Social :



@ศาลาแก้วกู่ หนองคาย

30 ธ.ค. 60 19:12
@ศาลาแก้วกู่ หนองคาย

@ศาลาแก้วกู่ หนองคาย

ศาลาแก้วกู่ (วัดแขก)

      ศาลาแก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก สถานที่ตั้ง  ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้งานปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆรูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.30 น. ค่าเข้าชม 10 บาท

     ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท. สำนักงานอุดรธานี 0 4232 5406-7
http://www.tourismthailand.org/udonthani

ภาพที่เห็นจากลานจอดรถ

     ภาพที่เห็นจากลานจอดรถ เนื่องจากศาลลาแก้วกู่เป็นเหมือนสถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้งานปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆรูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน
เมื่อเข้ามาใกล้บริเวณ ก็สามารถมองเห็นเทวลัยองค์สูงๆองค์นี้ส่วนท่อนแขนยังมีเหล็กโครงอยู่คาดว่าน่าจะยังสร้างไม่เสร็จ

ประตูทางเข้า

     ประตูทางเข้า จ่ายค่าเข้าชม (เพื่อบำรุงรักษาสถานที่แห่งนี้ไว้ต่อไปครับไม่แพงหรอก ถ้าจำไม่ผิดก็ 10-20 บาท) ประตูนี้อยู่ใกล้ๆ กับเทวลัยองค์สูงๆ รูปบน
รอบๆ ซุ้มประตูมีร้านค้ามาเปิดมากมายหลายร้านแสดงให้เห็นว่าแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากันมาก หลายคนก็ยังศรัทธาหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ กันอยู่หลายคนก็มาเพราะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

พระราหูกินจันทร์ และสูรย์คราส

     พระราหูกินจันทร์ และสูรย์คราส คำจารึกเพื่อธิบายเทวลัยที่สลักไว้ที่ฐานของเทวลัยทุกแห่งมีอยู่ว่า  เทวลัยปางนี้คือพระราหูกินจันทร์ และสูรย์คราส คำคม แสงหิ่งห้อยหรือจะเทียบกับแสงดาวที่พราวระยับ หมู่แสงดาวที่แพรวพราวระยับอยู่บนท้องฟ้า หรือจะเทียบแสงเดือนที่นวลใยในนภา แสงเดือนสีนวลสดใสในท้องฟ้า ไหนจะเทียบแสงสุริยาอาทิตย์ได้ แสงสุริยาที่ร้อนแดดแผดเผาทั่วโลกายังมีท้าวพระยาราหู ที่ดับแสงแดดแผดเผาให้เยือกเย็นมัวมืดลงได้ อย่าคิดว่าเราจะดีกว่าคนทั้งโลก ดังสมญานามว่าคนดีไม่มีคนเดียวในโลก   ส่วนครึ่งหนึ่งของฐานด้านขวาเป็นภาษาอิสาน เทวลัยนี้สร้างขึ้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2524 และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี 2546

พระพุทธปัจเจกมณีแก้วกู่

     พระพุทธปัจเจกมณีแก้วกู่ จารึกที่ฐานเทวลัย กล่าวว่า  พระเทวลัยปางนี้คือ พระพุทธปัจเจกมณีแก้วกู่ อุบัติดำรงค์ชนม์ ในสมัยอสูญญกัปป์ ระหว่างพุทธันครของพระกัสสะโปพุทธเจ้า กับของพระโคดมพุทธเจ้า กาลครั้งหนึ่งพระพุทธปัจเจกมณีแก้วกู่ได้ออกจากเวทยิตนิโรธสมาบัติ ได้มุ่งหน้าออกจากที่อยู่แห่งคนบนเขาคันธามาสไปทางทิศตะวันตก ผ่านอุทยานหลวง อุราวรรณ กรุงเกตุมวดี มัชฌิมประเทศ พระองค์ได้โปรดกระทาชายทุกข์เข็ญใจผู้หนึ่งให้สำเร็จเป็นเศรษฐี ด้วยผลทานดอกบัว ๙ ดอก และข้าวสาลี ๑ ทัพพี ตามวรรณคดีของพระศาสนามาจนถึงปัจจุบันนี้   เทวลัยนี้สร้างขึ้นระหว่าง มกราคม 2525 เสร็จเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2525

ทางเดินชมภายในศาลาแ้ก้วกู่

     ทางเดินชมภายในศาลาแ้ก้วกู่ อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าศาลาแก้วกู่อาจจะพูดได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นหรือเทวลัย ทางศาสนาซึ่งผสมผสานกันทุกศาสนา แต่สิ่งโดดเด่นเป็นอย่างมากของศาลาแก้วกู่คือขนาดของเทวลัย บนพื้นที่กว้างใหญ่มีเทวลัยขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับคนที่เดินเข้าไปชมอยู่จำนวนมาก

เทวลัยที่ศาลาแก้วกู่

เทวลัยที่ศาลาแก้วกู่

พระเจ้าย่าแอใค่

     พระเจ้าย่าแอใค่ เทวลัยปางนี้คือ พระเจ้าย่าแอใค่ (พระอุมาหรือพระสันติ) เป็นพระบรมราชินีของนาคพิภพตามวรรณคดีของอิสาน

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์

     พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ เทวลัยปางนี้คือ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ มีพระยาภุชงค์เป็นอาสน์บัลลังค์ มีคู่บารมีคือพระแม่เจ้าลักษมีและองค์พระยาครุฑสุบรรณราชเป็นพาหนะ สถิตที่วิมานไวกูณฐ ตามวรรณคดีของรามเกียรติ์ สร้างขึ้นเมื่อ 28 มกราคม 2521

กามเทพ

     กามเทพ เทวลัยปางนี้คือ พระกามเทพเป็นเทพที่มีหน้าที่ให้ความสมหวังแก่มนุษย์ และเทวดา ในด้านความรัก เป็นโอรสของพระจัทราและเจ้าแม่ทรงกรด มีวิมานอยู่ที่เขาศะศิธร ตามวรรณคดีของโลกธาตุ สร้างขึ้นเมื่อ 19 มกราคม 2521

พระสังกัจจายนะ

     พระสังกัจจายนะ เทวลัยปางนี้คือ พระกัจจายนะ บุตรพราหมณ์ปุโรหิตผู้กัจจายนะโคตร เดิมชื่อ กัญจนาปิยะบุตร มีผิวพรรณผ่องใส เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา ในการต่อมาพระเจ้าจันฑปัชโชตผู้ครองกรุงอุชเชนี ทรงทราบว่าพระบรมศาสดาอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนจึงรับสั่งให้พระกัจจายนะปุโรหิตไปอาราธนาทูลเสด็จมาสู่แคว้นพระองค์ ครั้งนั้นพระกัจจายนะทูลลา เดินทางพร้อมด้วยบริวาร ๗ คนได้ฟังพระธรรมก็สำเร็จอรหัตตผล แล้วทูลขออุปสมบทพระพุทธองค์อนุญาตให้เป็นภิกขุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระเถระเป็นโอคทัคคะจตุปฏิสัมภิทาญาณ พระบรมศาสดารับสั่งให้กลับกรุงอุชเชนี ประกาศพระศาสนาแทนพระองค์ พระเถระได้ยังให้พระเจ้าจันฑปัชโชต และชาวเมืองเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระเถระเป็นสมณเพศผู้มีกิสมาจารวัตรสำรวมอินทรีย์ และมีรูปโฉมอันงามดุจดุงพระบรมศาสดา เป็นที่เคารพรักเลื่อมใสของชาวเมือง ต่อมามีไสไรยะเศรษฐี ได้พบเห็นพระเถระ เกิดอกุศลจิตคิดเป็นบาปว่า ถ้าภรรยาของเรามีรูปงามดังพระภิกษุองค์นี้ เราจะมีความสุขมาก ด้วยอกุศลจิตดังกล่าวทำให้เศรษฐีกลายเพศเป็นหญิงในบัดดลนั้นเอง เศรษฐีละอายยังได้ทิ้งภรรยาและบุตร 2 คนหนีไปอยู่ในชนบทอื่น และมีสามีใหม่ได้บุตรอีก 2 คน ต่อมาสำนึกบาปได้จึงกลับมาขอขมาโทษพระเถระ ร่างก็กลับกลายเป็นชายอย่างเดิม พระเถระมีความสังเวช จึงได้เนรมิตรร่างให้เป็นรูปอัปลักษณ์อย่างทุกวันนี้
เทวลัยนี้สร้าง

MulticollaC
85 วัน เสร็จในปี 2535

ทรงเผชิญนางจิญจมานวิกา

     ทรงเผชิญนางจิญจมานวิกา เทวลัยปางนี้คือ พระศาสดาทรงผจญกับนางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำมายาดังหนึ่งมีครรภ์แล้วกล่าวตู่ใส่ร้ายพระผู้มีพระภาคร่วมรักสมัครกับนางเพื่อหวังทำลายพระเกียรติให้ร้าวฉานกลางพุทธบริษัททั้งปวง แต่พระผู้มีพระภาคมิได้หวาดหวั่นประการใด ขณะนั้นจตุโลกมหาราชจึงได้เนรมิตรเป็นหนูน้อยลงมาทำลายมายากลลวงของนางจิญจมาณลงอย่างสิ้นเชิง จนประจักษ์แก่มหาชน ส่วนนางจิญจมาณวิกาก็ถูกธรณีสูบเสวยทุกขเวทนาในมหาอเวจีนรก ตามวรรณคดีของพระศาสนา   สร้างเมื่อ 10 มกราคม 2524

เทวลัยอื่นๆ อีกจำนวนมาก

     เทวลัยอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่รวบรวมมายังไม่ได้ถึงครึ่งหนึ่งของทั้งหมด คงต้องรอโอกาสหน้าจะไปเก็บรายละเอียดมาใหม่อีก แต่เพียงที่แสดงไว้นี้ก็เห็นแล้วว่าเป็นสถานที่ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากจริงๆ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการก่อสร้างและหลายๆ อย่างที่สร้างไว้เกิน 30 ปีแล้ว

ศาลาแก้วกู่ (วัดแขก)

ศาลาแก้วกู่

     ศาลาแก้วกู่ ภายในศาลาแก้วกู่แห่งนี้มีเรื่องราวตำนานความเชื่อ และเครื่องใช้หลายๆ อย่าง แสดงไว้ อยู่ใกล้ๆ กับประตูทางเข้าที่เข้ามาตอนแรก หากเดินเป็นวงกลมตามลำดับภาพที่แสดงมาแต่ต้น มาถึงตรงนี้ก็ได้ครบรอบแล้วครับ แต่รูปที่เอามาแสดงไว้นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากจำนวนทั้งหมดที่มามากเหลือเกิน ยังไงต้องไปดูให้เห็นกับตาตัวเอง

พระพิฆเนศวร

     พระพิฆเนศวร ด้านหน้าของศาลาแก้วกู่มีเทวลัยอีกหลายองค์ซึ่งโดยมากจะอยู่บนฐานสูงอย่างที่เห็นนี้ ประกอบไปด้วยองค์พระศิวะเทพและพระอุมาเทวี คือพระปิตุเทพพระมาตุเทพของสามโลก พร้อมด้วยพระมหาโอรสรัชทายาทคือพระพิฆเนศวร และพระขันธะกุมาร พระกฤษณาวตาร

พระบรมโพธิสัตว์วิมลเกียรติคฤหบดี

     พระบรมโพธิสัตว์วิมลเกียรติคฤหบดี เทวลัยปางนี้คือ พระบรมโพธิสัตว์วิมลเกียรติคฤหบดีผู้แตกฉานในอรรถธรรมญาณในกาลครั้งหนึ่งที่เกิดอาพาธจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าให้ไปเยี่ยมไข้พระตถาคตได้พุทธฎีกาให้พระอสิติสาวกไปเยี่ยมก่อนแต่พระสิติสาวกทั้งหลายทูลว่าตนเองไม่ควรไปเยี่ยมนอกจากพระตถาคตเท่านั้นครั้นแล้วพระองค์จึงเสด็จไปเยี่ยมไข้คฤหบดีทรงประทานพุทโธวาททำให้คฤหบดีนั้นหายจากอาพาธทั้งปวงตามวรรณคดีของพระศาสนา
บูรณะเมื่อปี 2548

ทางออก

     ทางออก เดินเลยศาลาแก้วกู่มาได้หน่อยก็จะเป็นทางออก แต่ก่อนจะออกไปก็ขอเดินวนกลับไปเก็บภาพบางภาพเพิ่มเติมกันอีกหน่อยจะได้เห็นภาพกันมากๆ

พระบรมโพธิสัตว์วิมลเกียรติคฤหบดี

พระบรมโพธิสัตว์วิมลเกียรติคฤหบดี

ฟ้าใสๆ อีกมุม

ฟ้าใสๆ อีกมุม

ส่วนนี้ที่เดินมา 1 รอบ

     ส่วนนี้ที่เดินมา 1 รอบ สวนที่เห็นในรูปที่ได้เดินเข้าไปเก็บภาพมาเรื่อยๆ ที่เห็นนี้ยังไม่ได้ ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเลยครับ

พระพุทธรูปกลางสวน

พระพุทธรูปกลางสวน ส่วนหางขดเป็นฐานสูงมาก

กัจฉปาวตาร

     กัจฉปาวตาร เทวลัยปางนี้คือ กัจฉปาวตาร ซึ่งเป็นเต่าไปปราบอธรรมอสูรมัจฉา ที่คิดจะทำลายแผ่นดิน ที่ตั้งเขาพระสุเมรุให้พังทลายด้วยเทวโองการ บัญชาให้พระนารายณ์ ปราบอธรรมอสูรมัจฉา อสูรตนนั้นอยู่ใต้สะดือทะเล ปิตะสาคร (ทะเลเดือด) และได้จับอสูรมัจฉามาสังหาร วรรณคดีนี้อุบัติขึ้นในพุทธนครพระอาหังสิพุทธเจ้า นับอดีตย้อนหลังจากพระโคดมพุทธเจ้าไป ๙๙๙,๐๘๙ พระองค์

ในน้ำเน่ายังมีเงาจันทร์

     ในน้ำเน่ายังมีเงาจันทร์ คำคมเตือนใจ ที่เห็นได้บ่อยในละครประโยคคล้ายๆ กันนี้มีความหมายนะครับ

วราหะวตาร

     วราหะวตาร เทวลัยปางนี้คือ วราหะวตารเป็นหมูลงมาปราบเหรัญตะยักษ์ ซึ่งได้รับพรจากองค์ศิวะเจ้า ต่อมาเหรัญตะยักษ์ ได้มีจิตกำเริบอหังการ์ รังควาญสามโลกให้เดือดร้อน และได้ม้วนแผ่นดินไปทิ้งที่นิลสาคร (ทะเลดำ) บาดาล ด้วยเทวโองการให้พระนารายณ์ลงปราบอธรรม เหรัญตะยักษ์ ถูกสังหารด้วยเขี้ยวแก้วหมูตันแล้วเสียบเอาโลกขึ้นมาอยู่กลางเวหาให้มนุษย์และเทวดาได้อยู่อาศัยอยู่ทุกวันนี้ วรรณคดีนี้เกิดขึ้นในสมัยพระติงสักกะพุทธเจ้า นับย้อนหลังจากพระโคดมพุทธเจ้าไป ๙๙๙,๐๗๔ พระองค์ ตามวรรณคดีของพระศาสนา
*หมายเหตุ อาจจะเนื่องด้วยเหตุนี้เองชาวอิสานหลายคนจึงนิยมพกตะกรุดเขี้ยวหมูตันเป็นเครื่องลาง

หมาเห่าช้าง

     หมาเห่าช้าง หมาเห่าช้าง คติเตือนใจ หมาเห่าช้างช่างปากหมามันเถอะ แล้วแต่ดวงชะตา ดูขนาดหมากับช้าง หมากัดขาหลังช้างก็ยังไม่หมด  ความหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวันหากได้ยินใครนินทาว่าร้ายก็อย่าใส่ใจให้มันมาก แค่คำนินทานั้นทำอะไรเราไม่ได้มากหรอก ทำได้แค่รำคาญเท่านั้น

องค์พระศิวะเทพและพระอุมาเทวี

     องค์พระศิวะเทพและพระอุมาเทวี เทวลัยปางนี้คือ องค์พระศิวะเทพและพระอุมาเทวี คือพระปิตุเทพพระมาตุเทพของสามโลก พร้อมด้วยพระมหาโอรสรัชทายาทคือพระพิฆเนศวร และพระขันธะกุมาร ประทับอยู่วิมานบนเขาไกรราชเป็นที่เคารพสักการะบูชาของบรรดาชาวเทพทั้งสูงและต่ำ ตลอดจนมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ทรงมีเมตตาจิต แก่สัตว์โลก พระองค์เป็นที่พึ่งแก่เหล่าสมณชีพราหมณ์ ผู้บำเพ็ญตะบะอันแก่กล้า ได้ช่วยพุทธเจ้าทุกพระองค์ ถ้าร้อนอาสน์ถึงองค์มหาเทพศิวะเสด็จลงมาประทานพร พร้อมเดียวกันนั้นพระองค์ยังทรงไว้ที่ข้อแม้เพื่อกำจัดปราบปรามเหล่าอธรรมด้วยอุบายอันลึกลับ พระองค์ดำรงไว้ซึ่งความสุขของสัตว์โลกด้วยครรลองกฎเกณฑ์ของเทวลึงค์ ตามวรรณคดีของโลกธาตุ

ขอบคุณข้อมูลจาก

touronthai.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ