Social :



@วัดหน่อพุทธางกูร (เดิมชื่อ วัดมะขามหน่อ) สุพรรณบุรี

19 ต.ค. 60 18:10
@วัดหน่อพุทธางกูร (เดิมชื่อ วัดมะขามหน่อ) สุพรรณบุรี

@วัดหน่อพุทธางกูร (เดิมชื่อ วัดมะขามหน่อ) สุพรรณบุรี

 วัดหน่อพุทธางกูร
        การเดินทางบนถนนสมภารคง เส้นทางเลียบแม่น้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ใกล้ตัวเมืองสุพรรณ เป็นเส้นทางไหว้พระเก้าวัด และ วัดหน่อพุทธางกูร เป็น 1 ใน 9 วัดสำคัญของเมืองสุพรรณ ที่นักเดินทางนิยมแวะกราบใหว้ และชมความงดงามของงานจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ ที่เขียนโดยช่างในสมัยปลายกรุงศรีอยุทธยา ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภาพบางส่วนเริ่มเสียหายจากความร้อน และความชื้น แต่ทางวัดก็พยายามดูแลรักษาไว้ เพื่อเป็นผลงานที่มีคุณค่า ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเรียนรู้เรื่องราว และศิลปะของไทยที่งดงามมากอีกชิ้นหนึ่ง

      

วัดหน่อพุทธางกูร (เดิมชื่อ วัดมะขามหน่อ) สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลพิหารแดง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ เลยวัดพระลอยไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทางหลวง หมายเลข 3507 กิโลเมตรที่ 3 เป็นวัดที่เงียบสงบสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภายในพระอุโบสถหลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ ค่อนข้างสมบูรณ์ชัดเจน เป็นจิตรกรรม ที่มีความงดงาม เขียนราว พ.ศ. 2391 ในสมัยรัชกาลที่ 3


           
  จัดสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่าชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ เมื่อคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้
MulticollaC
และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในบริเวณที่มีฐานอุโบสถเก่าอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถสืบหาอายุได้ว่าสำนักสงฆ์นี้สร้างขึ้นในปีใด ต่อมาขุนพระพิมุขข้าหลวงในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มาสร้างเป็นวัดขึ้น ให้ชื่อว่า “ วัดมะขามหน่อ ” จนกระทั่งในสมัยพระครูสุวรรณวรคุณ (คำ จนทโชโต) เป็นเจ้าอาวาสจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น “ วัดหน่อพุทธางกูร ” พระอุโบสถเก่าของวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากลักษณะของฐานที่แอ่นโค้งแบบท้องเรือสำเภาอันเป็นรูปแบบที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตรกรรมของวัดนี้เขียนอยู่ภายในและภายนอกพระอุโบสถ ผู้เขียนคือ นายคำ ช่างหลวงที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์เมื่อคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ 

พระอุโบสถวัดหน่อพุทธางกูร 
   เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ด้านหน้าโบสถ์มีมุขยื่นออกมามีเสารองรับอยู่ 4 ต้น หน้าบันและส่วนประดับต่าง ๆ เป็นไม้จำหลักงดงามมาก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาปลายมน ฐานอาคารแอ่นโค้งเป็นรูปท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานได้ว่าเดิมวัดมะขามหน่อนี้อาจเป็นวัดเก่ามีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาชาวบ้านบริเวณวัดมะขามหน่อได้บูรณะขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ทางด้านหน้าและภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมซึ่งงดงามมาก มีนายคำชาวเวียงจันทน์เป็นช่างเขียน นายคำถูกกวาดต้อนมาในสมัยกบฏเจ้าอนุวงศ์ นายคำมีพี่น้องอยู่ด้วยกัน 3 คน แต่พลัดพรากจากกัน เมื่อตอนเดินทางเข้ามาอยู่เมืองไทย ตัวนายคำได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ในฐานะที่เคยเป็นช่างเขียนมาก่อนเมื่อมาอยู่กรุงเทพฯ นายคำจึงถูกเกณฑ์ให้มาเขียนภาพที่วัดสุทัศน์ หลังจากที่เขียนภาพที่วัดสุทัศน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว นายคำพยายามออกตามหาพี่น้องของตนที่มาจากเวียงจันทน์ด้วยกัน และสืบทราบได้ว่าพี่น้องของตนมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จึงติดตามมาหาพบอยู่ที่ตำบลพิหารแดง พอดีขณะนั้นชาวบ้านวัดมะขามหน่อได้ก่อสร้างอุโบสถเสร็จจะเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง นายคำจึงรับอาสาจะเขียนให้และได้ให้นายเทศ ซึ่งเป็นลูกเขยที่กรุงเทพฯ มาช่วยเขียนภาพด้วยอีกคนหนึ่ง เมื่อเขียนภาพที่วัดหน่อพุทธางกูรเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายคำยังได้ไปเขียนภาพที่อุโบสถวัดประตูสาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย 





ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.fad2.go.th/webpage/watnor_suphan.htm

กลุ่มวิชาการโบราณคดี สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี 


 

โพสต์โดย : ต้นน้ำ