Social :



บอร์ดค่าจ้างไฟเขียว! ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 305-310 บาท ทั่วประเทศ ในปี 60 เว้น 8 จังหวัดไม่ปรับเพิ่ม

20 ต.ค. 59 09:31
บอร์ดค่าจ้างไฟเขียว! ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 305-310 บาท ทั่วประเทศ ในปี 60 เว้น 8 จังหวัดไม่ปรับเพิ่ม

บอร์ดค่าจ้างไฟเขียว! ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 305-310 บาท ทั่วประเทศ ในปี 60 เว้น 8 จังหวัดไม่ปรับเพิ่ม

บอร์ดค่าจ้างไฟเขียว ! ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 305-310 บาท ทั่วประเทศ ในปี 60 เว้น 8 จังหวัดไม่ปรับเพิ่ม

 


เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่กระทรวงแรงงาน มีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)   ค่าจ้าง โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 อีกระหว่าง 5-10 บาท ทั่วประเทศ ส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นเป็น 305-310 บาท

 

โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มจังหวัด คือ

 

1. กลุ่มที่ไม่มีการปรับค่าจ้างเลย 8 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง ระนอง นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

 

2. กลุ่มที่มีการปรับขึ้น 5 บาท 49 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี พัทลุง สตูล กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคราม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ชัยนาท ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์

MulticollaC
สมุทรสงคราม จันทบุรี ตราด ลำพูน พะเยา สุโขทัย อุตรดิตถ์ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี อ่างทอง เลย หนองบัวลำภู มุกดาหาร ยโสธร เชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ และหนองคาย

 

3. กลุ่มที่มีการปรับขึ้น 8 บาท 13 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา กระบี่ พังงา และพระนครศรีอยุธยา

 

4. กลุ่มที่มีการปรับขึ้น 10 บาท 7 จังหวัด คือ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และภูเก็ต

 

ทั้งนี้ การปรับค่าจ้างดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

 

ม.ล.ปุณฑริก กล่าวต่อว่า การปรับค่าจ้างครั้งนี้ยึดตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน และการนำ 10 ปัจจัย คือ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาการผลิต ความสามารถในการผลิต มาตรฐานการครองชีพ ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการศึกษาเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน มาเป็นสูตรคำนวณ กระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่มีมติออกมา ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะสรุปผลการประชุมส่งให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน พิจารณาลงนาม ก่อนส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ


topicza.com

โพสต์โดย : ครองแครง

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด