Social :



@วัดท่าหลวง จ.พิจิตร

27 ก.ย. 60 19:09
@วัดท่าหลวง จ.พิจิตร

@วัดท่าหลวง จ.พิจิตร

วัดท่าหลวง



   วัดท่าหลวง นับว่าเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท.สำนักงานนครสวรรค์ โทร.056-221811 
https://www.facebook.com/TAT-Nakhonsawan-103513930140126/


เดินทางสู่วัดท่าหลวง

     เส้นทางการเดินทางสู่วัดท่าหลวง วัดท่าหลวงที่ผมมาในวันนี้ตรงกับวันลอยกระทง ด้านหน้าพระอุโบสถมีการสร้างกระทงขนาดใหญ่แลเด่นสง่าสวยงาม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มาร่วมงานลอยกระทงที่วัด โดยทางวัดมีกระทงจำหน่าย การลอยกระทงหน้าวัดท่าหลวงจะลอยลงแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับประเพณีแข่งเรือยาวประจำปี การเดินทางเส้นทางที่ผมใช้ประจำคือมาถนนสายเอเซียถึงนครสวรรค์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 117 นครสวรรค์พิษณุโลก เลี้ยวขวาทางหลวงหมายเลข 115 เข้าเมืองพิจิตร ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำตรงบริเวณโรงเรียนโยเซฟพิจิตร เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมือง จากนั้นขับตรงอย่างเดียวเลี้ยวเข้าวัดทางขวามือซึ่งเป็นเขตพุทธาวาส แต่ถ้าถนัดทางหลวงหมายเลข 11 ตากฟ้า ไพศาลีมากกว่า ก็ตรงมาเรื่อยๆ เลี้ยวซ้ายทางหลวงหมายเลข 111 จะตรงไปข้ามสะพานเลี้ยวซ้ายตามแม่น้ำมาถึงวัด หรือจะเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 115 ก็ได้ ขอเล่าถึงการแข่งขันเรือยาวประเพณีของวัดท่าหลวงที่ขึ้นชื่อของไทย เริ่มตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมทัสสี-มุนีวงศ์ (เอี่ยม) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ประมาณ พ.ศ. 2450 ในการจัดรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้น ในสมัยหลวงพ่อเอี่ยมและต้นสมัยพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงพ่อไป๋ ญาณผโล - นาควิจิตร) ช่วงต้นเดือนกันยายน ในวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 ทุกปี ต่อมาน้ำในแม่น้ำน่านลดลงอย่างเร็วไม่เหมาะสมจะแข่งขันจึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และจัดแข่งขันเพียงวันเดียว สนับสนุนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (ข้าหลวงหรือพ่อเมือง) ประชาชนให้ความสนใจมา ชมงานอย่างคับคั่งล้นหลามตลอดมา เพราะวัดท่าหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเพียงวัดเดียวเท่านั้น ในสมัยนั้นได้จัดผ้าห่มหลวงพ่อเพชรพับใส่พานให้เป็นรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศแก่เรือยาว เมื่อเรือยาวลำใดได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปแล้วจะนำผ้านั่นพันที่โขนเรือถือว่าเป็นสิริมงคลแก่เทือกเรือ(ฝีพาย) ต่อมาคณะกรรมการเห็นว่าการนำผ่าห่มหลวงพ่อเพชรซึ่งเป็นของสูงไปพันที่โขนเรือมีความไม่เหมาะสมจึงเลิกเสีย แล้วจัดทำธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรเป็นรางวัลแทน และทำธงแบบนี้ให้เป็นอนุสรณ์แก่เรือทุกลำที่เข้าร่วมการแข่งขัน การแข่งขันได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับและต่อมามีการเพิ่มวันในการจัดงานให้มากขึ้นเพราะเรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้จัดเพิ่มเรือยาวขนาดกลวงฝีพายไม่เกิน 40 คน และเรือยาวใหญ่ฝีพายไม่เกิน 55 คน แต่ละขนาดแยกเป็น 2 ประเภทคือประเภท ก เชิญเรือยาวจากทั่วประเทศ ประเภท ข คือเรือยาวของคนพิจิตรเท่านั้น เปลี่ยนกำหนดวันแข่งขันจากวันทางจันทรคติ มาเป็นวันทางสุริยคติ คือวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายนของทุกปี ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแก่เรือยาวทั้ง 3 ประเภท สร้างความภาคภูมิใจแก่ประชาชนชาวพิจิตรและเรือที่เข้าแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีขบวนเรือพยุหยาตราฃลมารคจำลองที่สวยงามตระการตาหนึ่งในสยามของงานแข่งขันเรือยาว

พระอุโบสถด้านหน้า

     พระอุโบสถด้านหน้า ประวัติวัดท่าหลวง วัดท่าหลวง พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๗๔ ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค ๔ หนเหนือ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน ๔๖ ไร่ ๓ งาน๑๗.๔ ตารางวา น.ส. ๓ ก เลขที่ ๔๗๐, ๔๗๑ น.ส. ๓ เลขที่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลงมีเนื้อที่จำนวน ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๔๒ ตารางวา อยู่ที่ตำบลในเมือง และ ตำบลหนองปลาไหลแห่งละหนึ่งแปลง ตั้งวัดพุทธศักราช ๒๓๘๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๒ เขตแดนวิสุงคามสีมา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๖ เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ - ๒๕๑๓ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ นี้มีมาก่อนที่จะย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันแต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในป่าพงละเมาะไม้ในเขตหมู่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร ซึ่งในขณะนั้นที่ตั้งตัวเมืองพิจิตรอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าห่างจากตัวเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๘ กิโลเมตรและได้ย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตร
MulticollaC

    วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด พุทธศักราช 2388 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดท่าหลวง ชื่อของวัดตั้งขึ้นตามชื่อตำบลอันเป็นที่ตั้ง (ในสมัยนั้น) นอกจากนี้วัดท่าหลวงยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดราชดิตถาราม แต่ไม่ได้รับความนิยมนำมาใช้เรียกขาน

    วัดท่าหลวง มีพระพุทธรูป หลวงพ่อเพชร เป็นพระประธานประจำวัด พื้นที่ของวัดมีลักษณะพิเศษคือ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีถนนบุษบาคั่นระหว่างกลางในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ฟากตะวันออก เป็นเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญเป็นหลัก ส่วนฟากตะวันตกนั้น ประกอบด้วยเขตสังฆาวาส โรงเรียนปริยัติธรรม เขตประกอบฌาปนกิจ และเขตปฏิบัติธรรมของฆราวาส เป็นหลัก โดยมีการอัญเชิญหลวงพ่อพัตร พระประธานองค์เดิม มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพื้นที่ ซึ่งเรียกตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่ คำว่า "ท่าหลวง" นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านท่าหลวง คลองท่าหลวง ตำบลท่าหลวง และเคยเป็นชื่อของอำเภอท่าหลวงมาก่อน ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบันทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดท่าหลวงในกาประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ ฟากตะวันตกวัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปหลวงพ่อพัตร


หน้าพระอุโบสถ

     หน้าพระอุโบสถ การจุดเทียนธูปบูชาหลวงพ่อเพชรให้จุดที่ด้านนอกหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถซึ่งมีหลวงพ่อเพชรองค์จำลองไว้ให้ปิดทองได้

ยกช้างเสี่ยงทาย

     ยกช้างเสี่ยงทาย ข้อกำหนดในการยกช้างแต่ละวัดอาจจะต่างกันบ้างเล็กน้อยในส่วนของวิธีการยก หลายๆ วัดจะระบุบอกไว้เช่นเป็นหญิงให้ใช้นิ้วชี้ เป็นชายให้ใช้นิ้วก้อย การเสี่ยงให้เสี่ยง 2 ครั้ง ครั้งแรกขอให้ยกขึ้น ครั้งที่สองขอให้ยกไม่ขึ้น โดยคำถามต้องเป็นคำถามเดียวกัน หลายครั้งที่ผมได้ลองเสี่ยงยกช้างปรากฏความมหัศจรรย์ที่ผมไม่สามารถอธิบายได้ ครั้งที่ขอให้ยกขึ้นก็จะขึ้น ครั้งที่ขอให้ยกไม่ขึ้นผมได้พยายามอย่างมาก แต่ยกยังไงก็ยกไม่ขึ้น ในส่วนนี้ขอให้ใช้วิจารณญาณของแต่ละคนครับ

ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชร

     ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทอง เมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจอมทอง แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หาพระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามแม่น้ำปิง และหลังจากนั้นได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.00 น.


หลวงพ่อเพชร

     หลวงพ่อเพชร ลักษณะที่งดงามของหลวงพ่อเพชรผมขอนำมาให้ชมชัดๆ อีกภาพประกอบกับข้อมูลพระพุทธศิลป์องค์หลวงพ่อเพชรครับ องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม และทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย พระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกหล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร สังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปี เมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจ"หลวงพ่อเพชร"ให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่ "หลวงพ่อเพชร" ที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ

บุษบกพระบรมสารีริกธาตุ

บุษบกพระบรมสารีริกธาตุ อยู่เบื้องซ้ายขององค์หลวงพ่อเพชร ใกล้ๆ กับพระอัครสาวก

บานประตูพระอุโบสถ

     บานประตูพระอุโบสถ เทวดาที่ปกปักรักษาทางเข้าออกพระอุโบสถและศาสนสถานสำคัญๆ แต่ละวัดจะมีรูปแบบแตกต่างกันเล็กน้อย สำหรับลักษณะที่ใช้ที่วัดท่าหลวงผมยังไม่เคยเห็นที่วัดอื่นมาก่อน

หนุมาน

     หนุมาน ด้านนอกกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถวัดท่าหลวงปรากฏรูปปั้นหนุมานและยักษ์ ทั้งสองข้างของพระอุโบสถมีข้างละ 3 ตน หันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ ส่วนนี้ยังไม่มีข้อมูลแนวคิดในการสร้างครับ และที่วัดอื่นก็ยังไม่เคยเห็นเลยเช่นกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก

touronthai.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ