พื้นที่สยอง! อาถรรพ์เสาชิงช้า กับพิธีกรรมที่ต้องมีคนตายทุกปี!!!
พื้นที่สยอง! อาถรรพ์เสาชิงช้า กับพิธีกรรมที่ต้องมีคนตายทุกปี!!!
เสาชิงช้า เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน “พระราชพิธีตรียัมปวายของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู” ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามและลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเสาชิงช้าถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองบางกอกเลยก็ว่าได้
สำหรับพิธีการสำคัญของพิธีตรียัมปวาย คือ การโล่ชิงช้า ซึ่งมีวีธีการที่หวาดเสียวอยู่ไม่น้อย เริ่มจากผู้ที่จะโล้ชิงช้าจะต้องขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน (โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยชิงช้าจะมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน อีกสองคนอยู่หัวท้ายจับเชือกไว้ แล้วถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง โดยคนที่อยู่หัวกระดานจะเป็นคนฉวย เงินรางวัลที่ผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกในระยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ ผู้ที่ชุมนุมอยู่ด้านล่างต่างส่งเสียงเชียร์กันอย่างสนุกสนาน
การโล้ชิงช้าสำคัญอยู่ที่คนท้ายคือจะต้องเล่นตลก เช่นว่า พอคนหน้ากำลังจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะต้องแกล้งทำกระดานโล้เบี่ยงออกไปหรือโล้จนเลยถุงเงินไปบ้างเพื่อเรียกเสียงฮาจากคนดู แต่นั่นก็ทำให้พราหมณ์ผู้โล้ชิงช้าต้องตกลงมาตายทุกปีอย่างน่าสยดสยอง!!
แต่พวกเขากลับมองว่าเป็นการได้บุญ จึงมีคนอาสาขึ้นโล้ และตกลงมาตายทุกปี แม้ต่อมาจะทอนเสาให้สั้นลงแต่ก็ยังมีพราหมณ์ตกลงมาตายอีกอยู่ดี ในที่สุดจึงต้องยกเลิกพิธีนี้ไป
ต่อมาก็มีเรื่องเล่าปากต่อปากเรื่องของวิญญาณคนโล้ที่ตกลงมาตาย ทำนองว่าใครที่โล้ชิงช้าแล้วตกลงมาจะถูก “ฝัง” ไว้ที่ใต้ชิงช้านั้น วิญญาณจึงวนเวียนไม่ไปไหน เรื่องเล่าลือนี้แท้แล้วไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด น่าจะเป็นความเข้าใจผิดที่ติดมาจากพิธีฝังหลักเมืองมากกว่า พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 นี่เอง
ขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza
โพสต์โดย : monnyboy