Social :



กระจ่างเสียที ร่างทรงองค์เทพเรื่องจริงหรือหลอกลวง

31 พ.ค. 66 21:05
กระจ่างเสียที ร่างทรงองค์เทพเรื่องจริงหรือหลอกลวง

กระจ่างเสียที ร่างทรงองค์เทพเรื่องจริงหรือหลอกลวง







กระจ่างเสียที ร่างทรงองค์เทพเรื่องจริงหรือหลอกลวง


สงสัยกันจังเรื่องการทรงเจ้าที่พบเจอตามตำหนักทรง คือเรื่องจริงหรือไม่ แล้วเวลาองค์เทพลงร่างทรงได้จริงหรือแค่หลอกลวง อยากรู้ใช่ไหมว่าคนโบราณมีความเชื่ออย่างไร ลองอ่านบทความนี้ Horoscope thaiza จะไขความจริง

     ในเมืองไทยการทรงเจ้ามีให้พบเจออยู่เกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง บางคนไม่เชื่อจะว่าเป็นเรื่องหลอกลวง บางคนศรัทธาจะกราบไหว้ ฝากตัวเป็นศิษย์หวังปลดเปลื้องความทุกข์ที่มีอยู่ และขอเลขเด็ด ความจริงเรื่องราวการทรงเจ้าเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่ไม่มีการบันทึกแน่ชัด บางกระแสว่ามาพร้อมกับประเพณีกินเจชาวจีนโพ้นทะเล แต่คนไทยนำการทรงเจ้าเป็นการขจัดรักษาโรคภัย ปัญหาทุกข์ภัยต่าง ๆ หมดไป สมัยก่อนผู้ที่อาสาเป็นร่างทรงจะต้องมีศีลมีธรรมประจำใจ ชาวบ้านยอมรับ วันเข้าพิธีร่างทรงจะแต่งกายสะอาด บูชาครูเป็นเงินที่ลงท้ายเลข 9 อาจเป็น9 เฟื้อง สลึง
Lif
ตำลึงหรือ 39 บาทมากน้อยตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ร่างทรงสมัยก่อนเป็นแค่ผู้รับสื่อกลางการปฏิบัติจะไม่เรียกร้องเงินทองจากผู้ร่วมพิธี ร่างทรงสมัยก่อนต้องพูดจาภาษาเทพ สื่อสารกันกับผู้ร่วมพิธีผ่านล่ามและผู้ร่วมพิธีสนทนากันกับเทพที่มาประทับได้ผ่านล่ามเช่นกัน

     คนจีนคือชาติพันธุ์ที่ศรัทธาเรื่องการทรงเจ้า เพราะในพิธีกินเจที่ศักดิ์สิทธิ์มีการทรงเจ้าเช่นกันจะเรียกร่างทรงว่า ม้าทรง ผู้ที่อาสาเป็นม้าทรงส่วนใหญ่จะสมัครใจมาเพราะเชื่อว่า การเป็นม้าทรงให้เซียนต่าง ๆ ลงประทับจะสะเดาะเคราะห์ เสริมดวง บางคนมีความเชื่อว่าตนเองมีเคราะห์ มีโรคร้ายที่รักษาไม่หาย การอาสาออกมาเป็นม้าทรงให้เซียนประทับร่างจะหายจากโรคร้ายและจะสะเดาะเคราะห์ร้าย จะพบในพิธีแห่เจ้าเทศกาลกินเจทุกที่จะให้ม้าทรงใช้อาวุธร้ายแรง มีคม ทำร้ายร่างตนเป็นคติความเชื่อคนจีนโบราณว่าเซียนจะอาสารับเคราะห์ร้ายแทนผู้มาร่วมพิธี และเป็นธรรมเนียมว่าขณะเดินผ่านบ้านพักอาศัย เจ้าของบ้านที่มีจิตศรัทธาเซียนในร่างม้าทรงจะนำกระดาษมาให้เขียนลายเซ็น แล้วนำกระดาษที่มีลายเซ็นเซียนมาติดตามอาคารบ้านเรือนเป็นศิริมงคล เรียกว่า ฮู้หรือยันต์

     ในพระพุทธศาสนามีประวัติว่าพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำสาวกให้เว้นจากการทรงเจ้าเพราะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ให้รู้แจ้งแห่งอริยสัจธรรม ไม่แสดงหนทางแห่งการพ้นทุกข์ ฉะนั้นธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาพุทธพระสงฆ์จะไม่ประกอบพิธีทรงเจ้า แต่การทรงเจ้าเป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มที่ใช้ประกอบพิธีเรียกศรัทธาในองค์เทพ และเซียนจากมหาชน เป็นการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้มีศรัทธา เลื่อมใสในพิธีกรรม มิได้บังคับให้ผู้มาร่วมพิธีเชื่อ สำหรับผู้มีความเชื่อและหลงใหลการทรงเจ้า ความเชื่อจะเสริมเรื่องแรงใจให้ต่อสู้กับเรื่องร้าย ๆ ที่ประสบอยู่



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:/thaiza.com

โพสต์โดย : monnyboy