Social :



รู้หรือไม่! จันทร์เพ็ญ กับ จันทร์ดับ คืออะไร ต่างกันอย่างไรในทางโหราศาสตร์

28 พ.ย. 65 19:11
รู้หรือไม่! จันทร์เพ็ญ กับ จันทร์ดับ คืออะไร ต่างกันอย่างไรในทางโหราศาสตร์

รู้หรือไม่! จันทร์เพ็ญ กับ จันทร์ดับ คืออะไร ต่างกันอย่างไรในทางโหราศาสตร์

จันทร์เพ็ญ และ จันทร์ดับ คืออะไร แล้วเป็นวันที่ดีหรือไม่ เรามาดูความหมาย และความแตกต่างของทั้ง 2 วันนี้ในทางโหราศาสตร์กัน



โดย อ.ปราณเวท โหราพยากรณ์ ได้อธิบาย จันทร์เพ็ญ กับ จันทร์ดับ ไว้ดังนี้ สำหรับ 2 วันนี้นั้น จะเกิดขึ้นทุกเดือน ได้แก่ จันทร์เพ็ญ หรือ ปูรณมี (ขึ้น 15 ค่ำ ) จันทร์ดับ หรือ อมาวสี (แรม 15 ค่ำ) ซึ่งจะเกิดขึ้นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งของวันเท่านั้นตามระยะการโคจรของดาวจันทร์ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก ไปทำบุญ ถือศีล สวดมนต์ ไหว้พระ ทำจิตใจให้สงบ มีสติ เป็นพอ

จันทร์ดับ (อมาวสี แรม 15 ค่ำ)
ในทุก ๆ หนึ่งเดือนทางจันทรคติ ดาวจันทร์จะโคจรร่วมกับอาทิตย์ ในนักษัตรฤกษ์เดียวกัน หรือโคจรร่วมราศีกัน เรียกว่า อมาวสี หรือแรม 15 ค่ำ องศาของดาวอาทิตย์ และองศาดาวจันทร์เท่ากัน (ทับกันสนิทองศา) เรียกว่า จุดอามาวสี จะเป็นคืนที่เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ ถือว่าดวงจันทร์มืด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เป็นคืนเดือนมืด และให้โทษร้ายแรงที่สุด ในตำราของท่าน อ.เปี่ยม ถึงกับระบุว่า จุดอามาวสี เป็น จุดวิบัติ เลยทีเดียว และท่านยังให้หลักการพยากรณ์ไว้ว่า

จุดอามาวสี
MulticollaC
ทับอาทิตย์ในดวงชาตา คือในปีใดแรม 15 ค่ำ ตรงกับวันเกิดของเจ้าชะตาพอดี ปีนั้นเจ้าชะตาจะประสบแต่เรื่องร้ายแรง ถ้าทับดาวใดในดวงชาตา ถือว่าจะให้โทษกับดวงดาวนั้น ภายในที่ท่านกำหนดไว้ 30 วัน และถ้าตกอยู่ในภพใด ภพนั้นจะไม่ให้คุณกับเจ้าชะตาเลยในเดือนนั้น


วันอมาวสี นี้ โหราจารย์หลายท่าน ได้ระบุไว้ในตำราเห็นพ้องไปในทางเดียวกันว่า ห้ามทำการมงคลในวันจันทร์ดับ ที่พอจะสามารถทำการได้ก็เป็นพวกพิธีกรรม ปลุกเสกเครื่องรางของขลังเท่านั้น โหราจารย์บางท่านก็ใช้จุดอมาวสี ในการพยากรณ์ชะตาบุคคล ในรอบเดือนนั้น ๆ

จันทร์เพ็ญ (ปูรณมี ขึ้น 15 ค่ำ)
ในรอบหนึ่งเดือนทางจันทรคติ อาทิตย์กับจันทร์จะโคจรมาเล็งกัน (อยู่ในราศีตรงข้ามกัน) จุดนั้นพระจันทร์จะเต็มดวงพอดี ดวงจันทร์มีแสงมากที่สุดในจุดนั้น ถือว่าให้คุณแก่เจ้าชะตาอย่างมาก อ.เปี่ยม ท่านเรียกว่า จุดสมบัติ ถ้าวันเกิดของเรา ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ ในปีใด ถือว่าปีนั้น เราจะรุ่งเรื่องที่สุด หลักเกณฑ์การพิจารณาพยากรณ์ ก็มองในมุมพยากรณ์คล้าย ๆ กับ จุดอามาวสี ตามที่กล่าวไปข้างต้น

อย่างไรก็ตาม อ.ปราณเวท ย้ำว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า ดี หรือไม่ดีนั้น เป็นเรื่องของมุมมอง ทัศนะ และวิจารณญาณ ของแต่ละท่าน เราไม่สามารถไปกำหนด หรือชี้ชัดลงไปได้ว่าเรื่องนี้ถูก หรือผิด ต้องพึ่งสติ ข้อมูล ข้อเท็จจริง เหตุผล ของตัวผู้อ่านเองด้วย




ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:sanook.com/

โพสต์โดย : monnyboy