Social :



สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน “ธรรมนัส”มุ่งส่งเสริมอาชีพผู้มีรายได้น้อย

28 ต.ค. 66 10:10
สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน “ธรรมนัส”มุ่งส่งเสริมอาชีพผู้มีรายได้น้อย

สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน “ธรรมนัส”มุ่งส่งเสริมอาชีพผู้มีรายได้น้อย

รมว.ธรรมนัส ย้ำมุ่งส่งเสริมอาชีพผู้มีรายได้น้อย ที่เข้าทำกิน หรือทำประโยชน์ในพื้นที่ปฎิรูปที่ดิน ส.ป.ก. ขณะที่ พอช. ช่วยพัฒนาที่อยู่อาศัย พร้อมบูรณาการหลายองค์กร ผลักดันระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคสมบูรณ์แบบ น้ำต้องไหล ไฟต้องสว่าง สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน
 

 


 

 

 

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงาน พื้นที่รูปธรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร (ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ) ต.ช้างใหญ่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับ



 

 

 

 

 

จากนั้น ร้อยเอกธรรมนัส เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตในที่ดิน ส.ป.ก. ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 28 ตุลาคม 2566 ซึ่งโครงการสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างขบวนเครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านมั่นคงชนบทในที่ดิน ส.ป.ก.และหน่วยงานภาคีพัฒนา และร่วมกันออกแบบแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินทุกมิติ และขยายผลการดำเนินงานสู่หน่วยงานที่ดินประเภทอื่น ๆ




ร้อยเอกธรรมนัส ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า พื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินทั้งหมด เป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานฯ ยกให้เรามาประกาศปฏิรูปที่ดิน ดังนั้นวัตถุประสงค์สำคัญคือ การจัดที่ดินให้พี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้เข้าทำมาหากินหรือทำประโยชน์ หรือเป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้นส่วนใหญ่คนที่ไม่มีที่ดินคือ ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดนอกจากที่ดินคือ ที่อยู่อาศัย จึงเป็นความโชคดีของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)ที่มี สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เข้ามาช่วยรับผิดชอบในเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับพี่น้องเกษตรกร ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดินดังกล่าว

 

 

 

 

 

สำหรับ ส.ป.ก. ก็พัฒนาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้วย หลังจากนี้การส่งเสริมที่เราได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งหมด 16 องค์กร เราก็จะร่วมกันบูรณาการสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. ต่อไป

 

 

 

 

 

MulticollaC
เรื่องสำคัญคือ โครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภคต้องสมบูรณ์แบบ น้ำต้องไหล ไฟต้องสว่าง การที่เราเอาคนไปอยู่รวมกันในชุมชนในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1000 ไร่ ก็จะกลายเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้าน ถ้าเราสร้างความเข้มแข็งในชุมชนก็เป็นพลังกับภาครัฐต่อไป โดยเรื่องที่ดินกับที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญที่ต้องจับคู่ไปด้วยกัน อันนี้เป็นเรื่องของภาครัฐระหว่างกระทรวงทั้ง 2 กระทรวง โดยในอนาคต ผมกำลังตั้งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จะดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะพัฒนาพื้นที่ ส.ป.ก. ให้มีความยั่งยืน เป็นตัวอย่างต้นแบบชุมชนเข้มแข็งเป็นเรื่อง ของการมีที่ดิน ที่อยู่อาศัยและมีอาชีพเป็นของตัวเอง” ร้อยเอกธรรมนัส กล่าว

 

 

 

 

 

 

ร้อยเอกธรรมนัส ยังกล่าวอีกว่า พื้นที่ ส.ป.ก. มีระเบียบอยู่แล้วว่า เกษตรกรต้องทำอาชีพ เรามีแผนดำเนินงานชัดเจน ไม่ใช่ไปทำแบบไร้ทิศทาง ตอนนี้มีอยู่ 5 ภูมิภาคที่เราทำไปแล้ว แล้วหลายภูมิภาคเป็นต้นแบบอย่างที่ จ.สงขลา จ.ชุมพร จ.สระแก้ว จ.เชียงใหม่ จ.ชลบุรี แล้วก็กำลังมีอีกหลายจังหวัดที่เราขยายไป โดยมีคณะกรรมการของแต่ละจังหวัดคัดพี่น้องประชาชนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีที่ทำกิน ที่ขึ้นทะเบียนไว้ ต้องมีการวางโครงสร้างทั้งหมดในที่ดินหนึ่งแปลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ โครงสร้างพื้นฐาน ถนน ที่อยู่อาศัย สร้างเสริมอาชีพ ก็ทำ mou ไว้กับ16 องค์กร เราก็จะบูรณาการส่งเสริมอาชีพ โดยนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การส่งเสริมต้องมีตลาดนำ นั่นคือการสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งอยู่แบบยั่งยืน ใช้ระบบสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปควบคุมดูแลด้วย เมื่อชีวิตของคนฐานรากเข้มแข็ง สังคมก็จะมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้

 

 

 

ข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ส.ป.ก. มีภารกิจในการจัดที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ยึดคืนตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 36/2559 จากพื้นที่เป้าหมาย 40 แปลง 13 จังหวัด ปัจจุบันมีเกษตรกรได้รับการจัดที่ดินแล้วจำนวน 4,768 ราย 41,265 ไร่ โดย ส.ป.ก. มีภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม ทั้งปัจจัยด้านดินและน้ำ ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งผิวดินและใต้ดินพร้อมระบบส่งกระจายน้ำไปยังแปลง เชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม สนับสนุนอาคารรวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มรายได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกษตรกร

 

 

 


จากการบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 9 หน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561 ได้ดำเนินการก่อสร้างถนนไปแล้วทั้งสิ้น 233 กิโลเมตร ก่อสร้างแหล่งน้ำ 269 โครงการ ขยายเขตไฟฟ้า 1,891 หลัง และในด้านการสนับสนุนบ้านพักอาศัย ซึ่งมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้ามาร่วมบูรณาการขับเคลื่อน โดยสบทบทุนสร้างบ้านให้เกษตรกรไปแล้วกว่า 1,690 หลัง เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 70,120,000 บาท สามารถตอบสนองต่อปัจจัยขั้นพื้นฐานให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และมีการขยายผลการดำเนินงานเพิ่มเติมภายใต้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 16 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมีความร่วมมือเพิ่มเติมในกระบวนงานจัดผังที่ดินชุมชน สนับสนุนการรวมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็ง พร้อมระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะส่งผลให้ปัญหาความเหลือมล้ำของสังคมลดลงไปได้ และสามารถช่วยให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินเข้าถึงบริการของรัฐ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น พร้อมเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันภาคการเกษตรต่อไป

 

 

 ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy