Social :



โหวตนายกฯจะง่ายขึ้น “มัลลิกา” แนะ “พิธา” ถอดเรื่องแก้ไข-ยกเลิกม.112 ออกไป

21 พ.ค. 66 13:05
โหวตนายกฯจะง่ายขึ้น “มัลลิกา” แนะ “พิธา” ถอดเรื่องแก้ไข-ยกเลิกม.112 ออกไป

โหวตนายกฯจะง่ายขึ้น “มัลลิกา” แนะ “พิธา” ถอดเรื่องแก้ไข-ยกเลิกม.112 ออกไป

“มัลลิกา” แนะ “พิธา” ปลดล็อคด้วยตัวเอง ถอดเรื่องแก้ไข-ยกเลิกม.112ออกไป มองการโหวตนายกฯจะง่ายขึ้น พร้อมกางร่างฉบับก้าวไกลเจตนายกเลิกชัดเจน
 

 

 

นางมัลลิกา บุญมีตระะกูล มหาสุข อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน กล่าวว่า กรณีการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกลและการหาเสียงต่อว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อโหวตเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นดูจะไม่ราบรื่นหากนายพิธาและพรรคก้าวไกลไม่ถอดนโยบายเรื่องการปฏิรูปสถาบัน

 



 

โดยผ่านการแก้ไขและยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยการคุ้มครององค์พระประมุขของประเทศออกไป เพราะจากการที่สอบถามสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) บางคนทราบว่าเงื่อนไขสำคัญคือติดขัดเรื่องนี้เป็นสาระสำคัญหากนายพิธาและคณะปลดล็อคเรื่องนี้ออกไปก็เชื่อว่า ส.ว. จะโหวตให้แล้วไปเดินหน้าเป็นนายกรัฐมนตรีจัดบุคคลเป็นคณะรัฐมนตรีเข้ากุมอำนาจบริหารประเทศได้

 

 


นางมัลลิกา กล่าวด้วยว่า ในฐานะเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทราบว่า นายพิธาและคณะจะไปผลักดันการแก้ไขมาตรา 112 ในสภาฯ หลังจากที่ได้เสนอค้างไว้ในสมัยที่แล้ว ซึ่งไม่สามารถบรรจุเป็นวาระได้ เพราะนายชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาเห็นว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจทานเอกสารร่างกฏหมายโดยละเอียดจะเห็นชัดว่าการแก้ไขของพรรคก้าวไกลที่เสนอร่างฯไว้นั้น เป็นการยกเลิกการคุ้มครองสถาบันหลักของชาติโดยสิ้นเชิง
MulticollaC

 

 

ร่างฉบับแก้ไขของพรรคก้าวไกล คือการให้พระมหากษัตริย์มีสถานะทางกฎหมายเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ดูหมิ่นไปแล้ว ไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ไม่เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการ และไม่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ขณะที่รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับกำหนดไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ แล้วถ้าละเมิดได้เช่นนี้ จะแปลว่าอะไร

 



ทั้งนี้นางมัลลิกา อธิบายว่า สาเหตุที่สมาชิกวุฒิสภาจำนวนมากอาจจะไม่โหวตให้หรือโหวตโน Vote No เพราะอำนาจหน้าที่ในการเป็นส.ว.ตามรัฐธรรมนูญที่สำคัญๆ คือ การกลั่นกรองกฎหมาย การพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งตรงนี้คือหน้าที่หลักของเขาและนี่ยังไม่นับกรณีคุณสมบัติเรื่องการถือหุ้นสื่อด้วย แล้วถ้ารวมถึงหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ คือ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้

 

 

ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ มาตรา50 ของรัฐธรรมนูญดังเช่นต้อง“พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิผลประโยชน์ของชาติและสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำคัญยิ่งคือมาตรา 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

 



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy