Social :



ย้ำ เป็นหนี้ต้องจ่าย “ชัชชาติ” ตอบปม BTSC ทวงค่าโดยสาร 4 หมื่นล้าน

22 พ.ย. 65 06:11
ย้ำ เป็นหนี้ต้องจ่าย “ชัชชาติ” ตอบปม BTSC ทวงค่าโดยสาร 4 หมื่นล้าน

ย้ำ เป็นหนี้ต้องจ่าย “ชัชชาติ” ตอบปม BTSC ทวงค่าโดยสาร 4 หมื่นล้าน

“ชัชชาติ” ย้ำ เป็นหนี้ต้องจ่ายแต่ต้องเป็นหนี้ที่ผ่านกระบวนการถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น หลัง BTSC เผยคลิปทวงค่าโดยสาร 4 หมื่นล้าน
 

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ได้เปิดเผยเนื้อหาเรียกร้องให้มีการชำระหนี้กว่า 40,000 ล้านบาทว่า ในประเด็นเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการนั้น มีประเด็นทางกฎหมายอยู่เพียงประเด็นเดียว จากที่ข้อบัญญัติงบประมาณกรุงเทพมหานครได้บัญญัติว่ากรณีกรุงเทพมหานครไปสร้างภาระหนี้ผูกพันจะต้องผ่านสภากรุงเทพมหานครก่อน

 

การทำสัญญาทั้งในส่วนการจ้างเดินรถและติดตั้งงานระบบในส่วนต่อขยายที่ 2 ที่เป็นภาระหนี้ผูกพันเพราะกรุงเทพมหานครจะต้องชำระหนี้ทุก ๆ ปีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่าส่วนนี้ผ่านสภากรุงเทพมหานครแล้วหรือไม่ จึงมีการทำหนังสือเพื่อสอบถามทางสภากรุงเทพมหานครว่าส่วนนี้ผ่านการอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานครแล้วหรือไม่ เข้าใจว่าได้มีการส่งหนังสือไปแล้วเมือสัปดาห์ที่แล้ว หากยังไม่ส่งจะมีการส่งหนังสือในสัปดาห์นี้ และในส่วนของมูลหนี้จากส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 นั้น มีการผ่านสภาอย่างถูกต้อง หากการดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2562 จบกระบวนการก็สามารถจ่ายได้ทันที


 

“กรุงเทพมหานครเป็นหนี้ต้องจ่ายแต่ต้องเป็นหนี้ที่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย”

 

MulticollaC
การรับโอนทรัพย์สินในส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยก็ถือว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันเช่นเดียวกัน เนื่องจากกรุงเทพมหานครจะต้องมีการชำระค่าตอบแทนในอนาคตซึ่งต้องใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานครมาจ่าย ถ้าหากไม่ผ่านสภากรุงเทพมหานคร จะต้องทำให้ถูกกฎหมาย อาจจะต้องทำสัญญาใหม่ หรืออื่น ๆ

 



ในขณะมอบหมายงานนั้นก็มีความเห็น 2 ส่วนด้วยกันคือจะต้องผ่านสภากรุงเทพมหานครก่อน กับเมื่อเกิดภาระผูกพันแล้วค่อยมาขออนุมัติงบประมาณจากสภา แต่แนวคิดของผู้บริหารชุดปัจจุบันถือว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพัน จะต้องผ่านสภากรุลเทพมหานครก่อน

สำหรับประเด็นการร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น มีการนัดหมายว่าจะมีการร่วมหารือหลังการประชุมเอเปคซึ่งอยู่ระหว่างการนัดหมาย ประเด็นที่เสนอไปมีหลายประเด็น เช่น การขอใช้พื้นที่บางส่วน เช่น ใต้ทางด่วน ใต้สะพาน โดยกรุงเทพมหานครอยากจะขอพื้นที่มาใช้เพื่อประโยชน์ประชาชน เช่น พื้นที่ใต้สะพานปิ่นเกล้าก็มีแนวคิดอยากทำเป็นศูนย์สำหรับคนไน้บ้าน ทางด่วนตรงนานาอยากทำเป็น Hawker Center สำหรับหาบเร่แผงลอย

 

การดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเทา-เงิน ซึ่งผู้บริหารอยากจะเดินหน้าต่อ โดยให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการ เนื่องจากทั้งการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่น และพื้นที่บางส่วนออกนอกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครเองก็ไม่ได้มีงบประมาณมากนัก เช่นสายสีเทาจากผลการศึกษาและ market sounding กทม.จะต้องออกเงินให้เอกชนกว่า 20,000 ล้านบาท

 


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy