Social :



20 ข้อที่ไม่ควรเขียน ลงในประวัติส่วนตัว (Resume) ตอนสมัครงาน

29 ส.ค. 60 06:00
20 ข้อที่ไม่ควรเขียน ลงในประวัติส่วนตัว (Resume) ตอนสมัครงาน

20 ข้อที่ไม่ควรเขียน ลงในประวัติส่วนตัว (Resume) ตอนสมัครงาน

20 ข้อที่ไม่ควรเขียน ลงในประวัติส่วนตัว 
(Resume) ตอนสมัครงาน



ประวัติส่วนตัวในใบสมัครงานเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะมันเป็นตัวตัดสินว่าคุณจะได้งานที่ใฝ่ฝันหรือไม่ได้ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นการดีที่จะใส่อะไรเข้าไปให้ดูเยอะๆ เข้าไว้ เพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองมีความสามารถมาก แต่บางครั้งสิ่งที่ดูไม่จำเป็น และไร้สาระก็อาจเป็นการตัดโอกาสในการได้งานของคุณไปเลยก็เป็นได้

ประวัติส่วนตัว หรือ Resume (เรซูเม่) เป็นสิ่งแรกที่คุณสามารถสร้างความประทับใจให้กับนายจ้างได้ ทำอย่างไรเพื่อให้ตัวเองดูเด่นกว่าคนอื่น จนน่าเรียกเข้าไปสัมภาษณ์ และดูน่าถูกจ้างเข้าไปทำงาน เมื่อรู้ได้แบบนี้แล้ว ก็ต้องเตรียมพร้อมทำประวัติเรซูเม่ ให้ดูดีก่อนที่จะยื่นไปให้บริษัทที่ตัวเองต้องการไปสมัครงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในที่นี้เราขอไม่กล่าวถึงเรื่องการเลือกรูปแบบกระดาษจัดหน้า และสร้างสรรค์ความสวยงามใดๆ แต่จะมาเน้นที่เนื้อหา โดยเราได้นำ 20 ข้อที่ไม่ควรเขียน ลงในประวัติส่วนตัว (Resume) ตอนสมัครงาน จาก AEC Job Listing มาให้ทุกคนได้ดูกันด้วย

1. ความสามารถอื่นๆ ที่คุณมี (Secondary skills)

ในกรณีที่คุณมีความสามารถอื่นๆที่ตัวเองมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปในงานใหม่ที่คุณกำลงสมัคร ขอให้คุณใส่มันเอาไว้ในอันดับแรกๆ ของประวัติส่วนตัว หรือเรซูเม่ของคุณ แต่ต้องระวัง! อย่าเอาความสามารถที่คิดว่าคุณจะไม่ทำมัน หรือไม่มีวันทำได้ดีแน่ๆออกไปซะ ไม่อย่างนั้แล้วคุณอาจตกที่นั่งลำบากในภายหลังเพราะต้องทำมัน

 
2. งานรับจ๊อบพิเศษระหว่างที่คุณเรียนอยู่ชั้นมัธยม(High school jobs)

บางคนอาจรู้สึกว่าใส่ประวัติการทำงานให้เยอะๆ ไว้ก่อนก็คงดี แต่บางครั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มันก็ไม่ได้ช่วยให้คุณดูดีขึ้นมาได้ เช่น อย่าใส่เรื่องเกี่ยวกับงานพิเศษ รับจ๊อบเล็กๆน้อยๆที่คุณรับทำในระหว่างที่คุณเรียนอยู่ชั้นมัธยม ยกเว้นว่าคุณเพิ่งจะเรียนจบชั้นมัธยม

 
3. ชื่ออีเมล์ที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ (หรือ อีเมล์ที่ดูเด็กๆ ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่)The unprofessional (silly) email account
ถ้าคุณยังคงใช้ชื่ออีเมล์เก่าๆ เดิมๆ ตลอดเวลา เช่น [email protected] ขอให้เลิกใช้มันซะ !!! และสร้างอันใหม่ที่ดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้ตอนเด็กๆ ที่เพิ่งสมัครอีเมล์อาจคิดว่ามันฟังดูเจ๋งดี แต่ถ้าต้องเข้าทำงาน ในหน่วยงานที่ดูจริงจัง เมล์แบบนี้ของคุณอาจทำให้เจ้านายไม่ประทับใจ ถ้าคิดไม่ออกก็ให้ตั้งชื่อเมล์เป็นชื่อของตัวเองซะ

 
4. สะกดคำผิดๆและใช้ไวยกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง (Misspelled words and poor grammar)

การที่คุณสะกดคำผิดๆหรือใช้ไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้คุณไม่ได้รับแม้แต่โอกาสที่จะสัมภาษณ์งาน ก่อนที่จะส่งใบสมัครงาน ประวัติการทำงาน เรซูเม่ ขอให้อ่านอีกหลายๆ ครั้งเพื่อตรวจหาคำผิด และในกรณีที่ไม่มั่นใจในเรื่องของภาษา ก็ควรให้เพื่อนหรือคนอื่นตรวจให้คุณอีกครั้งก่อนที่จะส่งเรซูเม่ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ

 
5. ใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงาน (Superfluous things)

ขอย้ำอีกครั้งว่าอย่าใส่ข้อมูลมากมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ลงไปในใบสมัครงาน และเรซูเม่ที่คุณจะสมัคร โดยเฉพาะเรื่องงานอดิเรก แต่สามารถเก็บสิ่งเหล่านี้ไปเล่าในระหว่างที่คุณสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณสามารถใส่ลงในเรซูเม่ของคุณได้คือเรื่องที่คุณทำงานเพื่อสังคม หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานเดิมของคุณ

 
6. รูปแบบเรซูเม่แบบเดิมๆ (Old-school resume formatting)

เปลี่ยนรูปแบบเรซูเม่ของคุณซะบ้าง ด้วยการหารูปแบบการจัดเรียงประวัติส่วนตัวแบบใหม่ๆที่ดูสะดุดตา เพื่อให้นายจ้างรู้สึกประทับใจแล้วรู้สึกว่าคุณมีความน่าสนใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ใช้เรซูเม่แบบที่เน้นสีสันและดูไม่เป็นมืออาชีพ ควรใช้ฟอนต์ (Font) หรือรูปแบบตัวอักษรแบบเดียวกันทั้งหมดเพื่อให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 
7. The “Objective” section. เป้าหมายในการทำงาน
แทนที่จะพรรณาว่าอะไรที่คุณค้นหาคุณต้องการอะไรในการที่จะเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ อย่าลืมที่จะใส่ “เป้าหมายในการทำงาน” ของคุณ บอกผู้สัมภาษณ์งานว่าคุณมีความสามารถอะไรบ้างและความสามารถนั้นของคุณมีประโยชน์อะไรบ้างกับองค์กร

 
8. เรื่องส่วนตัว (Personal information)

การเขียนประวัติเรซูเม่ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องบอกเรื่องความเห็นเกี่ยวกับเชื่อชาติ และ ศาสนา (ยกเว้นว่างานที่ว่านั้นๆจะมีความเกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องนี้) แต่สามารถใส่เหตุผลที่คุณเปลี่ยนงาน ที่อยู่และ ชื่อของนายจ้างเดิม

 
9. รูปถ่าย (A photo)
รูปถ่ายใบหน้าของคุณก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ที่จะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ของคุณ และปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้รับโอกาสในการเรียกเข้าสัมภาษณงานด้วย เพราะฉะนั้น ควรใส่รูปที่เป็นมืออาชีพ ไม่ใส่รูปกลุ่มแล้วตัดมาเฉพาะหน้าตัวเอง และไม่ควรจะใส่รูปที่ดูเหมือนถ่ายเล่นอยู่กับเพื่อน ตามสมัยนิยม เว้นแต่ว่าคุณจะสมัครเป็นเป็นดารา หรือทำงานในวงการบันเทิง


MulticollaC
10. ช่วงเวลาของประสบการณ์ทำงาน Gaps in work experience (if you can)

ในกรณีที่คุณอาจจะมีช่วงเวลาที่ว่างงานสัก 2-3 เดือนในระหว่างที่คุณลาออกจากงานเดิมและกำลังหางานใหม่ ให้พยายามเติมช่องว่างเหล่านั้นด้วยงานเพื่อสังคมหรือประสบการณ์ในการไปช่วยธุรกิจเล็กๆน้อยของเพื่อนเก่าคุณ (ซึ่งคุณสามารถใส่ว่าคุณไปช่วยในฐานะที่ปรึกษา)

 
11. เบอร์โทรศัพท์บ้าน (ถ้ามี)Your home number (if you still have one)

ส่วนใหญ่แล้วคนที่ไปสมัครงานมักจะใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือลงใบในใบประวัติ อย่าใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านของคุณ เนื่องจากว่า ผู้สัมภาษณ์งานชอบที่จะติดต่อคุณได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่คุณอยู่บ้านเท่านั้นและในสมัยนี้คนส่วนใหญ่ก็มีมือถือกันหมดแล้ว

 
12. บุคคลอ้างอิงReferences

ขอแนะนำให้คุณใส่ชื่อบุคคลอ้างอิงในประวัติส่วนตัว หรือเรซูเม่ของคุณด้วย ในกรณีถ้าคุณไม่ใส่ คุณก็จะถูกถามในระหว่างการสัมภาษณ์งานอยู่ดี ดังนั้นพยายามใส่รายชื่อบุคคลอ้างอิงให้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ หรืออย่างน้อย 2 คน

 
13. หน้าที่ 2 ของเรซูเม่ (The second page)

พยายามใส่สิ่งที่สำคัญๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณและประสบการณ์ทำงานเอาไว้ในในหน้าแรกของเรซูเม่ เพราะผู้สัมภาษณ์งานส่วนมากแทบจะไม่เปิดหน้าที่2 ดู โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆที่มีคนมาสมัครงานเป็นจำนวนมากๆ

 
14. วันเริ่มต้นและสิ้นสุดของเดือน (Beginning and end months)

ใส่เฉพาะแค่ปีที่เริ่มต้นและปีที่สิ้นสุดการทำงาน สำหรับงานเก่าที่เคยทำ แต่อย่าใส่เดือนที่เริ่มต้นและสิ้นสุด ยกเว้นแต่ว่าตำแหน่งงานเดิมนั้นจะเริ่มต้นและสิ้นสุดภายในปีเดียวกัน

 
15. หัวข้อ “เรซูเม่” (The word “Resume.”)

อย่า!! อย่าตั้งหัวข้อของเรซูเม่คุณว่า “เรซูเม่”

 
16. ย่อหน้าของแบบบรรยายลักษณะงาน (Paragraphed job descriptions)

ใช้ Bullet Point ในการอธิบายลักษณะงานของคุณ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรใช้มันมากจนเกินไป เพราะมันทำให้ผู้อ่านตาลาย ผู้สัมภาษณ์งานส่วนมาก จะเลิกอ่านเรซูเม่ที่มีย่อหน้าและเนื้อหามากจนเกินไป แต่จะอ่านเรซูเม่ที่จัดวางเป็น Bullet ที่อ่านง่ายและแลดูสะอาดตา

 
17. จำนวนเงินเดือนทั้งปัจจุบันและที่คาดหวังไว้ในงานที่สมัคร (Salary figures-past and future)

อย่าใส่เงินเดือนปัจจุบันที่เกินกว่าความเป็นจริงที่คุณได้ จงอย่าลืม! ว่าความลับไม่มีในโลก อย่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้ และมีความเป็นไปได้ว่าผู้สัมภาษณ์งานปัจจุบันมักจะโทรถามนายจ้างเก่าหรือบุคคลอ้างอิงของคุณ ก่อนที่จะเรียกคุณเข้าสัมภาษณ์งาน ทำการบ้านและเช็คดูแล้วว่าประสบการณ์ของคุณ กับเงินเดือนควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ หรืออาจลองเทียบกับบริษัทแบบเดียวกัน และตำแหน่งเดียวกันดู ในกรณีนี้คุณไม่ควรที่จะเรียกร้องเงินเดือนมากกว่าความสามารถของคุณนัก เพราะมันจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่เรียกร้องจากองค์กรมากกว่าที่จะทำอะไรเพื่อองค์กรและถ้าเป็นเช่นนั้นบริษัทก็อาจไม่อยากจ้างคุณ

 
18. ชื่อตำแหน่งงาน (Generic job titles)

ควรใส่ชื่อตำแหน่งงานเดิมของคุณตามความความเป็นจริงและเหมาะสม และควรจะเป็นตำแหน่งงานแบบสากล สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างใหม่มีไอเดียมากขึ้นว่าคุณเคยทำอะไรมาและคุณควรอยู่ตำแหน่งใดต่อไป

 
19. หน้าที่และความรับผิดชอบ (Duties and responsibilities)

ถ้าคุณอยากให้นายจ้างคนใหม่ เห็นว่าคุณมีความสามารถมากกว่าผู้สมัครงานคนอื่นๆ ก็ให้เลิกใส่หน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานเดิมของคุณลงในเรซูเม่ แต่คุณควรจะเริ่มใส่ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณเคยได้ผ่านความท้าทายมา และทำอย่างไรถึงเอาชนะมันมาได้ หรืออธิบายว่าองค์กรจะได้ประโยชน์อะไรจากความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรนี้ของคุณ อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจย้ายงานไปสู่องค์กรณ์ที่ดีขึ้นกว่าองค์การที่คุณเริ่มทำงาน

 
20. การระบุวันที่ (Age identifiers)

ถ้าคุณคิดว่าอายุของคุณอาจจะดูมากเกินไป ในจำแหน่งที่คุณสมัคร อย่าใส่ตำแหน่งงานและระยะเวลาของงานที่คุณเคยทำเมื่อนานมาแล้ว อย่าใส่วันที่ที่คุณเรียนจบ เพราะมันจะทำให้ประวัติของคุณถูกมองข้ามไป สิ่งที่คุณจะทำได้ก็คือ การเพิ่มความน่าสนใจ และบอกว่าตัวเองเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นแค่ไหน โดยเฉพาะในวันที่คุณได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์งาน แสดงให้ผู้สัมภาษณ์งานเห็นว่าอายุของคุณเหมาะสมกับความสามารถและตำแหน่งงานนั้นที่สุด






ขอขอบคุณที่มา:www.lady108.com

โพสต์โดย : Wizz