Social :



มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นายกฯ มอบ 21 แนวทางการบริหารประเทศ

14 ธ.ค. 59 08:12
มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นายกฯ มอบ 21 แนวทางการบริหารประเทศ

มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นายกฯ มอบ 21 แนวทางการบริหารประเทศ

พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยได้มอบแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล ตามวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ดังนี้

1. ตั้งเป้าหมายการพัฒนา ที่ยึดถือ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" คือ ทำให้ประชาชนมีความสุข มีความพึงพอใจ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG 2030 ของ UN

2. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุล ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

3. ส่งเสริมการแก้ปัญหา ตามแนวทางสันติวิธี และยึดแนวทางการพัฒนา “สีเขียว"
4. ส่งเสริมการปฏิรูปที่กว้างขวางและลึกซึ้ง ในทุกมิติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

5. จัดทำแผนงาน – โครงการ ที่เป็นรูปธรรม – จับต้องได้ โดยกำหนดเป็นกิจกรรมหลัก-รอง-เสริม ในทุกประเด็นการปฏิรูป ซึ่งต้องกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้ตามห้วงระยะเวลา ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทุก 5 ปี

6. เสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ประเทศชาติและประชาชน โดยมีการพัฒนาประชาธิปไตย ที่เหมาะสมกับบริบทของไทย และมีอัตลักษณ์

7. วางรากฐานของประเทศ ที่ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และเอกลักษณ์ความเป็นไทย อันงดงาม

8. สร้างความรัก ความสามัคคี และความปรองดอง โดยรักษาความเป็นธรรม ความถูกต้อง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม และเสมอภาค

9. สร้างความหวังและศรัทธา บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ แล้วทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน ที่ดีกว่า

10. สร้างประเทศที่มี “ความเท่าเทียม" ทางสังคม และ “ไม่เหลื่อมล้ำ" ทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมการพัฒนาและปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับฐานราก ให้เข้มแข็ง มั่นคง และปลอดภัย

11. สร้างประเทศไทยให้เป็น “นิติรัฐ" เสริมด้วยการปฏิบัติงาน คำนึงถึงด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ด้วย ในการบังคับใช้กฎหมาย

12. ยกระดับคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

MulticollaC
โดยยกระดับความสำคัญของประเทศไทยในเวทีโลก อย่างมียุทธศาสตร์ ทั้งโดยพฤตินัย – นิตินัย ทั้งระดับทวิภาคี – พหุภาคี

13. เอาจริงเอาจังกับการป้องกัน ป้องปราม และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน โดยสร้างกลไกการทำงาน กลไกการตรวจสอบที่บูรณาการ และสามารถป้องกันปัญหา ได้อย่างยั่งยืน ทั้ง 2 ฝ่าย (ผู้เสนอและผู้รับ)

14. เสริมสร้างศักยภาพระบบราชการไทย ทั้งฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง กองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ทันสมัย สร้างความเชื่อมั่น และเป็นที่พึ่งของประชาชน ได้ตลอดเวลา

15. รักษาความสัมพันธ์อันดีกับ “ทุกกลุ่ม – ทุกภูมิภาค" ในประชาคมโลก ด้วยการพัฒนาสัมพันธ์และความร่วมมือ ที่สร้างสรรค์ ทั้งในระดับทวิภาคี - พหุภาคี เพื่อความสมดุลและเสถียรภาพของโลก

16. ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV และอาเซียน ในการพัฒนาร่วมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และต้องเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน

17. กระชับความสัมพันธ์ ในลักษณะเป็น “ห่วงโซ่" เดียวกัน ด้วยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  ลดความหวาดระแวง และสร้างผลประโยชน์ที่เท่าเทียม

18. ขยายความร่วมมือกับประเทศที่กำลังพัฒนา และเชื่อมโยงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในลักษณะเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์" อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเร่งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และความเชื่อมโยง ทั้งภายในและภายนอก โดยจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน และงบประมาณที่มีอยู่

19. สร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ด้วยการทำให้คนทั้งประเทศ ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกกลุ่มรายได้ มีความสุข ความพึงพอใจ บนพื้นฐานของ “ความพอเพียง" และพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต

20. สร้างการเมืองที่เป็นระบอบประชาธิปไตย “โดยสมบูรณ์" นับเป็นสิ่งสำคัญ ต่อประเทศไทย แต่การเมืองที่มีคุณธรรม - จริยธรรม  รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล รับผิดชอบทั้งข้าราชการและประชาชน เกือบ 70 ล้านคน ทั้งประเทศ กำกับดูแล ทั้งงาน Function และงาน Agenda

21. ปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศ นำไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0" เพื่อเพิ่มศัยกภาพของประเทศ ให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยใช้ดิจิทัล/เทคโนโลยี เป็นแรงขับเคลื่อน ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว



โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส