนจะปรากฏรอยเสี้ยนทั้งสองแบบ

เนื้อและสนิมของพระร่วงหลังรางปืน จะเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง วรรณะของสนิมออกแดงแกมม่วงสลับไขขาว สีของสนิมแดงในพระของแท้จะมีสีไม่เสมอกันทั้งองค์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะมีสีอ่อนแก่สลับกันไป ส่วน"พระร่วงหลังรางปืน"ของเทียมมักจะมีเสมอกันทั้งองค์ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม การแตกของสนิมมักแตกไปในทิศทางต่างๆ กันสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงของแท้ที่ขึ้นเต็มเป็นปื้นมักจะเป็นเช่นนี้

 

พระร่วงหลังรางปืน ซึ่งเป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่มีผู้คนนิยมเลื่อมใสเป็นอันมากนั้น น่าจะขุดพบที่วัดมหาธาตุอันเป็นที่ตั้งวัดใหญ่แต่กลับไปขุดพบที่วัดพระศรีมหาธาตุ(วัดพระปรางค์) อยู่เมืองสวรรคโลกโน่น ซึ่งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นเมืองเก่ารุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่ บนฝั่งขวาแม่น้ำยม ตรงแก่งหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสวรรคโลกหรือเมืองเชลียง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย

 

พระร่วงหลังรางปืน สุโขทัย เป็นพระพุทธยืนปางประทานพร ศิลปะสมัยลพบุรี มีหลังรางปืนเป็นเอกลักษณ์ประจำองค์พระ ทำให้ง่ายต่อการเรียกขานเป็นอย่างมาก ถ้าไม่มีรางปืน หลังเรียบหรือหลังลายผ้ากด เขาเรียกพระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี เพราะเป็นพระพิมพ์เดียวกันสำหรับการเรียกขานชื่อพระเครื่องนั้นโดยมากจะตั้งชื่อกรุตามความพอใจของขุดพบแต่ละที่ แต่ละแห่ง

 

มูลเหตุของพระร่วงหลังรางปืน ที่มีความสมบูรณ์แบบ คมชัด และไม่เว้าหรือแหว่ง เพราะเหตุว่าการเทหรือการหล่อ ของช่างใช้วิธีใช้แม่พิมพ์ไม้กดด้านหลัง โดยใช้แม่พิมพ์ 2 ชนิด (ตัวผู้-ตัวเมีย) มาประกบกันเข้า แล้วเทตะกั่วลงทางด้านเท้า (หมายถึงเอาด้านเศียรลงต่ำ) เนื้อตะกั่วจะแล่นไปทั่วแม่พิมพ์ ทำให้เกิดความสมบูรณ์และสวยงาม


 

ที่มา  http://www.dvthai2.com/praroung.htm และ http://www.tumsrivichai.com/index.phplay=show&ac=article&Id=538724987&Ntype=52

โพสต์โดย : nampuengeiei9760

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด