Social :



วิธีจัดการอาการสมาธิสั้น ที่เราไม่ควรมองข้าม!!

28 ก.ย. 60 07:00
วิธีจัดการอาการสมาธิสั้น ที่เราไม่ควรมองข้าม!!

วิธีจัดการอาการสมาธิสั้น ที่เราไม่ควรมองข้าม!!

วิธีจัดการอาการสมาธิสั้น ที่เราไม่ควรมองข้าม!!




อาการสมาธิสั้น ทุกคนอาจจะคิดว่าเกิดได้ในเฉพาะในเด็กเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ก็สามารถเป็นได้ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาการไหนบ้างที่เป็นอาการของคนสมาธิสั้น ลองมาเช็คกันได้เลย พร้อมมีวิธีแก้ไขอาการสมาธิสั้นเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของเรามาฝากกันอีกด้วย

โรคทำร้ายบุคลิก ที่ใครก็สามารถเป็นได้

ลักษณะอาการของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น
ตอนเด็กๆ มีพฤติกรรมที่ซน ไม่ชอบอยู่นิ่งๆ เลย ไม่ตั้งใจเรียน เรียนหนังสือได้ไม่ดี โมโหง่าย วอกแวก ฯลฯ ซึ่งถ้าใครที่มีอาการแบบนี้ตั้งแต่ยังเด็กและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โตขึ้นมาก็ยังคงมีอาการเหล่านี้อยู่ แต่ก็ไม่ได้มากเท่ากับตอนเด็กๆ แต่อาการที่เราจะเห็นได้ชัดจากวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว หรือวัยผู้ใหญ่ คืออาการทางพฤติกรรมและอารมณ์ ได้แก่

  • ใจร้อน โผงผาง
  • อารมณ์ขึ้นลงเร็ว โกรธง่าย หายเร็ว มักมีเรื่องรุนแรงกับบุคคลที่ตนไม่พอใจ
  • หุนหัน พลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่คิดก่อนทำ ทำตามใจชอบ
  • ทนกับความเครียดหรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
  • วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิระหว่างการเรียนขั้นอาชีวศึกษาหรือขั้นอุดมศึกษาหรือในการทำงาน
  • รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้
  • มักจะทำงานหลายๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จแม้แต่ชิ้นเดียว
  • ไม่รู้จักแบ่งเวลา ขาดความสามารถในการบริหารจัดการเวลาที่ดี
  • ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง
  • นั่งอยู่นิ่งๆ ไม่ได้นาน ชอบเขย่าขาหรือลุกเดินบ่อยๆ หรือพูดโทรศัพท์มือถือ
  • เบื่อง่าย หรือต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
  • ไม่มีระเบียบ ห้องหรือบ้านรกรุงรัง

Lif


วิธีจัดการอาการสมาธิสั้น
  • ฝึกการสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการกำหนดระยะเวลา ควรจัดให้มี “ตารางเวลา” ในการฝึกทำในแต่ละครั้ง
  • ใช้ดนตรีในการช่วยบำบัดอาการสมาธิสั้น
  • ฝึกคิด จินตนาการในเรื่องต่างๆ
  • การนั่งสมาธิ อาจจะใช้เวลาแค่สั้นๆ 3- 5 นาที ก่อนนอน ฝึกกำหนดลมหายใจ ก็จะช่วยให้เรานิ่งขึ้น
  • ปัญหาการเรียน เด็กวัยรุ่นที่มีอาการสมาธิสั้น เขาไม่ได้ขาดความสามารถ แต่มีปัญหาการทำงานทางด้านการเรียน ทำได้ไม่เสร็จ ไม่รอบคอบ จึงทำให้ไม่ถูกต้อง จึงเกิดปัญหาเพราะฉะนั้นพ่อ-แม่และครูจึงต้องช่วยกัน เพื่อทำให้เขาเข้าใจกระบวนการเรียนรู้และหาวิธีมอบหมายงานให้เหมาะสมกับตัวเด็ก
  • เด็กที่มีปัญหาด้านความสนใจ ไม่สามารถกลั่นกรองสิ่งเร้าได้ จึงทำให้แยกไม่ออกว่า ควรสนใจอะไร ควรทำอะไร และควรทำอย่างไร งานจึงจะเสร็จ จึงต้องหาวิธีการทำให้เขาสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ให้ได้
  • เด็กที่มีปัญหาด้านความจำ การเก็บข้อมูล ประมวลและแปลข้อมูลมีปัญหา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ได้เห็น ได้ยิน ได้อ่านหรือได้เขียนอะไร จะจำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือประมวลหรือจับประเด็นได้ลำบาก นั่นก็คือปัญหาการคิดรวบยอด ฉะนั้นจะต้องช่วยด้วยการเพิ่มเวลาทำงานหรือลดหย่อนการทำงาน โดยแบ่งงานเป็นตอนสั้นๆ หรือขีดเส้นใต้ตอนที่สำคัญให้กับเขา
  • เด็กมีปัญหาการทำข้อสอบ เพราะมีข้อบกพร่องในการดึงข้อมูลหรือดึงได้ช้า จึงทำให้ผลการสอบไม่ดี เกือบได้เกือบตกเสมอ จึงเป็นเรื่องจำเป็นในการเพิ่มเวลาสอบ ต้องขอความช่วยเหลือจากคุณครูให้เพิ่มเวลาสอบให้สำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • ปัญหาการขาดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะเด็กๆ ต้องผจญกับการถูกผู้ใกล้ชิดรอบตัว ตี ดุ ด่า ว่ากล่าวและตำหนิ เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นผู้ใกล้ชิดรอบตัวจึงต้องปรับพฤติกรรมตนเอง มิให้โกรธและโมโหหรือรำคาญเด็ก ต้องให้กำลังใจ และมีทัศนคติเชิงบวกกับเด็ก
  • ค้นหาความสามารถด้านอื่นของเด็กและให้ความสนับสนุน ให้ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ ขอให้จำไว้ว่า “ช่วยเหลือมิใช่แก้ไข้”
  • ปัญหาการคบเพื่อน เด็กวัยรุ่นทั่วไป มักติดเพื่อนและเห็นความสำคัญของเพื่อน แต่เด็กสมาธิสั้นจะรู้สึก “แปลกแยก” เพราะไม่มึใครอยากคบ แม้แต่พ่อแม่ของเพื่อนก็จะพากันห้ามปรามลูกของตน ไม่ให้คบ แต่ละคนล้วนแต่แสดงอาการ “รังเกียจและดูถูกเหยียดหยาม” เป็นประจำ จึงมักจะหันไปคบเพื่อนที่มีปัญหา พากันทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำ เช่น เสพยา ทะเลาะวิวาท ฯลฯ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จะต้องช่วยเหลือลูก โดยการช่วยสร้างเพื่อนให้ลูก ชักชวนเพื่อนลูกมาเที่ยวบ้าน ร่วมกิจกรรมด้วยกันเป็นประจำ ไม่ตำหนิเพื่อนให้ลูกฟัง สอนทักษะการแยกแยะคนจากการดูพฤติกรรมโดยยึดหลักธรรมะตามข้างต้นเป็นประจำ และไม่ตำหนิบุคคลใดหรือแม้แต่ตัวลูก ควรพูดถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น





ขอขอบคุณที่่มา:health.campus-star.com

โพสต์โดย : Wizz