Social :



@อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร จ.อุตรดิตถ์

06 ต.ค. 60 15:10
@อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร จ.อุตรดิตถ์

@อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร จ.อุตรดิตถ์

อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร



เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแล

     เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ทรงเป็นพระราชบุตรในพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์ราชวงศ์สิงหนวัติแห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสน พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระราชบิดาให้มาปกครองนครลับแล ซึ่งถือว่าเป็นเมืองชายแดนของอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๑๓ เพื่อป้องกันภัยจากการรุกรานของกำโพชนคร (ขอม) และ พม่า จึงอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครลับแล

     ตามตำนานเล่ากันมาว่า ในนครโยนกนาคไชยบุรีศรีเชียงเเสน เกิดข้าวยากหมากเเพงจึงมีการอพยพย้ายถิ่นฐานหาที่อยู่ใหม่ มีหนานคำลือ เเละ หนานคำเเสนเป็นผู้พาชาวเมืองเชียงเเสนลงมาเเละสร้างบ้านเเปลงเมือง ตั้งชื่อว่าเมืองกัมโภช ซึ่งเป็นเมืองลับเเลในปัจจุบัน ต่อมาได้หักร้างถางพงทำไร่ทำสวนจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีวัวควายช้างม้ามากมายบริเวณที่เป็นคอกวัว ควาย ต่อมาเรียกว่า "บ้านคอกควาย "บริเวณที่เป็นโรงเลี้ยงช้าง ต่อมาเรียกว่า " บ้านคอกช้าง "หนานคำลือเเละหนานคำเเสนมีบุตรสาวชื่อนางสุมาลี เเละ นางสุมาลามีหน้าตาสวยงาม ต่อมาได้เป็นผู้คิดการทำผ้าตีนจก หน้าหมอนหกหมอนเเปด ผู้เป็นพ่อเห็นเข้าก็ชอบใจเเละคิดว่าจะนำไปถวายเเก่กษัตริย์เมืองโยนก
Lif

     เมื่อกษัตริย์โยนกเห็นเเล้วก็ชอบพระทัยจึงขอนางสุมาลีเเละนางสุมาลาให้เเก่โอรส คือ เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร หนานคำลือเเละหนานคำเเสนเห็นว่าลับเเลยังไม่มีกษัตริย์ปกครองจึงทูลขอให้เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารลงไปปกครองเมืองลับเเล เมืองโยนกจึงจัดขบวนขันหมากสู่ขอนางสุมาลีเเละนางสุมาลาถึงลับเเล เมื่อเข้าเขตลับเเล ชาวเมืองลับแลพร้อมใจกันต้อนรับเจ้าฟ้าฮ่ามเเละขบวนขันหมากด้วยความยินดีจึงได้ปูผ้าขาวตลอดทางเข้าสู่เขตลับเเล ที่นั่นจึงได้ชื่อว่า บ้านต้นเกี๋ย ( ต้นเกลือ ) เมื่อมาถึงเจ้าฟ้าฮ่ามจึงได้มอบเเหวนให้เเก่นางสุมาลีเเละนางสุมาลา ที่นั่นจึงได้ชื่อว่า บ้านปันเเหวน เมื่อเห็นดังนั้นชาวเมืองต่างพากันยินดี ที่นั่นจึงได้ชื่อว่า บ้านเเสนสิทธิ เจ้าฟ้าฮ่ามปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข

     อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ตั้งอยู่หมู่ 7 บ้านท้องทับแล ตำบลฝายหลวง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร จากอำเภอลับแล บนทางหลวงหมายเลข 1043 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท.สำนักงานแพร่ 0 5452 1118-9, 0 5452 1127
http://www.tourismthailand.org/phrae

ขอบคุณข้อมูลจาก
touronthai.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ