คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) Khum Chao Burirat (Mahain)

เส้นทาง/หมวด

อิ่มบุญ อุ่นใจ ไป ๔ แจ่ง

ประวัติความเป็นมา

เจ้าบุรีรัตน์เป็นหนึ่งในห้าตำแหน่งทางการปกครองของหัวเมืองเชียงใหม่ที่เรียกกันว่า "เจ้าขันหาใบ" โดยเจ้าน้อยมหาอินทร์ซึ่งเป็นราชบุตรคนที่สองของเจ้าอุปราชพิมพิสารได้สร้างคุ้ม (อาคารที่พักอาศัยของเจ้านาย) หลังนี้ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2432-2436 ภายหลังการรับตำแหน่งเจ้าบุรีรัตน์ ในสมัยเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. 2416-2440) และได้ครอบครองอยู่ จนถึงแก่กรรม โดยเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่บุตรชาย เจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เป็นผู้ครอบครองอาคารต่อระหว่างปี พ.ศ. 2437-2460

ประมาณปี พ.ศ. 2460 นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้ออาคารหลังนี้จาก เจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น
MulticollaC
ณ เชียงใหม่) ในราคา 5,000 บาท ต่อมาเรียกว่า บ้านกลางเวียง และเมื่อนางบัวผัน ทิพยมณฑลถึงแก่กรรม อาคารหลังนี้ได้เป็นมรดกตกทอดมายังลูกหลานตระกูลทิพยมณฑล และกิติบุตร

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 นางสาวเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรนางบัวผัน ทิพยมณฑล) ได้มอบคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ตระกูลทิพยมณฑลและกิติบุตร ให้เป็นศูนย์กลางในการดำรงรักษา เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมล้านนาสืบต่อไป

ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น

เป็นอาคารที่มีการผสมผสานระหว่างงานสถาปัตยกรรมตะวันตกกับงานสถาปัตยกรรมล้านนา แสดงถึงอิทธพลทางการก่อสร้างในช่วงที่เมืองเชียงใหม่ทำกิจกรรมค้าไม้กับประเทศอังกฤษ สร้างอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน 84 ตารางวา ภายในกำแพงก่ออิฐหนาสูงประมาณ 1.80 เมตร โดยรอบทั้งสี่ด้าน แปลนเป็นสัญลักษณ์ศอกคู้ (รูปตัว L) โดยชั้นล่างมี 3 ห้อง ชั้นบนมี 3 ห้อง เดิมมีบันไดอยู่นอกอาคารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่เนื่องจากมีการพุพังในส่วนระเบียงชานชั้นบนและบันไดด้านหลัง จึงได้มีการรื้อถอนออกไปเหลือเฉพาะบันไดด้านหน้า ส่วนชั้นล่างเป็นรูปแบบผสมของเรือนมะนิลากับสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลที่มีการก่ออิฐฉาบปูน เป็นซุ้มโค้งเดินร่องเป็นลวดลายเหนือทางเดินโดยรอบซึ่งแพร่หลายในประเทศอาณานิคมชั้นบนเป็นรูปแบบเรือนเครื่องไม้แบบเชียงใหม่ ที่ได้นำเทคนิควิธีเครื่องบนไม้และวัสดุมุงหลังคาพื้นเมือง (ดินขอ) มาใช้อย่างเหมาะเจาะลงตัว
ขอบคุณข้อมูลจาก
lanna-arch.net