Social :



การใช้เวลาในการพิจารณาแก้ไขสัญญา ทำให้การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า เป็นเหตุแห่งการงดค่าปรับ ได้หรือไม่....

25 พ.ค. 59 16:40
การใช้เวลาในการพิจารณาแก้ไขสัญญา ทำให้การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า เป็นเหตุแห่งการงดค่าปรับ ได้หรือไม่....

การใช้เวลาในการพิจารณาแก้ไขสัญญา ทำให้การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า เป็นเหตุแห่งการงดค่าปรับ ได้หรือไม่....

บริษัท ข อ้างว่า กรม ก ใช้เวลาในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างในส่วนของงวดงานที่  1  นานเกินสมควร เป็นเหตุให้การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า กล่าวคือ ในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเพื่อให้เกิดสภาพคล่อง ทางการเงินตามที่บริษัท ข ร้องขอนั้น กรม ก เพียงแต่ปรับงวดเงิน โดยนำเอาเงินค่าจ้างงวดที่  16  มาเพิ่มให้แก่งวดที่  1  เท่านั้น ส่วนรายการงานก่อสร้างตามงวดงานยังคงเดิม แต่กรม ก ได้ดำเนินการล่าช้ากว่าปกติอย่างมาก โดยได้มีการอนุมัติและ ลงนามแก้ไขสัญญาจ้างในวันที่  5  เมษายน  2548  ซึ่งล่วงเลยจากวันสิ้นสุดสัญญาจ้าง  (19  มีนาคม  2548)  เป็นเวลา  17  วัน หรือรวมระยะเวลานับแต่วันที่มีมติคณะกรรมการตรวจการจ้างจนถึงวันที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง มีมติตรวจรับมอบงานงวดที่  1  เป็นเวลา  340  วัน และวันที่บริษัท ข ได้รับเบิกจ่ายเงินค่าจ้างงวดที่  1  เป็นเวลา  403 วัน เป็นเหตุให้ไม่มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง ตามงวดงานที่ส่งมอบ และผู้ว่าจ้างหรือผู้แทนได้รับมอบไว้แล้วกว่า  7  งวด ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นความเสียหาย

Lif
โดยตรงที่ทำให้การทำงานจ้างของบริษัท ข .  ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงวดท้ายๆ เนื่องจาก ต้องหาแหล่งเงินมาระดมทุนจัดหาสัมภาระ จึงถือเป็นเหตุตามระเบียบฯข้อ  139 (1)  ที่บริษัท ข มีสิทธิได้รับการงด ค่าปรับตามจำนวนวันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าวไปจนถึงวันที่เหตุนั้น สิ้นสุดลงหรือนับตั้งแต่วันที่ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีมติรับมอบงานครั้งแรก (4  สิงหาคม  2547)  ถึงวันที่ บริษัท ข ได้รับเงินค่าจ้าง  (1  กรกฎาคม  2548)  เป็นเวลา  333  วัน ประเด็นนี้เห็นว่า    เหตุที่ กรม ก เบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า สืบเนื่องมาจากกรมสรรพากร แจ้งว่า ผู้รับจ้างเป็นหนี้ภาษีอากรค้างชำระเป็นเงิน  19  ล้านบาทเศษ และขอให้กรม ก ส่งเงินค่าจ้างจากงวดงานที่  1-7  เป็นเงิน  14  ล้านบาทเศษ มาชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ซึ่งผู้รับจ้างได้ยื่นคำร้องคัดค้าน ในระหว่างที่รอผลการพิจารณา จึงยังไม่มีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับจ้าง อย่างไรก็ดี การจ่ายเงินล่าช้า มิใช่ผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานตามสัญญา ที่ทำให้ผู้รับจ้างต้องหยุดการทำงาน เนื่องจากในระหว่าง การปฏิบัติงานตามสัญญาผู้รับจ้างมีหน้าที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการทำงาน ให้เพียงพอ ดังนั้น ปัญหาที่ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในกรณีนี้ จึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุที่จะงด หรือลดค่าปรับ ตามระเบียบฯ ข้อ  139 (1)

โพสต์โดย : นักเขียนบ้านนอก

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด