Social :



เนื้อหอม! ส่ง ‘เตียว ฮุยฮวด’ ดำเนินคดีที่จีน ฝั่ง มาเลเซีย ขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

18 ม.ค. 66 14:01
เนื้อหอม! ส่ง ‘เตียว ฮุยฮวด’ ดำเนินคดีที่จีน ฝั่ง มาเลเซีย ขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

เนื้อหอม! ส่ง ‘เตียว ฮุยฮวด’ ดำเนินคดีที่จีน ฝั่ง มาเลเซีย ขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำสั่งในคดี ขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนหมายเลขดำที่ ผด9/2565 ที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน นายเตียว ฮุยฮวด หรือ โทนี่ เตียว เจ้าของอาณาจักร เอ็มบีไอ กรุ๊ป ซึ่งมีบริษัทในเครือประกอบธุรกิจโรงแรม สถานบันเทิง สวนสนุก ตลาด ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเฟอร์นิเจอร์ โดยเป็นเจ้าของธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์มูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท

คำร้องระบุสรุปว่าเมื่อวันที่ 16 ก.ย.65 รัฐบาลจีน โดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยได้มีคำร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัว นายเตียว ฮุย ฮวด บุคคลสัญชาติมาเลเซีย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในความผิดฐานจัดตั้งองค์กรที่ชักจูงและประกอบการขายตรง โดยแอบอ้างเป็นธุรกิจการให้บริการ โดยให้ผู้เข้าร่วม ชำระเงินค่าบริการหรือซื้อสินค้าเพื่อเข้าเป็นสมาชิก ให้มีการจัดลำดับชั้น ที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่เพื่อขยายฐานผู้เข้าร่วมมากขึ้น เพื่อนำมาคิดคำนวณเป็นค่าตอบแทนมีพฤติกรรมชักชวน ข่มขู่ให้ผู้อื่นมาเข้าร่วม หลอกเอาทรัพย์สิน โดยส่งผลกระทบเศรษฐกิจและสังคม ตามประมวลกฎหมายอาญาสาธารณรัฐประชาชน จีน มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และโทษปรับ และหากเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์ร้ายแรงมีอัตราโทษจำคุก 5 ปีขึ้นไปและโทษปรับ

จากการสืบสวนสอบสวนของทางการจีนได้ความว่า เมื่อประมาณปี 2552 จำเลยกับพวกอีกหลายคนได้ร่วมกันก่อตั้งบริหารกลุ่มบริษัทบริหารสินทรัพย์ระหว่างประเทศ หรือบริษัท MBI ซึ่งเป็นบริษัทจด ทะเบียนในสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีจำเลยดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จากนั้นได้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ทางการเงินที่เรียกชื่อย่อว่า “MFC” และ “MIT” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่ขยายธุรกิจเครือข่าย ผ่าน แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ มีการจัดงานสัมมนาชักชวนให้บุคคลเข้ามาร่วมลงทุน โดยผู้ที่เข้าร่วมลงทุน จะต้องชำระเงินเป็นค่าสมาชิก ซึ่งจำเลยกับพวกดังกล่าวได้ร่วมกันหลอกลวงว่าการลงทุนมีกำไรผลตอบแทนสูง ไม่มีขาดทุนเพื่อจูงใจให้บุคคลเข้าร่วมลงทุน ทำให้ยิ่งสมารถขยายธุรกิจระดับล่างหรือดาวน์ไลน์มากจะยิ่ง ทำกำไรได้มาก และชักชวนให้นักลงทุนชักชวนบุคคลอื่นมาสมัครสมาชิกโดยจะต้องจ่ายค่าสมาชิกและลงทุน ซื้อสกุลเงินดิจิทัลโดยผู้ชักชวนจะได้รับคะแนนเงินรางวัลค่าแนะนำและสิทธิมากมายเป็นการตอบแทน และ หลอกลวงอีกว่าบริษัท MBI ได้ร่วมลงทุนเป็นเงินจำนวน 1.5 พันล้านหยวน ในโครงการด้านการท่องเที่ยว กับรัฐบาลกุ้ยโจวในปี 2559 แต่บริษัท MBI ของจำเลยไม่ได้ร่วมลงทุนด้านการท่องเที่ยวกับรัฐบาลกุ้ยโจวแต่อย่างใด เงินรายได้ของบริษัท MBI จึงมาจากการหลอกลวงให้สมาชิกรายใหม่ร่วมลงทุนในลักษะองค์กร รูปทรงพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ โดยไม่มีการนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนจริง พฤติการณ์ของจำเลยกับ พวกดังกล่าวที่ได้ร่วมกันหลอกลวงได้เงินมาอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย เหตุเกิดเมื่อระหว่างปี 52-63 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และ สหพันธรัฐมาเลเซีย เกี่ยวพันกัน กระทรวงการต่างประเทศในฐานะฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายได้

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำสั่งในคดี ขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนหมายเลขดำที่ ผด9/2565 ที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน นายเตียว ฮุยฮวด หรือ
Lif
โทนี่ เตียว เจ้าของอาณาจักร เอ็มบีไอ กรุ๊ป ซึ่งมีบริษัทในเครือประกอบธุรกิจโรงแรม สถานบันเทิง สวนสนุก ตลาด ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเฟอร์นิเจอร์ โดยเป็นเจ้าของธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์มูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท

คำร้องระบุสรุปว่าเมื่อวันที่ 16 ก.ย.65 รัฐบาลจีน โดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยได้มีคำร้องขอให้รัฐบาลไทยส่งตัว นายเตียว ฮุย ฮวด บุคคลสัญชาติมาเลเซีย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในความผิดฐานจัดตั้งองค์กรที่ชักจูงและประกอบการขายตรง โดยแอบอ้างเป็นธุรกิจการให้บริการ โดยให้ผู้เข้าร่วม ชำระเงินค่าบริการหรือซื้อสินค้าเพื่อเข้าเป็นสมาชิก ให้มีการจัดลำดับชั้น ที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่เพื่อขยายฐานผู้เข้าร่วมมากขึ้น เพื่อนำมาคิดคำนวณเป็นค่าตอบแทนมีพฤติกรรมชักชวน ข่มขู่ให้ผู้อื่นมาเข้าร่วม หลอกเอาทรัพย์สิน โดยส่งผลกระทบเศรษฐกิจและสังคม ตามประมวลกฎหมายอาญาสาธารณรัฐประชาชน จีน มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และโทษปรับ และหากเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์ร้ายแรงมีอัตราโทษจำคุก 5 ปีขึ้นไปและโทษปรับ

จากการสืบสวนสอบสวนของทางการจีนได้ความว่า เมื่อประมาณปี 2552 จำเลยกับพวกอีกหลายคนได้ร่วมกันก่อตั้งบริหารกลุ่มบริษัทบริหารสินทรัพย์ระหว่างประเทศ หรือบริษัท MBI ซึ่งเป็นบริษัทจด ทะเบียนในสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีจำเลยดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จากนั้นได้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ทางการเงินที่เรียกชื่อย่อว่า “MFC” และ “MIT” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่ขยายธุรกิจเครือข่าย ผ่าน แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ มีการจัดงานสัมมนาชักชวนให้บุคคลเข้ามาร่วมลงทุน โดยผู้ที่เข้าร่วมลงทุน จะต้องชำระเงินเป็นค่าสมาชิก ซึ่งจำเลยกับพวกดังกล่าวได้ร่วมกันหลอกลวงว่าการลงทุนมีกำไรผลตอบแทนสูง ไม่มีขาดทุนเพื่อจูงใจให้บุคคลเข้าร่วมลงทุน ทำให้ยิ่งสมารถขยายธุรกิจระดับล่างหรือดาวน์ไลน์มากจะยิ่ง ทำกำไรได้มาก และชักชวนให้นักลงทุนชักชวนบุคคลอื่นมาสมัครสมาชิกโดยจะต้องจ่ายค่าสมาชิกและลงทุน ซื้อสกุลเงินดิจิทัลโดยผู้ชักชวนจะได้รับคะแนนเงินรางวัลค่าแนะนำและสิทธิมากมายเป็นการตอบแทน และ หลอกลวงอีกว่าบริษัท MBI ได้ร่วมลงทุนเป็นเงินจำนวน 1.5 พันล้านหยวน ในโครงการด้านการท่องเที่ยว กับรัฐบาลกุ้ยโจวในปี 2559 แต่บริษัท MBI ของจำเลยไม่ได้ร่วมลงทุนด้านการท่องเที่ยวกับรัฐบาลกุ้ยโจวแต่อย่างใด เงินรายได้ของบริษัท MBI จึงมาจากการหลอกลวงให้สมาชิกรายใหม่ร่วมลงทุนในลักษะองค์กร รูปทรงพีระมิดหรือแชร์ลูกโซ่ โดยไม่มีการนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนจริง พฤติการณ์ของจำเลยกับ พวกดังกล่าวที่ได้ร่วมกันหลอกลวงได้เงินมาอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย เหตุเกิดเมื่อระหว่างปี 52-63 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และ สหพันธรัฐมาเลเซีย เกี่ยวพันกัน กระทรวงการต่างประเทศในฐานะฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายได้

ขอบคุณภาพ “สำนักข่าวอิศรา”

ขอบคุณที่มา    ข่าวเดลินิวส์

โพสต์โดย : ปลายน้ำ