Social :



ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

14 ก.ย. 59 14:09
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร



ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ  มีนามเดิมว่า "เงิน" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348 บิดาชื่อนายอู๋ มารดาชื่อนางฟัก เป็นชาวบ้านตำบลบางคลาน จังหวัดพิจิตร มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด (ในหนังสือประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้เป็น ๒ กระแส แต่ต่างยืนยันว่าท่านเกิดปีฉลู กระแสแรกว่าท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2348 อีกกระแสท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2360)

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน “หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ”  เป็นชาวบ้านบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนที่ 4 บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่ง หลวงพ่อเงิน เติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ  หลวงพ่อเงิน  ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม


พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา-มารดาและบรรดาญาติมีความประสงค์จะให้อุปสมบทแต่ “หลวงพ่อเงิน” ไม่ยอมเพราะเกรงว่า อายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติก็อนุโลมตามกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้กำหนดวันอุปสมบทไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ชื่ออะไรเช่นกันได้ฉายาว่า “พุทธโชติ” หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ธรรมะจนแตกฉาน แล้วทำการฝึกฝนวิปัสสนาจนมีญาณสมาธิแก่กล้า จึงมุ่งศึกษาพุทธาคมจาก “หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า” จนมีความชำนาญทางพุทธาคมมาก มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือกันในบรรดาชาวบ้านมากมายพอได้อุปสมบทแล้ว ท่านก็ยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่ออีกด้วย ต่อมาอีก 3-4 ปี โยมปู่ของท่านป่วยหนัก ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังอำเภอโพทะเล ท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม ประมาณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่ หลวงพ่อเงิน ท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า และต่อมาก็ได้สร้างวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) "วัดวังตะโก" เกิดขึ้นเป็นพระอาราม "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรม และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา  เครื่องรางของขลัง  


หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อหอม วัดหลวง หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 

ท้ายที่สุด  หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์   หลวงพ่อเงิน  ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง ประวัติหลวงพ่อเงิน

MulticollaC
วัดบางคลาน จ.พิจิตร 
พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลานนับเป็นอีกหนึ่งในจำนานของวงการ พระเครื่องไทย  

พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน   ราคาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  ซึ่งพระที่ท่านได้สร้าง พระเครื่องและวัตถุมงคล ไว้ เช่น ตะกรุด (ปัจจุบันหาได้ยาก  ราคาพระเครื่องหลวงพ่อเงิน สูงมาก พระเครื่องหลวงพ่อเงิน พระเครื่องรูปเหมือน เนื้อทองเหลืองที่นับเป็นงานใหญ่และเป็นมาตรฐาน ได้แก่ พระรูปเหมือนพิมพ์นิยม สามารถแยกเป็นแม่พิมพ์ต่างๆ ได้ดังนี้คือ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ชายติด พิมพ์ชายห่าง พระรูปเหมือนพิมพ์ขี้ตา แยกแม่พิมพ์เป็นพิมพ์สามชาย พิมพ์สี่ชาย พิมพ์ห้าชาย และเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก ซึ่งก็แยกออกเป็นพิมพ์แข็งตรง พิมพ์แข็งติด พิมพ์เท้ากระดก และพิมพ์ตาขีด นับเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงของ  หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ทุกพิมพ์ถ้าอยู่ในสภาพสวยสนนราคาขึ้นหลักล้านทั้งสิ้น ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณของท่านนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และโชคลาภ วันนี้ก็ได้นำรูปพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา เหรียญจอบใหญ่ และเหรียญจอบเล็ก มาให้ชมกันอย่างละหนึ่งองค์ครับ

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  ที่นิยมกันสุดๆ มี ๔ พิมพ์ คือ รูปหล่อพิมพ์นิยม รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และ เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก อายุการสร้างถึงวันนี้ประมาณ ๑๐๐ ปี นับว่าเก่าพอสมควร ตามตำรากล่าวว่า พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา กับ พิมพ์จอบเล็ก สร้างขึ้นก่อน โดยฝีมือชาวบ้านส่วน พิมพ์นิยม กับ พิมพ์จอบใหญ่ สร้างขึ้นทีหลัง ในเวลาไม่ห่างกันมากนัก โดยว่าจ้างช่างมืออาชีพจากบ้านช่างหล่อ ธนบุรี ไปทำพิธีเททองหล่อที่วัด (บางกระแสก็ว่าเททองหล่อที่บ้านช่างหล่อ) ในส่วนของ พิมพ์ขี้ตา ๓ ชาย มีจุดจุดสำคัญที่ต้องศึกษา คือ มีก้อนเนื้อที่ขอบตาล่างด้านซ้าย มีเส้นจีวร ๓ เส้น ล่างสุดเป็นเส้นหนา เฉียงจากหน้าอกลงมาจรดแขนขวา เส้นจีวรที่แขนซ้ายเป็นเส้นคว่ำ เส้นสังฆาฏิโค้งนูน ไม่แบนราบ

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  ท่านสามารถรู้วาระจิตผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัด อีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ หลวงพ่อเงิน บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย  ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม   ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้

คำบูชา คาถาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
พระคาถาบูชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร  
ตั้งนะโม ๓ จบ 

อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะ
วันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง

สิทธิ พุทธัง กิจจัง มะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลี ติ 
สิทธิ ธัมมัง จิตตัง มะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลี ติ 
สิทธิ สังฆัง จิตตัง มะมะ เงินทองไหลมา นะชาลี ติ 
ฉิมพลี จะ มหาลาภัง ภะวันตุ เม 


ที่มา 
http://www.tumsrivichai.com

โพสต์โดย : nampuengeiei9760

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด