Social :



พระสมเด็จจิตรลดา

29 พ.ค. 59 00:46
พระสมเด็จจิตรลดา

พระสมเด็จจิตรลดา



พระสมเด็จจิตรลดา  หรือ  พระกำลังแผ่นดิน   (หรืออาจเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา, พระจิตรลดา) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา (เป็นภาพพระของเพื่อนคนหนึ่งคนใดที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน) โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย

 

พระสมเด็จจิตรลดา  เ ป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ

  • พิมพ์เล็ก กว้าง 1.4 เซนติเมตร สูง 2.1 เซนติเมตร หนา 0.5 เซนติเมตร
  • พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2.2 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร หนา 0.5 - 1 เซนติเมตร

พระสมเด็จจิตรลดา   เป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

พระสมเด็จจิตรลดา มีหลา

MulticollaC
ยสี ตามรุ่นที่ผลิต ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน


   

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย

ผงพระพิมพ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย
    • ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล
    • เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง
    • ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
    • สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์
    • ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
  • ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ] ถวาย ประกอบด้วย
    • วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด
    • ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์วัดบวรนิเวศวิหารพระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
    • ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ
    • ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
    • ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    • น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก


ขอขอบคุณข้อมูล th.wikipedia.org
โพสต์โดย : nampuengeiei9760

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด