Social :



@โบราณสถานเวียงลอ จ.พะเยา

28 ส.ค. 60 11:08
@โบราณสถานเวียงลอ จ.พะเยา

@โบราณสถานเวียงลอ จ.พะเยา

จากการที่กรมศิลปากร ได้ร่วมมือกับชาวบ้านเทศบาลตำบลเวียงลอ และเทศบาลตำบลหงส์หิน

5

     สำรวจพื้นที่ตั้งแต่บริเวณบ้านร้องย้าง ตำบลเวียงลอ ไปจรดบ้านศรีชุมรอยต่อของอำเภอจุน จังหวัดพะเยาและอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี 2536 พบโบราณสถานเป็นจำนวนมากจึงได้ทยอยขุดแต่งและบูรณะในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมานั้นบริเวณเวียงลอนี้ นอกจากจะพบหลักฐานประวัติศาสตร์ ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญเป็นจำนวนมากแล้ว ยังพบว่าภูมิประเทศที่ราบลุ่มเชิงเขามีแม่น้ำไหลผ่านแห่งนี้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งรกรากชุมชนมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์

     จากการขุดแต่งในครั้งนั้น พบพิธีกรรมฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ใต้ชั้นดินกำแพงเมืองเวียงลอด้านทิศตะวันตก พบโครงกระดูกมนุษย์ 3 โครง นอนหงายหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก มีเศษภาชนะดินเผา ลายเชือกทาบ กำไลสำริด เครื่องมือเหล็ก หอกไม่ต่ำกว่า 3 ชิ้น ลูกปัดแก้วสีเหลืองกว่า 20 เม็ด และลูกปัดดินเผา 7 ชิ้น หม้อบรรจุกระดูก 1 ใบ อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน สันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่พบเป็นคนจากยุคโลหะตอนปลาย อาจเป็นกลุ่มชนโบราณที่น่าจะมีการอยู่อาศัยเป็นชุมชนแล้ว เนื่องจากมีการกำหนดสถานที่ฝังศพและรูปแบบพิธีกรรมการฝังศพที่ชัดเจน

     อย่างไรก็ตาม กลับยังไม่พบหลักฐานยืนยันว่า กลุ่มคนที่เป็นเจ้าของหลุมฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวอยู่ลึกใต้ชั้นดินกำแพงเมืองเวียงลอนี้ มีความเชื่อมโยงเป็นกลุ่มชนเดียวกันกับผู้สร้างเมืองโบราณเวียงลอในสมัยต่อมาแต่อย่างใด

     ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเวียงลอนั้นถูกสร้างขึ้นมาเมื่อใด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แถบล้านนาทำให้ทราบเพียงว่า เวียงลอ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 


      ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1669 เนื่องจากเมื่อขุนเจืองธรรมผู้ครองเมืองภูกามยาวหรือพะเยา ยกทัพไปช่วยขุนชินผู้เป็นลุงสู้กับทัพแกวที่ยกมาติดเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนนั้น ได้ปรากฏชื่อ เวียงลอ เป็นหนึ่งในเมืองขึ้นที่ถูกเกณฑ์ไปช่วยศึก จึงชัดเจนว่าเวียงลอเป็นเวียงโบราญที่มีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก่อนช่วงเวลานั้นแล้ว

ในปี พ.ศ. 1818 ครั้งพระยามังรายครองเมืองฝาง ได้ยกทัพจากเมืองฝางไปตีเมืองเทิงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของพะเยา ในตอนนั้นเวียงลอซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองเทิงยังอยูในอาณาเขตของพะเยา เมื่อพระยาคำฟูผนวกเมืองพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนา เวียงลอก็ถูกผนวกเข้าไปด้วย

2

     ช่วงเวลาดังกล่าวเมืองพะเยาและเวียงลอมีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาทั้งนี้เวียงลอยังเป็นเมืองหน้าด่านภายใต้อำนาจทางการเมืองของพะเยาและเชียงใหม่โดยมีขุนนางบรรดาศักดิ์ หมื่นลอ เป็นผู้กำกับดูแล และได้นำทัพเข้าร่วมกับล้านนาในการรบพุ่งกับอาณาจักรต่างๆ หลายครั้ง ที่สำคัญคือ ในราว พ.ศ.1984 ทัพเมืองเชียงใหม่ยกผ่านเวียงลอไปตีเมืองน่านเพื่อเอาเป็นส่วยค้าเกลือ ปรากฏชื่อขุนนางผู้ครองเมืองลอ หมื่นยี่ลก เป็นผู้นำทัพคนสำคัญที่ช่วยให้ทัพเชียงใหม่สามารถผนวกเมืองน่านได้จนสำเร็จ

Lif

     ในสมัยล้านนานั้น เวียงลอ ถือเป็นเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองเชียงแสน เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพะเยา เมืองน่าน และล้านช้างในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชคราวที่เสด็จไปตีเมืองน่าน ได้ยกทัพผ่านเมืองลอและตั้งขุนนางครองเมืองลอด้วย

3

     ในช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองโปรดให้พระเมกุฎสุทธิวงศ์ราชวงศ์มังรายครองเมืองเชียงใหม่ดังเดิม ปรากฏชื่อเวียงลอ เป็นเมืองเส้นทางเดินทัพ เมื่อพระเมกุฏสุทธิวงค์ยกทัพหลวงไปสู้กับพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างที่ได้ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงแสน มีบันทึกว่า เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาถ่อยร่นพระเมกุฎสุทธิวงศ์จึงยกทัพเสด็จกลับเมืองเชียงใหม่ โดยใช้เส้นทางผ่านเมืองเทิง กาดดู่ เวียงลอ ขัวซา พะเยา แพร่ ลำปาง ตามลำดับจนถึงเชียงใหม่

     ระหว่างปี พ.ศ. 2101-2139 เวียงลอถูกปกครองโดยขุนนางพื้นเมืองและต้องอยู่ในความดูแลของหงสาวดีเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่นๆ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ราชวงค์ตองอูเข้ามามีอำนาจ โดยให้เจ้าฟ้าสาวัตถีมังคยอขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งคุมหัวเมืองน้อยใหญ่ไว้ และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงล้านนาให้อยู่ภายใต้การปกครองของหงสาวดีโดยสมบูรณ์ ตลอดระยะเวลาการปกครองของหงสาวดีเวียงลอถือเป็นเมืองหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญ ให้เจ้าเมืองลอมีฐานะเท่าเจ้าเมืองสาด รวมทั้งกลายเป็นที่มั่นที่สำคัญของหงสาวดีอีกแห่งหนึ่ง

     ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 -23 ศูนย์กลางของพม่าในล้านนาเปลี่ยนไปอยู่ที่เชียงแสนพ.ศ. 2199 หลายหัวเมืองไม่มีผู้ปกครอง เจ้าหลวงเมืองแพนผู้ครองเมืองเชียงรายก็ยังเห็นความสำคัญแต่งตั้งให้แมน 5 พี่น้องไปกินเมืองพะเยา เมืองพาน เมืองเทิงเมืองซลาว และเมืองลอ โดยให้ขึ้นตรงกับเมืองเชียงราย

4

     ปี 2317 พระเจ้ากรุงธนบุรีร่วมกับพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ แพร่ น่าน และลำปาง ได้สำเร็จ พ.ศ. 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้พระเจ้ากาวิละยกกองทัพไปตีเมืองเทิง เมืองลอ ซึ่ง อยู่ในปกครองของพม่า และให้กวาดต้อนผู้คนไปถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นเหตุให้เมืองลอถูกทิ้งร้างตั้งแต่บัดนั้นต่อมา พ.ศ. 2443 เมืองลอ เมืองจุน เมืองเทิง นครน่าน เชียงของ รวมกันเป็นเขตการปกครองนครน่านเหนือ และในปี พ.ศ. 2459 ได้เลิกการปกครองน่านเหนือและได้ยุบมืองลอ เมืองจุน เป็นตำบลขึ้นกับเขตการปกครองของมลทลพายัพเหนือ

     ในวันที่ 24 สิงหาคม 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะตำบลลอ ตำบลจุนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจุน โดยอยู่ในเขตการปกครองอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 ได้ยกฐานะ เป็น อำเภอจุน อยู่ในการปกครองของจังหวัดเชียงราย จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ได้ยกฐานะอำเภอเมืองพะเยาขึ้นเป็นจังหวัดให้อำเภอจุนขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดพะเยา กระทั่งปัจจุบัน


ขอบคุณข้อมูลจาก

wianglo.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ